สร้างสรรค์เมืองน่าอยู่แห่งความสุข ด้วยทักษะ..จากความรู้สู่การปรับฐานใจ
From CSR Practices towards Livable and Sustainable Development Goals เพื่อให้การพัฒนาโครงการเมืองน่าอยู่อย่างมีความสุขเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สมาคมเครือข่ายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (The NETWORK) ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและเชื่อมเครือข่ายจึงจัดการประชุมกับภาคธุรกิจ ที่มีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานประกอบกิจการให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ให้เกิดความผาสุกและเกิดสภาพแวดล้อมที่ดีแก่ประชาชน (License to Operate towards livable city) รวมทั้งเกิดความเจริญก้าวหน้าของประเทศโดยรวม ซึ่งการสานฝันดังกล่าวใช่ว่าจะเนรมิตขึ้นมาได้ดั่งใจในพริบตา ต้องอาศัยความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีการออกแบบกลไกการพัฒนาที่มีศักยภาพ เป็นไปตามขั้นตอนที่ถูกต้องเหมาะสม และที่เป็นหัวใจสำคัญคือ “ทักษะและความเข้าใจ” การประชุมที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 – 29 กรกฎาคมที่ผ่านมา จึงไม่ใช่การพูดคุยธรรมดา แต่เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการที่มีกิจกรรมแฝงการเรียนรู้เป็นการทบทวนร่วมกันว่า โครงการเมืองน่าอยู่อย่างเป็นสุขนั้น จะทำงานร่วมกันบนพื้นฐานแห่งความเข้าใจ มีภาพจิตนาการเดียวกันว่าจะร่วมกันพัฒนาโครงการไปด้วยกันอย่างไร จึงจะทำให้การพัฒนาโครงการนี้ได้สร้างความสุข ความอิ่มใจ และความฝันที่จะสร้างสิ่งที่ดีงามด้วยเจตนาที่ดีงามของผู้ลงมือปฏิบัติ กิจกรรมที่ 1 เข้าใจ และ เข้าถึง ฐานคิด และ ฐานใจ (Understanding Livable and Happiness City VS […]
Invisible Runners คุณคือนักวิ่งตัวจริง
เมื่อปลายปี 2557 The NETWORK ร่วมมือกับเครือข่ายคนรักษ์อนุสาวรีย์ชัยจัดงาน Zero West งานหนึ่งที่เราพยายามสร้างพื้นที่ให้กับคนทำงานอยู่เบื้องหลังความสะอาดสอ้าน อย่างพี่ๆที่คอยเก็บขยะให้เรา ในวันนั้นเราเชิญพวกเขาขึ้นเวทีพร้อมสะท้อนเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับขยะ ผลตอบรับคือ คนเหล่านั้นมีกำลังใจและรู้ว่าตัวเขาเองมีตัวตน ช่วงเวลาใกล้ๆกันแต่ระยะทางห่างไกลไปกว่าซีกโลก ประเทศอย่างบราซิลก็เห็นถึงความสำคัญของคนกลุ่มเดียวกัน พวกเขาจึงทำโปรเจ็คที่ชื่อ ‘Invisible Runners’ ‘Mizuno’ คือแบรนด์รองเท้าชื่อดังจากแดนอาทิตย์อุทัย หากจะทำ CSR แจกรองเท้าก็คงดูธรรมดาไป พวกเขาจึงทำวิจัยว่าอาชีพไหนที่ใช้ร่างกายเหมือนนักวิ่ง Half moraton ที่สุด คนที่ต้องวิ่ง 21 กิโลเมตรต่อวันเพื่อทำงานจะมีได้อย่างไร? คนทั่วไปอาจคิดอย่างนั้น แต่ผลการทำข้อมูลออกมาบอกว่ามีอยู่อาชีพหนึ่งที่ทำอย่างนั้นคือ “คนเก็บขยะ” ทีมงานจึงใช้ช่วงวันคริสต์มาส อีฟ ซึ่งเป็นช่วงที่มีขยะเยอะมากที่สุดช่วงหนึ่งของปี เพราะแต่ละบ้านต่างสังสรรค์และทิ้งขว้างทรัพยากรธรรมชาติไปพร้อมๆกับความสุข ในวันนั้นทีมถ่ายทำสารคดีสั้นออกติดตามผู้อยู่เบื้องหลังความสะอาดของเมือง แค่มีกล้องตามติด 40 ชั่วโมงเขาก็รู้สึกมีตัวตนในสังคมขึ้นมากมาย แต่ใครจะรู้ว่าช่วงเวลาที่แต่บ้านต่างมอบของขวัญเขาจะได้รับของขวัญ ขยะกองหนึ่งซึ่งถูกประดับด้วยไฟกระพริบค่อยๆปรากฏตัวหลังจากขยะที่พวกเขาเก็บไปทิ้ง เมื่อคุณเปิดออกดูคุณก็พบของขวัญเป็นรองเท้า ‘Mi-zuno’ ซึ่งราคาไม่ถูกอยู่ในนั้น กระบวนการของ ‘Invisible Runners’ อาจจะดูฉาบฉวยและไม่มีความยั่งยืน แต่อย่างน้อยๆ ครีเอทีฟได้สร้างสรรที่ให้คนกลุ่มหนึ่งได้มีที่ยืน อย่างโดดเด่น เราได้เห็นสภาพบ้านเมืองที่รกตาและเราก็ได้รู้ว่าใครดูแลมัน ในแง่ของแบรนด์มันทำให้เห็นชัดว่า […]
บทสรุป CSR Forum by Corporate Volunteer Network of Thailand ครั้งที่ 1
CSR Forum by Corporate Volunteer Network of Thailand ครั้งที่ 1 “เหลียวหลัง…แลหน้า – Past, Present and Future of CSR in Thailand” เวลา 8.30-17.00 น. วันจันทร์ ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ 2557 ณ ห้องประชุมประไพ วิริยะพันธุ์ ชั้น 3 สำนักงานสาขาลุมพินี บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) การเปิดงาน คุณกานดา วัฒนายิ่งสมสุข ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท วิริยะ ประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวต้อนรับ และแนะนำวิทยากรผศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ จากสถานบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คุณนภดล ศิวะบุตร จากบริษัท […]
รายงานเวทีเสวนาคนไทย-เดอะเนทเวิร์คฟอรั่ม ครั้งที่ 1-3 ประจำปี 2554
ในปี 2554 หอการค้า มูลนิธิ “คนไทย” หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และ เดอะเนทเวิร์ค ได้ร่วมกันจัดเวที เสวนาคนไทย-เดอะเนทเวิร์คฟอรั่ม เป็นจำนวน 3 ครั้ง เพื่อเป็นเวทีพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดและประเด็นต่างๆ โดยมีข้อมูลจากการศึกษาวิจัยสภาวะสังคมไทยเป็นพื้นฐาน อาทิ การสำรวจคนไทยมอนิเตอร์ เสียงนี้มีพลัง ทั้ง นี้เพื่อร่วมกันค้นหากลไก นวัตกรรมการพัฒนาโครงการ และแนวทางการพัฒนาต่อยอดโครงการขององค์กรภาคีเครือข่ายต่างๆ อันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลลัพธ์ในเชิงบวกต่อบุคลากร องค์กร และสังคมไทย อย่างบูรณาการ บนพื้นฐานของวัฒนธรรมแห่งความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในการจัดทั้ง 3 ครั้ง ได้มีการจัดรูปแบบที่หลากหลาย และ ตอบสนองสถานการณ์บ้านเมือง และ ส่ิงที่เกิดขึ้นในสังคม เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน และมีความคาดหวังว่า ผู้เข้าร่วมเสวนาจะนำข้อแลกเปลี่ยนจากสมาชิกท่านอื่นเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ และ สร้าวนวัตกรรมบูรณาการการดำเนินธุรกิจ ที่มีพื้่นฐานคุณค่า CSR ที่เป็นมากกว่าการทำกิจกรรมเพื่อสังคม หากการแลกเปลี่ยนร่วมกันจะทำให้ธุรกิจไทย ก้าวสู่การสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการดำเนินธุรกิจที่จะรักษาสมดุลของ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ไปพร้อมๆ กัน ๑.รายงาน เสวนา “คนไทย”-เดอะเนทเวิรค์ฟอรั่ม ครั้งที่ […]
บรรยากาศชุมชนแห่งการเรียนรู้ ครั้งที่ 6
สรุปบรรยากาศ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ครั้งที่ 6 เป็นการรวมตัวของสมาชิกและผู้สนใจการทบทวน และพัฒนาการเรียนรู้การทำงานร่วมกันและได้ร่วมสร้างพลังชีวิตและโครงสร้าง ที่แข็งแกร่งของจิตอาสาองค์กรธุรกิจให้มั่นคงตราบนานเท่านาน เริ่มต้นในปี 2557 ขอนำสมาชิก ไปร่วมเรียนรู้ “วิถีของโตโยต้า ด้วยการบูรณาการจัดการสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศน์รอบโรงงาน และการดูแลชุมชน ด้วยระบบ Just in Time ของโรงสีข้าวรัชมงคล ซึ่งเป็นการทำ CSR ที่ใช้ทั้งความรู้และความถนัด เฉพาะทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”
ชุมชนแห่งการเรียนรู้-เครือข่ายจิตอาสาองค์กรธุรกิจแห่งประเทศไทยครั้งที่ 7
กำหนดการ ชุมชนแห่งการเรียนรู้-เครือข่ายจิตอาสาองค์กรธุรกิจแห่งประเทศไทยครั้งที่ 7 เยี่ยมบ้านมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม…..บ่มเพาะจิตอาสาในองค์กรธุรกิจ เวลา 8.30-16.30 น. วันอังคารที่ 3 มิถุนายน 2557 ณ ห้องประชุมสุจิตา มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคมมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม หลักการและเหตุผล เครือข่ายจิตอาสาองค์กรธุรกิจแห่งประเทศไทยได้มีการรวมตัวกันเป็นเวลา 2 ปีแล้วนั้น การชุมนุมในครั้งนี้เราได้เวียนมาประจบอีกครั้ง เป็นครั้งที่ 7 ในวัน อังคาร ที่ 3 มิถุนายน 2557 เวลา 8.30-17.00 น. ข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่า การส่งเสริมจิตอาสาในองค์กรธุรกิจ นั้นองค์กรจะได้อะไร แต่เท่าที่ได้ทำการสำรวจและค้นคว้าวิจัยจากกิจกรรมและการลงมือปฏิบัติของ The NETWORK ค้นพบว่าไม่ว่าองค์กรไหนที่ส่งเสริมจิตอาสาในองค์กร พนักงานมีความรู้สึกต่อองค์กรในทางสร้างสรรค์ มีส่วนร่วมในการทำงานเป็นหมู่คณะมากขึ้น พนักงานซึ่งเป็นพลังสำคัญขององค์กรส่วนใหญ่เห็นคุณค่าของตัวเอง องค์กรและ สังคมมากขึ้น และสิ่งสำคัญที่สุดคือ พนักงานบริษัทที่เป็นกลุ่มประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ได้รับการพัฒนาความเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม (Corporate Citizenships) และกลายเป็นกลุ่มประชากรคุณภาพที่สนใจดูแลตนเอง สังคม และ สิ่งแวดล้อม ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาเศรษฐกิจขององค์กร ซึ่งในครั้งนี้ จะเป็นการนำสมาชิกเดินทางสู่การเรียนรู้และแลกเปลี่ยน […]
เพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้นของผู้ประกอบการทางสังคม : ประเด็นสำคัญที่แตกต่าง
การประกอบการทางสังคมหลายแนวทาง-ทฤษฎีและปฏิบัติการหลายแนวทาง อ้างอิงจาก เวปไซด์ “มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน” คำว่า “ผู้ประกอบการทางสังคม” (social entrepreneurship) เป็น คำๆ หนึ่งในหลายๆ คำที่มีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องมากที่สุด ในแวดวงหน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร ดูเหมือนว่าหลายคนมีการให้ความหมายที่แตกต่างกันออกไป บทความนี้เป็นความพยายามของพวกเราที่จะทำให้ความหมายมีความชัดเจนมากขึ้น จากประสบการณ์ในเรื่องนี้กว่า 50 ปี โดยพวกเราหนึ่งในนั้นอยู่ในตำแหน่งหัวหน้าในบริษัทที่ปรึกษาระดับชาติ และอีกหนึ่งนั้นเป็น CEO ที่สร้างรายได้ประมาณ 15 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาจากการประกอบการทางสังคม 20 ปีที่แล้ว การประกอบการในความเห็นของการทำกิจกรรมที่ไม่ได้หวังผลกำไร เป็นเรื่องน่ารังเกียจสำหรับบุคคลในภาคส่วนนี้ แนวคิดที่จะผสานพันธกิจเพื่อสังคมกับเรื่องเงินสำหรับคนเหล่านี้เป็นเรื่อง ที่ยอมรับไม่ได้ แต่ทุกวันนี้ คำว่า “ผู้ประกอบการทางสังคม”(social entrepreneurship) กลายเป็นคำที่กล่าวถึงโดยทั่วไป…..อ่านเพิ่มเติม
เสวนาจิตอาสาพนักงานองค์กรธุรกิจสู่ความสุขในวิถีการทำงาน ครั้งที่ ๗
กำหนดการเสวนาจิตอาสาพนักงานองค์กรธุรกิจสู่ความสุขในวิถีการทำงาน ครั้งที่ ๗ เรื่องเล่าเร้าพลังจิตอาสาในองค์กรธุรกิจสู่การพัฒนาCSR Report ครั้งสำคัญ (จับใจเขียน ครั้งที่ ๒) วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม 2555 ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 4 บริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) อาคารอาร์เอส ทาว์เวอร์ ถนนรัชดาภิเษก ที่มา เมื่อเชื่อมโยงกลับเข้าไปสู่วิถีการทำงานของภาคธุรกิจ องค์กรธุรกิจมีความพยายามที่จะเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมให้เข้าไปอยู่ในกระบวนการดำเนินธุรกิจ จนได้มีการสรุปความพยายามในรูปแบบของ รายงานความรับผิดชอบต่อสังคมตามรูปแบบมาตราฐานต่างๆ ตามลักษณะของธุรกิจ หากแต่การรายงานที่ผ่านมาเป็นเพียงการรายงานผลผลิตกิจกรรมเท่านั้นและเป็นรายงานที่ยังไม่ได้เปิดเผยผลกระทบที่บริษัทได้ใช้งบประมาณไปมากมายทั้งในการทำโครงการ การใช้เวลาของพนักงาน ตลอดจนสิ่งที่ได้ทำนั้นส่งผลกระทบที่ผู้ได้รับผลประโยชน์มากมาย งาน CSR และการทำงานจิตอาสาเป็นงานสร้างชีวิต เพราะเป็นงานที่สัมผัส สัมพันธ์โดยตรงกับความสุข และความหมายแห่งชีวิตของผู้คน ทั้งตัวเราเอง ครอบครัว เพื่อนร่วมงานในองค์กร และสังคม เราจะขยายผลแห่งความสุข และเสริมสร้างความเจริญงอกงามของชีวิตได้อย่างไร … การเขียนบันทึกเรื่องเล่าชีวิตงานบนวิถีจิตอาสาอาจเป็นคำตอบหนึ่ง ดังนั้นเพื่อให้รายงานดังกล่าวที่ออกมานั้น จะทำให้เกิดการทบทวนการเรียนรู้การทำ CSR ขององค์กร ส่งผลกระทบสร้างแรงบันดาลใจต่อผู้อ่าน เกิดการสร้างภาพความปราถนาที่ดี (Goodwill) ขององค์กรต่อพนักงาน […]