Green Office Guidelines(Thai Version)
Green Office Guidelines Actions towards a low-carbon office ปฎิบัติการสู่การลดการปล่อย คาร์บอนไดออกไซค์ โดย เดอะเนทเวิร์ค(ประเทศไทย)และ สถาบันสิ่งแวดล้อมสต๊อกโฮม แรงบันดาลใจ ภายใต้กระแสการทำ CSR ในปัจจุบัน ได้เกิดความพยายามที่จะแยกการดำเนินงาน CSR ออกเป็นภายใน (In-Process) และภายนอก (After Process) รวม ถึงภาคส่วนสังคม (Post Process) หรือ การ ดำเนินงาน CSR ดังที่ Michel E. Porter ได้ อธิบาย CSR ผ่าน Value Chain ประกอบ ด้วย Inside-out Linkage หรือ Outside-In Linkage อัน เป็นรูปแบบที่หลากหลาย ก็สุดแล้วแต่ว่าธุรกิจจะเลือกให้สอดคล้องกับความเหมาะสมของตนเองได้มากเพียง ใด หากการดำเนินการดังกล่าวเกิดบนฐานแห่งความมุ่งมั่นในหลักการของการมุ่งการ […]
A New Era of Sustainability
A New Era of Sustainability UN Global Compact–Accenture CEO Study 2010 หมายเหตุ: รายงาน ยุคใหม่แห่งความยั่งยืน ที่จัดทำโดย บริษัท Accenture Sustainbility Services ฉบับนี้ เป็นอีกก้าวหนึ่งที่บอกกระแสถึงภาคธุรกิจที่จะสร้างความก้าวหน้า ที่ไม่ควรทิ้งโลกใบนี้ให้เดียวดาย หากแต่การพัฒนาตัวเองที่เติบโตอย่างมั่นคงไปพร้อมๆ กับ สังคมและสิ่งแวดล้อม ผู้คน จิตใจอย่างมีองค์รวม และ องค์ร่วมเดียวกัน ทำให้ เดอะเนทเวิร์คมั่นใจมากขึ้นว่า แนวความคิดการสร้้างความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด มีความสำคัญ ไม่เพียงแต่การสร้างการมีส่วนร่วม แต่ความร่วมมือที่สำคัญคือการสร้างการมีส่วนร่วม ที่ทำให้ทุกๆ คน เห็นเป้าเดียวกันที่คุณค่าร่วม ซึ่งจะปรากฎให้หนังสือเล่มใหม่ของเดอะเนทเวิร์คที่ล่วงเลยเวลาการเผยแพร่มา นานเกินไป หากแต่ก็คงไม่ช้าไม่นานเกินกว่าการรอคอย โดยมีผู้สนับสนุนใจดีทีเฝ้ารอคอยการคลอดหนังสือเล่มนี้ของเรา ไม่ว่าจะเป็น ดีแทค มูลนิธีโตโยต้า และ CSRI ก็ตาม ทุกวันนี้เหล่า CEO ไม่เพียงแต่มีภาระทำให้ธุรกิจมีความยั่งยืน ซึ่งความหมายคือ การดำเนินธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเท่าๆ กับการที่ธุรกิจจะมีความสามารถในการทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพที่ส่วนใหญ่จะวัดด้วย การลดต้นทุน […]
Research Paper on Promoting Corporate Social Responsibility in Thailand and the Role of Volunteerism by Pareena Prayukvong and Matt Osen
Executive Summary Research Paper on Promoting Corporate Social Responsibility in Thailand and the Role of Volunteerism By The NETWORK of NGO and Business Partnerships for Sustainable Development (The NETWORK Thailand) Pareena Prayukvong & Matt Olsen (January 2009) Governments and other development actors (including civil society) increasingly realize that the private sector could and should be […]
รายงานวิจัยเรื่องการพัฒนา CSR ในประเทศไทย และบทบาทอาสาสมัคร (ฉบับแปล) โดย ปารีณา ประยุกต์วงศ์ และ แมท โอเซ็น
บทสรุปผู้บริหารรายงานวิจัยเรื่องการพัฒนา CSR ในประเทศไทย และบทบาทอาสาสมัคร (ฉบับแปล) โดย เครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน –เดอะเนทเวิร์ค์ (ประเทศไทย) ปารีณา ประยุกต์วงศ์ และ แมท โอเซ็น มกราคม 2552 ภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน ต่างตระหนักถึงความสำคัญของธุรกิจในการเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมและ สิ่งแวดล้อมมากขึ้น ส่วนธุรกิจเองก็หันมามีความรับผิดชอบต่อผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภค พนักงาน ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อผลกระทบจากการดำเนิน ธุรกิจต่างๆ องค์ประกอบของความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจหรือ Corporate Social Responsibility – CSR โดยทั่วไป ประกอบด้วย สิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน สิ่งแวดล้อม และ ธรรมาภิบาล (รวมถึงการต่อต้านคอรัปชั่น) ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้เป็นที่สนใจร่วมขององค์กรพัฒนาเอกชน รัฐบาล และองค์กรสนับสนุนภาคธุรกิจ สำหรับบริษัทส่วนใหญ่ต่างเล็งเห็นประโยชน์ในการทำ CSR เพราะมองว่าการทำ CSR จะทำให้ธุรกิจได้มีการสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ ประโยชน์เหล่านี้จะทำให้บริษัทสามารถสร้างชื่อเสียงของตัวเองได้ แต่ไม่ได้เป็นคุณค่าที่สำคัญที่จะสามารถทำให้ธุรกิจทำ CSR ในฐานะการเป็นพลเมืองที่สำคัญของประเทศที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคม เมื่อมองดูฐานพุทธศาสนาและสังคมไทยที่มุ่งให้ทำความดี ด้วยการบริจาคทานออก […]
เข้าใจ REDD รับมือโลกร้อน
ที่มา : มูลนิธิสืบนาคะเสถียร (www.seub.or.th) REDDย่อ มาจาก Reducing Emission from Deforestation and Degradation in Developing Countries หรือการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า ในประเทศกำลังพัฒนา UNFCCC (United Nations Framework Convention on Climate Change)รายงานว่าก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปลดปล่อยสู่ บรรยากาศโลกนั้นมาจากการตัดไม้ทำลายป่าถึงร้อยละ 20 เปอร์เซ็นหากสามารถลดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตัดไม้ ทำลายป่าได้ ก็จะช่วยลดปริมาณของก๊าซเรือนกระจกได้ไม่น้อย จึงได้มีการริเริ่มกลไก REDD ขึ้นมา โดยเริ่มต้นจากการประชุมสมัชชารัฐอนุภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ครั้งที่ 11 ณ เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ในปี พ.ศ. 2548 ประเทศปาปัวนิวกินีและประเทศคอสตาริกาได้เสนอแนวคิดให้เพิ่มเรื่องของการ ทำลายป่าเข้าไปในกลไกการพัฒนาที่สะอาด ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศภาคีสมาชิกอื่นๆ รวมทั้งประเทศไทย และแนวคิดดังกล่าวมีความชัดเจนมากขึ้นในการประชุมสมุชชารัฐภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งที่ 13 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. […]
ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจคือการสร้างความหมายของชีวิต
ในสายตาของลูกจ้างหลายคน การทำงานเป็นความเหนื่อยยาก เป็นอีกส่วนหนึ่งที่แยกขาดจากชีวิต ดึงเอาพลังไปหลายส่วน กลับมาด้วยความล้า และนอนดูทีวี ในสมัยก่อน อาจกล่าวได้ว่าการทำงานอย่างสังคมเกษตรกรรมเรา เช่น การทำนา จะเห็นว่าการทำงาน กิจกรรมทางครอบครัว และสังคม เป็นเรื่องเดียวกัน มีการสังสรรค์เฮฮากัน ดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกันไประหว่างนั้น และก็ยังเป็นการสานสัมพันธไมตรีกับเพื่อนในชุมชนไปพร้อมกันด้วย การแยกขาดการทำงานกับชีวิตส่วนอื่นขาดจากกันนั้น ย้อนกลับไปได้ถึงช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (เริ่มต้นจากในอังกฤษ) คือช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เริ่มมีเครื่องจักรไอน้ำที่สามารถทำงานแทนแรงงานคนจำนวนมากได้ แต่กระนั้นแรงงานคนก็ยังสำคัญอยู่ เพราะต้องคอยดูแลควบคุมกลไกของเครื่องจักรให้ดำเนินไปได้ ในตอนแรกนั้น การใช้เครื่องจักรทำให้มีผลิตภาพมากขึ้น ทำให้ได้ผลกำไรมากขึ้น และนำผลกำไรไปขยายโรงงานต่อ แต่ต่อมา กลายเป็นว่ามีการขยายโรงงานเกิดขึ้นทุกที่ จนกระทั่งเป็นว่าสินค้าออกมามากขึ้น กำไรลดลง และเพื่อให้ได้กำไรมากขึ้น นายจ้างก็นำไปขูดรีดกับคนงาน ผลที่ตามมาคือ .. ประการแรก ในด้านเวลา นายจ้างต้องตั้งเวลาเข้าออกงานให้ชัดเจน และเพื่อให้เครื่องจักรใช้งานได้เต็มที่คุ้มกับที่เสียเงินลงทุนไป นายจ้างก็ต้องให้คนงานทำงานมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงทำให้หลายโรงงานกำหนดชั่วโมงทำงานมากกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน ให้การลาหยุดเป็นไปไม่ได้ เวลาทำงานเป็นเรื่องที่ตายตัว “เวลาว่าง” จึงเกิดขึ้นในยุคนี้คือ เวลาที่ปลอดจากงานทั้งปวง แถมมีเรื่องตลกที่ไม่ค่อยขำคือ นายจ้างในยุคนั้น ส่วนหนึ่งตั้งนาฬิกาให้เร็วขึ้นในช่วงเช้า และตั้งนาฬิกาให้ช้าลงในช่วงหัวค่ำ เพื่อว่าคนงานจะได้ทำงานมากขึ้น (โดยไม่รู้ตัว) […]
ครอบครัว: เรื่องสำคัญที่ไม่อยู่ในความสนใจ โดย ผศ. ดร. กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์
ผศ. ดร. กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 17 มิ.ย. 2553 ดิฉันมีโอกาสได้ไปร่วมงาน “การประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางปฏิรูปประเทศไทย” ที่ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ในงานมีการเปิดเวทีเพื่อให้ผู้เข้าร่วมจากหลายภาคส่วนได้มีโอกาสแสดงความคิด เห็น โดยมีเงื่อนไขเพื่อการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพคือให้แต่ละคนได้พูด 2 นาที มีนาฬิกาจับเวลาพร้อมสัญญาณเตือนให้หยุด ปรากฏว่าผ่านไป 50 กว่าราย ไม่มีใครพูดถึงประเด็นปฏิรูปด้านครอบครัวเลยสักคนเดียว ในช่วงที่ดิฉันมีโอกาสทำ โครงการด้านสังคมวัฒนธรรมให้กับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจสังคม แห่งชาติ มีงานส่วนหนึ่งว่าด้วยเรื่องของบทบาทครอบครัว ทีมของเราพบด้วยความประหลาดใจว่าประเทศไทยเราไม่มีนโยบายหรือวาระแห่งชาติว่าด้วยเรื่องครอบครัวเป็นการเฉพาะ เช่น ไม่ได้มีการกำหนดแผนว่าต้องการเห็นสภาพครอบครัวไทยเป็นไปในทิศทางไหนและจะมี การดำเนินแผนงานพัฒนาอย่างไร แต่นำเรื่องครอบครัวไปบรรจุไว้เป็นส่วนหนึ่งของมิติการพัฒนาประเทศในด้าน ต่างๆ ด้วยความที่เห็นถึงความสำคัญเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นๆ อยู่เป็นอย่างมาก เพราะเหตุนี้จึงถูกหลงลืมละเลยเอาได้ง่ายๆ เข้าตำราที่ฝรั่งว่า Take it for granted อะไรประมาณนั้น หากจะพยายามหาเหตุผล คงต้องมองย้อนกลับมาที่ระดับบุคคลและความสัมพันธ์กับครอบครัว ก็จะพบว่าเรา ต่างล้วนรู้ดีว่าครอบครัวมีความสำคัญกับเรามากมาย แต่เมื่อถึงการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เรากลับใช้เวลาไปกับการบริหารจัดการสิ่งอื่นๆ เช่น การงาน การเรียน การพบปะสมาคม […]
เรื่องที่เก็บมาเล่าเรื่องราวที่เก็บมาฝาก: ประเด็นชูทางสังคม
อิสรภาพจากตัวตน โดย พระไพศาล วิสาโล ความเป็นตัวตนที่คนทุกคนต่างมีอยู่ จะกลายเป็นพันธนาการสู่ความทุกข์หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการถอนตัวเองให้เป็นอิสรภาพจากตัวตน จากความยึดมั่นถือมั่นไม่ว่าจะเป็นการยึดมั่นใน “ตัวกู ของกู” ดังที่ท่านอาจารย์พุทธทาสกล่าวไว้ว่าหากปล่อยวางจากความยึดติดแล้วด้วยปัญญา ก็จะเห็นความจริงว่าไม่มีอะไรไรที่น่ายึดถือแต่อุปสรรคที่สำคัญคือ ความหลงว่าสิ่งทั้งปวงอยู่ในอำนาจการควบคุมของเรา คนทั่วไปอาจมีคนที่อยู่ในความทุกข์ ความต้องการที่จะหลุดพ้นความทุกข์นั้นบางคนเลือกที่หนีบางคนเลือกที่จะสลัด ทิ้งความทุกข์ด้วยการสร้างตัวตนอีกหลายๆบุคลิกซ้อนขึ้นมาในคนๆเดียว ทั้งที่การสลัดตัวตนเดิมแล้วยึดตัวตนใหม่ที่สมมติขึ้นเพื่อสลัดความทุกข์ ทิ้งโดยไม่มีสติก็เป็นการยากที่จะเกิดปัญญาที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์และ อิสรภาพที่แท้จริง,อ่าน เพิ่มเติม มืออาชีพของภาคธุรกิจ…เปลี่ยนแปลงโลก โดย จอห์น วู๊ด เขียน , วิไล ตระกูลสิน ผู้แปล ประสบการณ์ จากการทำงานในชีวิตประจำวันสู่ประสบการณ์การทำงานเพื่อสังคมด้วยใจ อาสาสมัคร การเปลี่ยนแปลงเริ่มจากพลังเพียงคนเดียวที่กล้าเดินออกจากเส้นทางที่เคยเดิน มาสู่เส้นทางการให้กับการทำโครงการ Room to Read (ห้องอ่านหนังสือ) การถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตของ จอห์น วู๊ด กับเส้นทางการเดินทางของเขาออกจากการทำงานที่ไมโครซอฟท์เพื่อมาทำสิ่งดีๆให้ กับเด็กและเยาวชนในการเป็นอนาคตของโลก ความสุขจากสิ่งที่เขาได้ทำก็สามารถเป็นสิ่งที่เขาเชื่อว่าสามารถเปลี่ยนแปลง โลกได้,อ่าน เพิ่มเติม