การพัฒนาเมืองน่าอยู่แห่งความสุข @สิงหนคร
พวกเราไม่เคยสื่อสารว่า เราทำอะไรในพื้นที่อย่างเป็นทางการ ขอค่อยๆ เล่าให้ฟังว่า อะไรเกิดขึ้นที่ 3 ปีที่ผ่านมา กับการพัฒนาเมืองน่าอยู่แห่งความสุข “ร่วมคิดร่วมทำ เริ่มที่เข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง และ ไม่ทำอะไรง่ายเกินไป”
INTO THE WILD ถ่ายทอดความคิดของคนเมืองที่เลือกไปอยู่ป่า
ลุงอ๋อย ประธานสมาคมเครือข่ายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ยังคงมุ่งมั่นให้ความรู้ด้านการศึกษาสิ่งแวดล้อมกับเด็กเมือง เพื่อเชื่อม ชนชั้นกลางที่เป็นปัจจัยสำคัญ “เราบอกว่า อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยเพียงแค่ 2 องศาเซลเซียส เนี่ยไม่กระทบหรอก แต่เวลาคนป่วยอุณหภูมิขึ้น 2 องศาเซลเซียส เราช็อกนะครับ เหมือนกับโลกเลย โลกป่วยกับเราป่วยเนี่ยเท่ากันเลย เรา 37 อุณหภูมิที่มัน Stable อยู่ 38 ต้องนอนกันแล้วล่ะ 39 มีช็อกใช่ไหม นี่ไง 2 องศาเซลเซียส ที่เปลี่ยนแปลงเหมือนกันเลย” ที่มา : https://thestandard.co/into-the-wild/ HIGHLIGHTS: พ.ศ. 2534 ชาญชัย พินทุเสน อดีตผู้กำกับหนังโฆษณา ผู้กำลังรุ่งโรจน์ ตัดสินใจหันหลังเข้าป่า เพราะเต็มกลืนกับชีวิตที่ตอนเช้าไม่อยากตื่น และอาการเจ็บป่วยที่หมอวินิจฉัยไม่ได้ หลังจากใช้ชีวิตอยู่ในป่า 4 ปี ก็เลือกปฏิเสธชีวิตแบบคนเมือง และการบริโภคแบบวัตถุนิยมไปตลอดกาล ความฝันอยากสร้างบ้านใต้ต้นไม้ใหญ่ เหมือนในวรรณกรรมคลาสสิก บ้านเล็กในป่าใหญ่ คือตัวอย่างของความเขลาแบบคนเมืองที่ไร้ประสบการณ์ในธรรมชาติ ชาญชัยเรียนรู้จากชาวบ้านในพื้นที่ว่า จุดที่ตนหมายตาในตอนแรกเป็นอันตรายถึงตาย จึงมาจบลงที่การสร้างกระต๊อบใกล้ๆ ดงวัชพืชแทน […]
สวนผักกลางเมืองของทุกคน Episode #1
คลิ๊กที่นี่ เพื่อรับชมวีดีโอ https://www.facebook.com/NGOBizPartners/videos/2116361858616156/ สวนผักกลางเมืองในอเมริกา ที่ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมใน Philladelphia, Detroit, East Lansing, Yipsilati ทุกพื้นจะเป็นสวนผักขนาดเล็ก มีการแบ่งแปลงผักออกเป็นประมาณ 2 ตารางเมตร หรือเล็กกว่า แต่และแปลงจะปลูกผักที่ทุกคนอยากกิน โดยจะมีอาสาสมัครมาลงชื่อจองและมาร่วมกันปลูก เป็นเจ้าของ ในบางที่จะเชิญชวนให้กลุ่มไร้บ้าน และคนตกงานมาปลูกร่วมกัน แต่ละที่จะที กลุ่ม NGO หรือ องค์กรรัฐท้องถิ่น หรือ กลุ่มอาสาสมัครที่เข้มแข็ง ประสานงานขอใช้ที่ ระดมทุน หรืมี ภาคธุรกิจ หรือเจ้าของที่ ลงขันค่าวัสดุ หรือมีการจัดกิจกรรมการระดมทุนสนุกๆ ให้คนมาร่วมบริจาคเมล็ดพันธ์ุ อุปกรณ์ต่างๆ แต่ละพื้นที่ต่างมีเป้าหมายร่วมกที่คล้ายๆกัน คือ 1.สร้างความสามััคคีในชุมชนด้วยงานอาสาสมัคร 2.สร้่างการเข้าถึงอาหารให้ผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารสด แบะราคาถูก 3. ฝึกให้คนเมืิองได้ใกล้ชิดการเข้าถึงมือที่เปื้อนดิน และรู้จักอยู่การเปลี่ยนแปลงที่แน่นอนของธรรมชาติ 4. ใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นประโยชน์ในเมือง และเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง การเรียนรู้ครั้งนี้ ทำให้เกิดความมั่นใจว่า สวนผักกลางเมืองใน กรุงเทพมหานคร มีความจำเป็นและ เป็นโครงการที่จะต่อเชื่อมมือไม้กับโครงการทำสวนต่างๆ ถ้าแต่ละองค์กรลดอัตตาลงและเห็นเป้าหมายการทำงานร่วมกันไปสู่เป้าหมายใหญ่ เพิ่มพื้นที่สีเขียว […]
รู้จัก “นักวิใจ” ทั้งฤดูกาล……เรียน และ รู้ ไม่มีวันสิ้นสุด
เพราะเรื่องวิชาการอาจดูน่าเบื่อสำหรับบางคน จึงเป็นเหตุผลก่อเกิดสารคดีรายการ “นักวิใจ” ที่ให้ทุกคนได้สนุกไปกับวิธีคิดของนักวิจัย ซึ่งใช้หัวใจมองชุมชนต่างมุม โดยใช้ “ช่องทรูปลูกปัญญา” โทรทัศน์ความรู้คู่คุณธรรมที่รวบรวมทั้งเรื่องเรียน เรื่องเล่นไว้ในที่เดียวกัน มีจุดหมายในการเปิดพื้นที่สื่อเพื่อสังคม ด้วยเห็นว่าการสร้างสังคมที่ดีไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคน “นักวิใจ” เริ่มต้นด้วย ฤดูกาลที่ ๑ การเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยแนวคิดที่ว่า “การเรียนรู้เพื่อนำไปใช้เรียนด้วยตัวเอง ได้เรียนรู้ในชีวิตจริง คือ นำไปใช้ประโยชน์” เป็นการเรียนรู้ด้วยวิธีอันหลากหลายและเรียนรู้สำหรับทั้งชีวิตด้วย ๓ หลักการสำคัญ คือ ๑. ผู้ให้ความรู้ ไม่ใช่ครูเพียงผู้เดียว แต่เป็นสถานที่ กิจกรรม บุคคลอื่น และตัวผู้เรียน ๒. เรียนรู้ผ่าน การลงมือทำ ที่มีความหมาย จากการแก้ปัญหา ๓. เรียนรู้จากการสรุปการเรียนรู้หลังลงมือทำ ด้วยการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน ในฤดูกาลที่ ๑ นี้มีทั้งหมด ๑๓ ตอน โดยแบ่งเป็น ๕ ช่วง ดังนี้ ต้นฤดูกาล การเรียนรู้ของอาจารย์กับ กล้าที่จะสอน ด้วยตรรกะที่ว่า การเรียนรู้คงเริ่มต้นไม่ได้ถ้าไม่มีผู้ให้ความรู้ […]
สารคดี “นักวิใจ” ในปลายฤดูกาล
หลายท่านคงได้ชมสารคดีรายการ “นักวิใจ” ที่ออกอากาศทาง True Visions ช่อง “ทรู ปลูกปัญญา” ในวันเสาร์ เวลา ๑๕.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. กันไปบ้างแล้ว และคงสัมผัสได้ถึงจุดมุ่งหมายของผู้สร้างสรรค์ที่ต้องการให้เป็นแนวคิดการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้เรียนด้วยตัวเอง ในการที่จะเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต มาบัดนี้ “นักวิใจ” ได้ผันผ่าน กลางฤดูกาล ในวันเสาร์ที่ ๕ กันยายน เสนอเป็น ตอนที่ ๑๐ “เมืองน่าอยู่” ศึกษาชุมชนและค่ายเยาวชน “เมืองน่าอยู่” ว่าด้วย การศึกษาชุมชนโดยเยาวชน, การจัดค่ายเยาวชน “เมืองน่าอยู่อย่างเป็นสุข” ด้วยเข็มทิศการพัฒนาทั้งสี่ด้าน (สังคม เศรษฐกิจ สุขภาวะ สิ่งแวดล้อม), ค่าย“ผู้ตามปัจจุบัน ผู้นำอนาคต”, ค่าย “แผนที่คนดี” และ การสะท้อนการเรียนรู้ของเยาวชน ตอนที่ ๑๐ ตอนที่ ๑๑ ตอนที่ ๑๒ ตอนที่ ๑๓ วันเสาร์ที่ ๑๒ […]
จุดประกาย พลังเยาวชน ขับเคลื่อนอนาคต
สีสันกิจกรรมครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 16 – 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา ในชื่อว่า กิจกรรมค่าย “เยาวชนพลเมืองจิตอาสาแห่งศตวรรษที่ 21 เท่าทันการบริโภค” ที่เป็นความร่วมมือของภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน ทั้งสำนักงานเขตราชเทวี กลุ่มคนรักษ์อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กลุ่มเครือข่ายภาคประชาสังคมเขตราชเทวี 25 ชุมชนในเขตราชเทวี ภาคธุรกิจในเขตราชเทวี และสมาคมเครือข่ายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (เดอะเนทเวิร์ค) โดยนัดรวมตัวกันที่ห้องประชุม ชั้น 9 สำนักงานเขตราชเทวี นับว่าได้ผลที่น่าปลื้มไม่น้อยทีเดียว ที่ว่า “น่าปลื้ม” ไม่ใช่แค่ความสนุกสนานของตัวแทนเยาวชนจาก 25 ชุมชนในเขตราชเทวีที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ แต่หากดูที่ “วัตถุประสงค์” ซึ่งตั้งใจให้เป็น “การขับเคลื่อนการสร้างและปลูกฝังกลุ่มเยาวชนในชุมชนราชเทวี ให้มีจิตอาสาและเป็นกลุ่มพลเมืองคนสำคัญที่สามารถเป็นแกนนำในการทำงานอาสาในชุมชนของตนเองได้ต่อไปในอนาคต” ถือเป็นการจุดเทียนดวงเล็กๆ ที่จะกลายเป็นแสงสว่างสดใสในวันข้างหน้า การบรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ย่อมต้องไม่มองข้าม “บรรยากาศ” ของความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วย โดยเฉพาะภาพที่อาจไม่ได้เห็นง่ายๆ คือผู้อาวุโสอย่าง คุณลักษณา โรจน์ธำรงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตราชเทวี และ คุณจุฑามาศ แสงวิเชียร หัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตราชเทวี กล่าวเปิดงานด้วยการนั่งบนพื้นร่วมกับเด็กๆ หลังจากนั้น คุณปารีณา ประยุกต์วงศ์ ซึ่งรับหน้าที่หัวหน้าวิทยากรจึงนำเข้าสู่กระบวนการของกิจกรรมค่าย […]
ปฐมเหตุการเกิดชุมชนแออัดในเขตเมือง
โดย “ณัฏฐ์วสินทร์” หากนิยามคำว่าบ้าน คือ สถานที่พักพิงของทุกคนในครอบครัว มีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมร่วมกัน และเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดวัฒนธรรมชุมชน แล้วกระท่อมไม้หลังเล็ก ผนังผุพัง หลังคาสังกะสีเก่ามีคราบสนิมเกาะ สร้างซ้อนทับแทบแยกไม่ออกว่าในรัศมีเพียงไม่กี่ตารางเมตร นั้นจะมีผู้คนซึ่งแบ่งตามลักษณะกายภาพเป็นครัวเรือนอาศัยอยู่ร่วมกันกี่ครอบครัว และในหนึ่งครอบครัวมีประชากรอาศัยอยู่อย่างแออัดกันกี่ชีวิต สิ่งเกิดขึ้นนี้จะเรียกว่า “บ้าน” ได้หรือไม่ หรือเป็นเพียงสิ่งปลูกสร้างที่มีไว้สำหรับซุกหัวนอนเท่านั้น ทั้งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้กัน ห่างเพียงผนังตึกกั้น แต่ความเป็นคนของผู้อยู่อาศัยได้ถูกสังคมแบ่งแยกจากกันอย่างไม่รู้ตัว พิจารณาได้จากการที่กระทรวงมหาดไทยได้ถอดความหมาย “กลุ่มคนจนเมืองที่อาศัยในพื้นที่แออัด” จากคำว่า “Slum” ตามคำจำกัดความของสหประชาชาติ ในปี พ.ศ.2503 ว่า “แหล่งเสื่อมโทรม” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการกีดกันความสัมพันธ์ของผู้คนสองกลุ่ม ระหว่างคนรวยกับคนจนเมือง ถึงแม้ต่อมาในปี พ.ศ.2523 การเคหะแห่งชาติจะเปลี่ยนมาใช้คำว่า “ชุมชนแออัด” แทนความหมายเดิมก็ตาม แต่กระทรวงมหาดไทยก็ยังพยายามขยายความเพื่อความชัดเจนอีกว่า เป็นสภาพเคหสถานหรือบริเวณที่พักอาศัยในเมืองที่ประกอบด้วยอาคารเก่าทรุดโทรมหรือสกปรกรกรุงรัง ประชากรอยู่อย่างแออัด ผิดสุขลักษณะต่ำกว่ามาตรฐานที่สมควร ทำให้การดำเนินชีวิตความเป็นอยู่แบบครบครันปกติวิสัยมนุษย์ ไม่อาจดำเนินไปได้เพราะไม่มีความปลอดภัยในสุขอนามัย ซึ่งการขยายความดังกล่าวไม่ได้แสดงออกถึงการมองภาพลักษณ์ของผู้คนในชุมชนแออัดดีขึ้นกว่าแต่ก่อนเลยแม้แต่น้อย หากลองย้อนกลับไปศึกษาความเป็นมาของชุมชนแออัด จะเห็นได้ว่าเป็นปัญหาเรื้อรังที่เกิดขึ้นก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ ได้สร้างที่พักชั่วคราวให้กับพนักงาน ถึงแม้ต่อมาไม่มีการผลิตปูนซีเมนต์ในพื้นที่นั้นอีกแล้ว แต่พนักงานบางส่วนก็ยังลงหลักปักฐานสร้างบ้านเรือน ขยายครอบครัว และผู้คนอพยพเข้ามาอยู่อาศัย จนเกิดเป็นชุมชนเปรมประชาในปัจจุบัน ต่อมาเมื่อประมาณ 50 […]
ก้าวแรก เพื่อก้าวสู่ เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน
ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ความเร่งด่วน รวดเร็ว ภายใต้ทุกสิ่งที่ถูกกระทำด้วยความเร่งรีบ เพื่อนำมาซึ่งเป้าหมายปลายทางที่ทุกคนต่างเรียกมันว่าความสะดวกสบาย ดูท่าว่าจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของมนุษย์ในทุกสังคมได้เป็นอย่างดี เพราะธรรมชาติของผู้คนโดยส่วนใหญ่แล้ว ต่างมุ่งแสวงหาความ ‘civilize’ ทั้งในด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่และสหวิทยาการล้ำยุค เพื่อตอบสนองความอยู่ดีมีสุขของตัวเอง เพราะคนทั่วไปยังไม่สามารถแยกแยะระหว่าง ‘ความอยู่ดีมีสุข’ กับ ‘ความสะดวกสบาย’ ออกจากกันได้อย่างชัดเจน ยังมองทั้งสองเรื่องซึ่งแตกต่างกันอย่างสุดโต่งว่าคือเรื่องเดียวกัน มองว่าการไปไหนมาไหนด้วยการใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาดีขึ้น มองว่าการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่สื่อสารกับผู้คนทั่วโลกแบบไร้พรมแดน คือความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่สังคมสมัยใหม่พึงมี โดยปล่อยให้เทคโนโลยีที่ชาญฉลาดค่อยๆ คืบคลานเข้ามาพร้อมกับกาลเวลาเพื่อรอวันกลืนกินความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม ครอบครัว ญาติพี่น้อง และเพื่อนฝูงไปทีละน้อยตามเวลาการหมุนรอบตัวเองของโลก เมืองน่าอยู่ก็เช่นกัน ถึงแม้จะมีนักวิชาการหรือผลงานวิจัยต่างออกมาให้ความหมายของคำว่า “น่าอยู่” ของเมืองหรือชุมชนในมิติที่หลากหลายและแตกต่างกัน ตามความรู้ ความเชื่อ หรือหลักสมมติฐานที่ผ่านการทดลองอย่างเชี่ยวชาญของแต่ละสำนัก ซึ่งคำตอบไม่ได้มีแค่สองทางเลือกว่า ถูก หรือ ผิด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า ความน่าอยู่ในนิยามหรือภาพฝันจะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้คนในแต่ละ สังคมได้มากน้อยเพียงใด เพราะแน่นอนว่าทุกสังคมมีอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ความเชื่อ และรสนิยมในการใช้ชีวิตตามวิถีที่สืบทอดต่อกันมาด้วยภูมิหลังที่แตกต่าง เพราะฉะนั้นการจะสร้างเมืองสักเมืองเพื่อนำไปสู่การเกิดความน่าอยู่ ย่อมต้องคำนึงถึงความพร้อมของทรัพยากรในพื้นที่ และการสนองตอบความต้องการของผู้คนเป็นที่ตั้ง ไม่ใช่การยัดเยียดเมืองสำเร็จรูปสู่ชุมชนท้องถิ่น ที่บางครั้งไม่เพียงแต่ไม่เป็นประโยชน์ หากแต่ยังสร้างปัญหาให้กับชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ ในภายหลังอีกด้วย เมื่อปัจจัยการใช้ชีวิตและความต้องการของผู้คนถูกยกให้เป็นตัวกำหนดความ น่าอยู่ของเมือง การสร้างเมืองน่าอยู่จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาค ส่วนในสังคมนั้นๆ […]