อยู่ที่ใคร
โดย ผศ.ดร.กฤตินี ณัฎฐวุฒิสิทธิ์ “ตาบอดห้าคนไปจับคลำช้าง จับโดนหางช้างเป็นเหมือนงู จับถูกงวงช้างกลวงเป็นรู จับถูกหูช้างเป็นแผ่นห่อ อีกคนหนึ่งไปจับที่ขาก็กลับบอกว่าช้างต้นเป็นตอ จับถูกงาช้างแท่งงองอนี้แหละหนอ….มันอยู่ที่ใคร” เพลง “อยู่ที่ใคร” ของวงเฉลียงเมื่อหลายปีก่อน ให้ข้อคิดได้อย่างชัดเจนถึงมุมมอง (หรือมุมสัมผัส) ที่แต่ละคนมีแตกต่างกันไปตามตำแหน่งแห่งที่หรือจุดยืนของตัวเอง……อ่านเพิ่มเติม
เมื่อแบรนด์อเมริกันยิ้ม ไม่ออก
โดย ผศ.ดร.กฤตินี ณัฎฐวุฒิสิทธิ์ นับตั้งแต่ประธานาธิบดี จอร์จ บุช ประกาศทำสงครามในอิรัก เป็นต้นมา ก็ก่อให้เกิดกระแสต่อต้านประเทศสหรัฐอเมริกาจากประชาคมโลก กระแสนี้ส่งผลกระทบสืบเนื่องไปถึงสินค้าหลายแบรนด์ โดยเฉพาะเมื่อมีการเรียกร้องให้ผู้บริโภคบอยคอตสินค้าที่เป็นแบรนด์อเมริกัน ผลการสำรวจ โดย GMI Poll ที่ ไปสอบถามผู้บริโภค 8,000 รายจาก 8 ประเทศ ได้แก่ แคนาดา, จีน, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, ญี่ปุ่น, รัสเซีย, อังกฤษ และอเมริกา เมื่อเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2544 พบว่าคนจำนวนมากรู้สึกแย่กับประเทศอเมริกา เช่น 61 % ของชาวฝรั่งเศส และ 58 % ของชาวเยอรมันบอกว่ารู้สึกในเชิงลบกับบริษัทสัญชาตินี้…..อ่านเพิ่มเติม
ไม่เห็นขำ
โดย ผศ.ดร.กฤตินี ณัฐวุฒิสิทธิ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนา บริหารศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความตลกขบขัน หรือ Humor เป็นเครื่องมือการสื่อสารการตลาดที่สามารถเข้าถึงคนหมู่มากโดยมีเนื้อหาสาระ เน้นความฮา ดังที่เราเคยเห็นและเผยแพร่อยู่ในโฆษณา..แต่ในสายตาผู้บริโภคที่ต่างสังคม ต่างวัฒนธรรมอาจจะไม่ฮาอย่างที่คิด Humor หรือ ความตลกขบขำ เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่มักปรากฏในเครื่องมือสื่อสารการตลาด ด้วยความที่คนคิดว่าเรื่องตลกน่าจะเข้าถึงคนหมู่มากได้ดีกว่าการนำเสนอสาระ หรือความซีเรียสในเนื้อหา แต่รู้หรือไม่ว่า เรื่องขำเป็นเรื่อง Sensitive มากในสายตาผู้บริโภค สังคมต่างวัฒนธรรมอาจขำกันคนละเรื่อง คนแก่กับเด็กดูหนังแล้วหัวเราะกันคนละตอน หรือแม้แต่ชายกับหญิงก็ยังมีต่อมฮาที่แตกต่าง ไม่นานนี้ดิฉันได้ดูหนังโฆษณาชิ้นหนึ่ง เป็นเรื่องของคุณผู้หญิงจ้ำม่ำขี่ช้าง แล้วตอนขาลงก้นติดเอาที่นั่งตามลงมาด้วย ข้างๆมีชายหนุ่มหญิงสาวหุ่นดี 2 คนยืนเคี้ยวขนมหัวเราะขำขันในอาการเปิ่นของแม่สาวจ้ำม่ำ ดิฉันดูโฆษณานี้แล้วไม่เห็นจะขำตรงไหน เอาความด้อยความลำบากของคนอื่นมาเล่นตลกในโฆษณา ส่งเสริมค่านิยมผิดๆ ให้เด็กๆ ไม่รู้จักเห็นใจและยอมรับในความแตกต่างโดยเฉพาะในเรื่องสรีระ ดูโฆษณาชิ้นนี้แล้วคิดเอาเองว่าคนสร้างคงเป็นผู้ชาย เพราะจากการศึกษาพบว่า ผู้ชายจำนวนมากเห็นตลกเวลาที่ได้ข่มหรือได้เกทับกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้หญิงไม่เห็นขำ ผู้หญิงมักไม่ชอบความก้าวร้าว มุกประเภทใครทำเปิ่นหรือเห็นคนล้มแล้วเหยียบซ้ำขำกลิ้ง แบบนี้ผู้หญิงไม่อิน แต่ถ้าเป็นเรื่องประเภทที่ผู้หญิงรู้สึกเชื่อมโยงได้ เช่น ถ้าเป็นมุกที่ดูแล้วบอกกับตัวเองได้ว่า “เออ…ชั้นก็เคยเจอประสบการณ์นี้เหมือนกัน” หรือ “ต๊าย…ตาย คนอื่นก็เป็นเหมือนเรา” แบบนี้ผู้หญิงจะรู้สึกขำ ขำ น่ารักดี อย่างอาหารหรือผลิตภัณฑ์ลดความอ้วน […]
เผชิญด้านมืดด้วยเครื่องมือสื่อสารการตลาด
โดย ผศ.ดร.กฤตินี ณัฎฐวุฒิสิทธิ์ เมื่อนึกถึงการทำ Integrated Cause Communication คนจำนวนมากมักนึกถึงการสื่อสารโครงการ ความดีงามต่างๆที่องค์กรเข้าไปให้ความร่วมมือ หรือเป็นผู้ริเริ่มไม่ว่าจะเป็นโครงการด้านสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน หรือปัญหาสังคมอื่นๆ แต่เมื่อเหรียญมี 2 ด้าน โลกหมุนผ่านกลางวันและกลางคืน มนุษย์ทุกหมู่เหล่าย่อมหนีไม่พ้นด้านมืด ซึ่งบางคนอาจสามารถเอาชนะได้ แต่หลายครั้งด้านมืดก็เกาะกินจนยากที่จะลบล้างออกไป ประเทศไทยของเราก็ไม่พ้นกรณีดำ-ขาวนี้เช่นกัน ขณะที่ชาวโลกยกย่องความงามและน้ำใจของบ้านเรา เขาก็ตระหนักไปพร้อมๆ กันถึงเงามืดจากปัญหาการขายบริการทางเพศ จนถึงขั้นเป็นแหล่งท่องเที่ยวทำเงิน…….อ่านเพิ่มเติม
Dove…Real Beauty,For Real
โดย ผศ.ดร.กฤตินี ณัฎฐวุฒิสิทธิ์ “ดี…ดาด…ดับ” เป็น “ดี…เด่น…ดัง” การ ปิดทองหลังพระหรือการทำดีโดยไม่ ป่าวประกาศ หวังผล ลาภ ยศ สรรเสริญ นับเป็นการกระทำที่น่าชื่นชมยกย่องเป็นอย่างยิ่ง แต่ในการทำธุรกิจที่ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์องค์กรและการดูแลผู้ถือหุ้น เมื่อองค์กรทำความดี (Cause) ก็ ย่อมต้องมีการสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วม และยังเป็นการสนับสนุนภาพลักษณ์องค์กร อำนวยผลต่อการดำเนินธุรกิจ แต่ปัญหาที่พบโดยทั่วไปคือ การที่องค์กรสร้างกิจกรรมความดี แต่ไม่สามารถสื่อสารให้เป็นที่ประทับใจได้ แม้โครงการจะดีแต่ถ้าธรรมดาดาดๆจนเกินไปก็อาจดับได้ไม่ช้าก็เร็ว……. อ่านเพิ่มเติม
มองต่างมุม มุมต่างมอง ความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม
บทสัมภาษณ์ นพ.ธิติวัฒน์ ประชาดำรงพิวัฒน์ “……การที่จะมีใครคิดเห็นต่างกันเป็นธรรมดาของโลก การเพิ่มมุมเพื่อมองให้รอบด้านก็เท่ากับเราได้เห็นจุดเสริมเติมแรง จุดเชื่อมต่อ และจุดผสาน ที่จะช่วยกันทำให้ คนในสังคมนี้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข นี่คือสังคมที่ทุก คนพึงปรารถนาใช่ไหม ???” อ่านเพิ่มเติม
กระบวนการสื่อสารในการสร้างความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร ภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชน
ความร่วมมือระหว่าง ภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชนยังมีความแตกต่างทั้งมุมมอง จุดยืน เป้าหมาย บทความฉบับนี้เป็นเรื่องราวของ 3คู่ความร่วมมือที่มุ่งสู่การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจาก 3 คู่ความร่วมมือได้แก่ คู่ระยะเริ่มต้น คือ บริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป บริษัท ยูนิชาร์ม(ประเทศไทย) จำกัดกับเครือข่ายอาสารักษ์ธรรมชาติ คู่ความร่วมมือระยะกลางคือ บริษัท บาธรูมดีไซน์ จำกัด กับมูลนิธิสืบนาคะเสถียร และคู่ความร่วมมือระยะยาวคือ บริษัท มหพันธ์ไฟเบอร์ซีเมนต์ จำกัด(มหาชน)กับมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ ซึ่งพบว่ารูปแบบความร่วมมือระหว่างภาคส่วนในสังคมไทยในระยะเริ่มต้นยังคง ต้องอาศัย “แม่สื่อ” หรือ คนกลางในการเชื่อมประสาน นอกจากนี้องค์กรที่มีใจและความพร้อมต่างฝ่ายต่างสามารถ “แสวงหา”ได้ด้วยตนเองรวมถึงความ ร่วมมือระยะยาวเกิดขึ้นได้นั้นสิ่งสำคัญคือ ความเป็นคน “คอเดียวกัน” เป็น ส่วนสำคัญที่ทำให้ความเข้าใจบนความแตกต่างง่ายขึ้นรวม ถึงจากความร่วมมือระหว่างบุคคลกลายเป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรในระยะยาว ได้ อ่าน เพิ่มเติม
คุยกับมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลก
โดย วิไล ตระกูลสิน(แปลและเรียบเรียง) จากหลากหลายคำถามที่หลายท่านอยากรู้ การจะเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จต้องมี คุณสมบัติอย่างไร? ต้องเก่ง หรือฉลาด? เมื่อไหร่ที่คุณตัดสินใจว่าจะลงทุนในบริษัทหนึ่งๆ? คุณพิจารณาจากอะไรเวลาที่มีคนเอาบริษัทมาขายคุณ? คุณบัฟเฟต คุณบอกเราว่า เบิร์กไชร์ แฮธาเวย์ มีเงินสด 45,000 ล้านเหรียญ ทำไมคุณไม่เอาไปลงทุน? ฯลฯ พร้อมหาคำตอบได้แล้วที่นี่…..อ่านเพิ่มเติม