CSR-CSV

Jul
08

กินอาหารท้องถิ่นเพื่อโลกและการบริโภคอย่างยั่งยืน

นอกจากการปรับเปลี่ยน นิสัยการกินแล้ว การบริโภคอาหารท้องถิ่นยังเป็นการช่วยโลกและส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืน เพียงลดการขนส่งสามารถ ประหยัดเงินในกระเป๋าได้อย่างดีแถมมีสุขภาพและทรัพยากรทางอาหารในท้องถิ่น ที่ยั่งยืนอีกด้วย ดังการ์ตูนในภาพต่อไปนี้ ( http://www.green.in.th/cartoon/1905)

By admin | CSR-CSV
DETAIL
Jan
20

เสวนา”คนไทย” – เดอะเนทเวิร์คฟอรั่ม ครั้งที่ 4 “จิตอาสาพนักงานสู่ความสุขในวิถีการทำงาน” A Corporate Volunteering Challenge towards Embedding CSR for Sustainability

Download ใบลงทะเบียนได้ที่นี่ Download แผนที่ได้ที่นี่ เสวนา”คนไทย” –  เดอะเนทเวิร์คฟอรั่ม ครั้งที่ 4 “จิตอาสาพนักงานสู่ความสุขในวิถีการทำงาน” A Corporate Volunteering Challenge towards Embedded CSR for Sustainability วันพุธ ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เวลา 12.30-16.30 น. ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 6 ตึกสภาคริสจักรในประเทศไทย(เชิงสะพานหัวช้าง) 1. หลักการและเหตุผล สังคมไทยตอบรับต่อการรณรงค์ให้ภาคธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม(CSR) อย่าง มีนัยยะสำคัญ ซึ่งการตอบรับไม่เพียงเกิดขึ้นกับบริษัทที่เห็นประโยชน์และตัวคุณค่านี้ อย่างแท้จริง และลงมือดำเนินการ มอบหมายหน้าที่ที่สำคัญนี้ให้กับ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ การตลาด ส่วนการพัฒนาบุคลากร ตลอดจน มีการปรับไปจนถึงโครงสร้างขององค์กร โดยผู้บริหารในระดับประธานบริษัททำหน้าที่นี้เพื่อจะเป็นผู้กำหนดนโยบายให้ เกิดการนำคุณค่าของ CSR เข้าไปอยู่ในทุกๆ สายการดำเนินงานของธุรกิจ ซึ่งยังไม่ค่อยเห็นมากในสังคมไทย ในขณะที่หลายบริษัทยังเข้าใจเพียงว่า […]

By admin | CSR-CSV
DETAIL
Oct
29

มองน้ำท่วมในด้านสร้างสรรค์ โดย อาจารย์ระพี สาคริก

มองน้ำท่วมในด้านสร้างสรรค์ โดย อาจารย์ระพี สาคริก เธอ ที่รักทุกคนความจริงแล้วสิ่งที่มันเกิดขึ้นทุกวันนี้ ถ้าเธอหวนกลับไปมองสู่อดีต ฉันพูดไว้นานแล้วว่า เหตุการณ์ต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นในบ้านเมืองเรา ก็เพราะคนไทยหลงอยู่กับความสบาย จนกระทั่งรากฐานจิตใจอ่อนแอ เห็นอะไรที่มิใช่ของตัวก็อยากได้ คอรัปชั่นก็เต็มบ้านเต็มเมืองเศรษฐกิจย่ำแย่ก็แก้ไม่ตก การจัดการศึกษาก็ไม่ได้ทำให้คนเป็นมนุษย์ถ้าฟังเสียงจากภายนอก ต่างชาติเขาพูดกันว่าคนไทยไม่รู้จักความยากลำบาก ความจริงน้ำท่วมครั้งนี้ ถ้าเธอไม่ใช่คนลืมง่าย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕ มันก็เกิดไม่น้อยไปกว่านี้เว้นไว้แต่ว่าคนไทยสมัยนั้นไม่ได้สร้างวัตถุมาก มายเหมือนปัจจุบัน จึงไม่เดือดร้อนเช่นทุกวันนี้ฉันจำได้ว่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕ น้ำมันท่วมถึงชั้นที่สองของบ้านแต่คนไทยก็ยังอยู่กันได้ถึงหนึ่งเดือนเต็มๆ ขณะนั้นฉันมีอายุ ๒๑ ปี แต่ทุกวันนี้เรากลับทำลายธรรมชาติภูเขาหินปูนลูกใหญ่ๆ ในจังหวัดสระบุรี ลพบุรี และที่ปากช่อง เป็นต้น หายไปเยอะเปลี่ยนไปเป็นตึกสูงๆ แม้แต่มหาวิทยาลัยก็มีการก่อสร้างกันอย่างเอิกเกริกการศึกษาที่ทำลายสิ่งแวด ล้อมนี่เองที่ได้ทำลายจิตใต้สำนึกของมนุษย์ทำให้สังคมแย่ลงไปทุกที ยิ่งแก้ไขก็ยิ่งตกต่ำไม่อย่างนั้นคงไม่เกิดการจัดการศึกษาทางเลือกการศึกษา ที่จัดให้คนนั่งอยู่ในตึกสบายๆ แล้วจะหวังให้ลูกศิษย์จบไปแล้ว ลงทำงานติดดินมันก็คงเป็นไปได้ยากยิ่งกว่านั้นตัวผู้ใหญ่เองซึ่งเป็นผู้ บริหารก็เช่นกัน หากรักแต่จะประชุมอยู่แต่ในตึกอยู่ในห้องแอร์ลูกศิษย์จะได้รับการศึกษาที่มี คุณภาพได้อย่างไรเพราะถ้าหัวไม่ส่าย หางมันจะกระดิกได้อย่างไร ฉันคิดว่าน้ำท่วมครั้งนี้มันน่าจะสอนให้เธอทั้งหลายรู้จักอดทนเพราะถ้าเธอ ต่อสู้กับใจตนเองไม่ได้ แล้วจะไปสู้กับอะไรที่ไหนฉันขอฝากเรื่องนี้เอาไว้ให้เธอกลับไปนอนคิดฉันไม่ รู้ว่าเหตุการณ์แบบนี้ มันจะเกิดขึ้นอีกสักกี่ครั้งถึงจะช่วยให้เธอรู้จักตัวเองดีขึ้น และไม่ไปทำลายธรรมชาติเช่นเดียวกับเรื่องความพอเพียงที่พูดกันแต่ปาก หากไม่รู้จักทำมีแต่การพูดกันไปต่างๆนาๆ โดยหาจุดจบได้ยาก […]

By admin | CSR-CSV
DETAIL

เสวนา”คนไทย” – เดอะเนทเวิร์คฟอรั่ม ครั้งที่ 2 “ตั้งรับ ฟื้นฟู และ เตรียมพร้อม ภัยพิบัติ”

เสวนา”คนไทย” – เดอะเนทเวิร์คฟอรั่ม ครั้งที่ 2 “ตั้งรับ ฟื้นฟู และ เตรียมพร้อม ภัยพิบัติ” วันพฤหัสบดี ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เวลา 15.00-17.00 น. ถ่ายทอดสดในรายการพิเศษ : ร่วมใจกู้วิกฤตภัยน้ำท่วม ผ่าน สถานีเนชั่นทีวี สถานีระวังภัย และ www.ระวังภัย.com ที่มา คงไม่ต้องตั้งคำถามว่าน้ำท่วมกำลังพัฒนาสู่ขั้นวิกฤตในระดับภัยพิบัติระดับชาติและโลก  ประชาชนกำลังเผชิญความไม่แน่นอนในชีวิตและทรัพย์สินอย่างแน่นอน  สิ่งที่ต้องตั้งคำถามกับภาคธุรกิจ และ ภาคประชาสังคม รวมทั้งประชาชนไทยว่า วันนี้เราเรียนรู้อะไรจากเหตุภัยพิบัติครั้งนี้ เราเตรียมพร้อมกับการร่วมกัน ตั้งรับ ตั้งกายและใจ และพร้อมฟื้นฟู ท่ามกลางปัญหาต่างๆที่จะตามมาไม่ว่า การขาดแคลนอาหาร (Food Security)  ภาวะความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety) การฟื้นฟูเศรษฐกิจระหว่างน้ำท่วมขัง และ หลังน้ำลด ตลอดจนการเตรียมการเพื่อตั้งรับภัยพิบัติอันไม่แน่นอนนี้ต่อไปอย่างไร เสวนาคนไทย-เดอะเนทเวิร์คฟอรั่ม ครั้งที่ ๒ “ตั้งรับ ฟื้นฟู […]

By admin | CSR-CSV
DETAIL
Oct
12

The NETWORK Forum 2

หลักการและเหตุผล เนื่องด้วยหอการค้าไทยได้กำหนดนโยบาย ลดความเหลื่อมล้ำของรายได้และสังคม โดยผลักดันกิจกรรมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมคือโครงการ ๑ ไร่ ๑ แสน โครงการ ๑บริษัท ๑ ชุมชน และผลักดันการพัฒนาพลังงานทางเลือกให้เป็นกลไกหนึ่งของการแก้ไขปัญหาสิ่งแวด ล้อมและพลังงานของสังคมไทยวันนี้   นอกจากนี้ยังได้ผลักดันกระบวนการต่อต้านการคอร์รัปชั่นเพื่อเป็น บทบาทหนึ่งของภาคเอกชนในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีองค์กรภาคธุรกิจเอกชนหลักร่วมเป็นภาคีเครือข่ายหลายองค์กร ซึ่งในระยะ ที่ผ่านมาภาคีเครือข่ายได้มีการจัดกิจกรรมการสัมมนา เรื่อง “การต่อต้านคอร์รัปชั่น … จุดเปลี่ยนประเทศไทย” เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมาเพื่อระดมความคิดเห็นของภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่นในการ สร้างความตระหนัก และการรับรู้ถึงผลร้ายของปัญหาการคอรั่ปชั่นที่ส่งผลกระทบต่อคนไทยและประเทศ ไทยในทุกภาคส่วนของสังคมตลอดจนการพัฒนาประเทศ ซึ่งผลการสัมมนาในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มและจุดเปลี่ยนของประเทศไทยโดยมี กลุ่มเป้าหมายที่จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนได้แก่กลุ่มเยาวชน ภาคเอกชน สื่อมวลชน และภาครัฐ การจัดเดอะเนทเวิรค์ฟอรั่ม ครั้งที่ ๒ นี้ จะเป็นการระดมแนวคิดและวิธี รวมทั้งกลยุทธในการสร้างวินัยทางธุรกิจของการร่วมกันต่อต้านคอรั่ปชั่นโดยมี กลุ่มเป้าหมายจากกลุ่มธุรกิจกลุ่มเล็ก ๆ จำนวน ๔๐ บริษัทเข้าร่วม เพื่อร่วมผลักดันการพัฒนาแนวคิด อุดมการณ์ วัฒนธรรมองค์กรซื่อสัตย์และยึดมั่นในความเป็นธรรม รวมทั้งสร้างจิตสำนึก วิสัยทัศน์และจริยธรรมในการต่อต้านการทุจริตและการให้สินบนในภาคธุรกืจเอกชน โดยใช้หลัก Corporate Governance ในการบริหาร […]

By admin | CSR-CSV
DETAIL
Aug
08

7 แนวทางสรรค์สร้างสู่การพัฒนากิจกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน

แปลและเรียบเรียง โดย ปารีณา ประยุกต์วงศ์ เครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จากบทความเรื่อง Marriage of Best Practices โดย Brenda Ginsberg Sources: CRO บริษัทใหญ่ๆ ในปัจจุบันต้องตั้งรับกับสถาณการณ์วิกฤตของโลกที่สุดจะคาดเดาว่า ผลกระทบวิกฤตต่างๆ จะเยื้อนกายเข้ามาปะทะธุรกิจของตนเองเมื่อไร และ อย่างไร และ ทิศทางการทำธุรกิจเพื่อสังคมก็เปลี่ยนรูปเปลี่ยนร่างอย่างไร ทางออกที่ปรากฏชัดของบริษัทในขณะนี้ คือ 1). การมุ่งหาวิธีสร้างพลังและความแข็งแกร่งในการทำกิจกรรมทางสังคม และ หนึ่งในวิธีนั้นก็คือ การสร้างการมีส่วนร่วมกับองค์กรภาคสังคมเพื่อทำให้ผลการสนับสนุนผ่านกิจกรรม CSR ของบริษัทนั้นมีประโยชน์เท่าทวี และ 2) หลายบริษัทมองหาวิธีการประมินระดับการเข้าไปมีส่วนร่วม และ ความร่วมมือกับองค์กรพัฒนา แบบที่เรียกว่าทำงานร่วมกันเสมือนร่วมลงนาวาเดียวกัน เพื่อการพัฒนาให้พรุ่งนี้เป็นวันที่ดีกว่าสำหรับสังคม และ บริษัทอันเป็นที่รักของทุกคน สำหรับสังคมไทย ซึ่งอยู่ในระหว่างทางแห่งการเรียนรู้ที่จะนำ CSR ไปใช้ในวิถีของตนเอง ให้เหมาะกับฐานบริบทของสังคมไทย   7 แนวทางนี้ได้นำมาซึ่ง รูปแบบ วิธีคิด การเลือก ประเด็นการทำงานเพื่อสังคม คำแนะนำ ต่างๆ ที่เป็นช่องทางไปสู่การทำงานกิจกรรมที่สร้างความยั่งยืน […]

By admin | CSR-CSV
DETAIL
Aug
07

เสวนาคนไทย-เดอะเนทเวิร์คฟอรั่ม ครั้งที่ 1 “เป้าหมายของกำไร คุณค่าแห่งความร่วมมือ : กลยุทธ์ CSR บนกระบวนทัศน์ใหม่”

เสวนาคนไทย-เดอะเนทเวิร์คฟอรั่มครั้งที่ 1 “เป้าหมายของกำไร คุณค่าแห่งความร่วมมือ : กลยุทธ์ CSR บนกระบวนทัศน์ใหม่” ที่มา การส่งเสริมให้ธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ได้ดำเนินการเป็นระยะเวลากว่า ๑๐ ปี ทำให้ธุรกิจเริ่มมีความเข้าใจและลงมือปฏิบัติเพิ่มมากขึ้นโดยที่ความรับผิด ชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของภาคธุรกิจนั้น มิได้หมายความถึงภาคธุรกิจเป็นผู้ปฏิบัติภายในองค์กรแต่เพียงลำพังเท่านั้น แต่ภาคธุรกิจจะต้องร่วมมมือกันส่งเสริมและแสดงบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมครอบคลุมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจในทุกด้าน ดังนั้น การผลักดันให้ภาคธุรกิจหันมาดำเนินธุรกิจด้วยการพัฒนาคุณค่าร่วมกับผู้มี ส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากจะเป็นการสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ให้กับธุรกิจแล้ว ยังช่วยทำให้ธุรกิจสามารถสร้างนวัตกรรมความร่วมมือกับทุกภาคส่วนได้อย่าง สร้างสรรค์รวมทั้งพัฒนาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืนทั้งต่อตัวธุรกิจเองและสังคม รอบข้างอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ความยั่งยืนไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยภาระหน้าที่ของคนใดคนหนึ่งแต่เกิดจากการมี ส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เดอะเนทเวิร์คฟอรั่มครั้งที่ 1 นี้จะเป็นการเปิดตัวหนังสือ “เป้าหมายของกำไร คุณค่าแห่งความร่วมมือ : กลยุทธ์ CSR บนกระบวนทัศน์ใหม่” และเวที่เสวนาเชิงปฏิบัติการ World Cafe เพื่อนำเสนอ กลยุทธ์ CSR บนกระบวนทัศน์ใหม่ “การสร้างคุณค่าร่วม” เพื่อให้เกิดการบูณาการความคิดสู่การสร้างสังคมแห่งความสุขร่วมกันต่อไป ผู้ร่วมจัด หอการค้าแห่งประเทศไทย มูลนิธิคนไทย หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมเพื่อการพัฒนาที่ ยั่งยืน จุดประสงค์ • เพื่อแนะนำ […]

By admin | CSR-CSV
DETAIL
Jun
23

ภัยแล้งปี 53 ภัยเงียบที่เราต้องตระหนัก

เรื่อง/ภาพ : สุเจน กรรพฤทธิ์ กลางเดือนมิถุนายน 2553 ขณะที่หลายคนกำลังบิดหัวก็อกเปิดน้ำประปาแล้วใช้น้ำอย่างสบายใจอยู่ในเมือง ใหญ่ปริมาณน้ำในเขื่อนเกือบทุกแห่งของประเทศไทยตกอยู่ในภาวะวิกฤต โดยมีน้ำอยู่ต่ำกว่าระดับร้อยละ 50 ของทั้งหมด 15 มิถุนายน 2553 กรมชลประทานรายงานว่าปริมาณน้ำในเขื่อนทั้งหมดทั่วประเทศรวมกันคือ 32,787 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยถ้าคิดจากความจุของเขื่อนทั้งประเทศจะเหลือปริมาณน้ำประมาณร้อยละ 47 ขณะที่ปีนี้ฤดูฝนเริ่มต้นช้า ปริมาณน้ำในเขื่อนจึงลดลงอย่างต่อเนื่อง พล.ต.สนั่น ขจรประสาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับดูแลเรื่องน้ำของรัฐบาลกล่าวว่าขณะนี้สถานการณ์ น้ำของไทยวิกฤตอย่างยิ่ง หากฝนยังไม่ตกลงมา ปริมาณน้ำในเขื่อนใหญ่จะเหลือใช้ได้อีกเพียง 2 เดือนเท่านั้น โดยในเขื่อนสิริกิติ์ที่ทำหน้าที่ส่งน้ำลงมายังพื้นที่ราบภาคกลางนั้น เหลือปริมาณน้ำกักเก็บเพียงร้อยละ 36 ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 18 ปี  ขณะที่เขื่อนที่ใหญ่ที่สุดอย่างเขื่อนภูมิพลเหลือปริมาณน้ำเพียงร้อยละ 32 เท่านั้น “กระทั่งตอนนี้กรุงเทพฯ ต้องดึงน้ำมาจากจังหวัดกาญจนบุรี (ผ่านแม่น้ำแม่กลอง) มาสำรองเพื่อใช้ทำน้ำประปา” พล.ต. สนั่น กล่าวว่ารัฐบาลกำลังตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจเพื่อสำรวจสถานการณ์ภัยแล้งใน พื้นที่ต่างๆ โดยจะมีการทำตารางทำฝนเทียมในแต่ละพื้นที่เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำ สถานการณ์ที่ชัดเจนที่สุดคือพื้นที่ท้ายเขื่อนป่าสัก เขื่อนที่สามารถกักน้ำจากแม่น้ำป่าสักไว้ได้สูงถึง 960 ล้าน ลูกบาศก์เมตร กลางเดือนมิถุนายน ปริมาณน้ำกักเก็บของเขื่อนแห่งนี้เหลือเพียง […]

By admin | CSR-CSV
DETAIL