สัมภาษณ์ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ รองประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท “ผมถูกบังคับให้เป็นนายทุน”
หากเอ่ยชื่อกลุ่มทุนในเมืองไทยที่กำลังเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง ปฏิเสธไม่ได้ว่า กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท ผู้ประกอบธุรกิจประกอบชิ้นส่วนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ คือหนึ่งในนั้น ใครจะรู้ว่า ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้กุมบังเหียนอาณาจักรแห่งนี้เป็นเพียงคนหนุ่มวัย ๒๘ ปีที่เข้ามานั่งตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหาร ภายหลังจากสูญเสียคุณพ่อ–พัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้เป็นเสาหลักของครอบครัวไปเมื่อ ๕ ปีก่อน โดยมีคุณแม่ สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ดำรงตำแหน่งประธานบริษัท ธนาธร หรือ เอก พาไทยซัมมิทกรุ๊ปทะยานขึ้นสู่จุดสูงสุดของธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ ทำยอดขายสูงสุดถึง ๒๖,๐๐๐ ล้านบาท และยังขับเคลื่อนทุนไทยออกไปลงทุนนอกประเทศ โดยเฉพาะตลาดอาเซียนและอินโดจีน อาทิ อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และจีนเป็นลำดับต่อไป ด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่า “เราจะไม่ยอมเป็นบริษัทที่อยู่ในทุนนิยมหางแถว แต่ต้องการเป็นบริษัทที่สามารถใช้ประโยชน์จากทุนนิยม วันนี้ globalization มาเคาะประตูบ้านคุณแล้ว ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม คุณหลีกหนีไม่ได้” ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า ชายหนุ่มสวมสูทผูกไทนั่งเก้าอี้ผู้บริหารแห่งอาณาจักรไทยซัมมิทกรุ๊ปในวันนี้ คือคนคนเดียวกับหนุ่มผมยาวมาดเซอร์ ที่ชอบสวมเสื้อผ้าฝ้ายสกรีน นุ่งกางเกงเล ใส่รองเท้าผ้าใบเก่าๆ สะพายกระเป๋าขาดๆ และสูบบุหรี่จัด ในวันนั้นใครๆ เรียกเขาว่า “แอ็กทิวิสต์ซ้ายจัด” จากเด็กเที่ยวในกลุ่มไฮโซ เข้ามาเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ […]
เมื่อการศึกษาติดกับดักการแข่งขัน บทสัมภาษณ์ ผศ. อรรถพล อนันตวรสกุล
สัมภาษณ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ, ธัชชัย วงศ์กิจรุ่งเรือง ถ่ายภาพ : ประเวช ตันตราภิรมย์ ทุก ๆ ปีในช่วงปิดเทอมที่มีการสอบเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ประเด็นปัญหาการศึกษาไทยมักถูกยกขึ้นมาเป็นข่าวอยู่เสมอ ก่อนจะหายเงียบไปเมื่อพ้นช่วงเวลาดังกล่าว แต่ตลอดปีสองปีมานี้ ปมปัญหาด้านการศึกษาปรากฏเป็นข่าวดังค่อนข้างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มวิชาหน้าที่พลเมือง (ปี ๒๕๕๗) นโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ (ปี ๒๕๕๘) การวัดผล PISA ที่เด็กไทยได้คะแนนต่ำกว่าเพื่อนบ้าน (ปี ๒๕๕๙) หรือล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๖๐ กับการอนุญาตให้ผู้ที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาทางครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์สมัครสอบคัดเลือกเป็นครูได้จนเกิดกระแสคัดค้านอย่างหนักจากกลุ่มวิชาชีพครู ต้องยอมรับว่าประเด็นการศึกษาเป็นเรื่องถกเถียงในสังคมไทยมายาวนาน คำว่าปฏิรูปการศึกษาได้ยินกันจนเป็นเรื่องชาชิน ล่าสุดความสำเร็จด้านรายได้กว่า ๑๐๐ ล้านบาทของภาพยนตร์ไทยเรื่อง ฉลาดเกมส์โกง ที่ออกฉายเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ก็ได้รับการประชาสัมพันธ์ว่าเป็นภาพยนตร์ตีแผ่ระบบการศึกษาไทย และธุรกิจโกงข้อสอบ ผศ. อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งยังเป็นผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย (Thai Civic Education) มักแสดงความเห็นวิจารณ์ปัญหาต่าง ๆ ด้านการศึกษาผ่านทางหน้าเฟซบุ๊กส่วนตัว ให้สัมภาษณ์สื่อหลายแขนง รวมถึงมีส่วนร่วมจัดเสวนาเรื่องการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ เพราะเห็นว่าปัญหาการเมืองกับการศึกษานั้นมีคนพูดถึงน้อย […]
The Benefits of Strategic Alliance
The Benefits of Strategic Alliance คำตอบจาก 3 คำถามสำคัญ ต่อความร่วมมือที่ว่า ทำไมเราถึงต้องร่วมมือ เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไปในทางลบมากเกินกว่าจะคาดเดา? ร่วมมือแล้ว ภาคประชาชน เอกชน และรัฐได้อะไร? จนถึงคำถามข้อสุดท้ายที่สำคัญยิ่ง ว่าเราจะเริ่มอย่างไร? ยุทธศาสตร์บางละมุง ยุทธศาสตร์พิษณุโลก ยุทธศาสตร์สิงหนคร Last Updated (Friday, 15 July 2016 11:53)
ความแตกต่างระหว่าง CSR กับ Sustainability
คอลัมน์ CSR Talk โดย พิพัฒน์ ยอดพฤติการ สถาบันไทยพัฒน์ วันนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักเรื่อง CSR หรือความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ และจะทันยุคยิ่งขึ้น ถ้ารู้จักเรื่อง Sustainability หรือความยั่งยืน สองเรื่องนี้มักจะถูกหยิบยกมาพูดพร้อม ๆ กันในบริบทที่ใกล้เคียงกัน เมื่อมีการพูดถึงองค์กรที่ประพฤติตัวดีหรือเป็นที่ยอมรับของสังคม เวลาที่ได้ยินว่าองค์กรนั้นองค์กรนี้มีCSRที่โดดเด่นก็จะมีองค์กรแบบข้ามาทีหลังต้องดังกว่าบอกว่าสิ่งที่องค์กรของตนทำนั้น ได้ Beyond CSR ไปแล้ว หรือได้ยกระดับเป็นเรื่อง Sustainability เรียบร้อยแล้ว เลยทำให้หลายคนกังขาไม่น้อยว่า ตกลงแล้ว เรื่อง CSR กับ Sustainability มีความแตกต่างกันอย่างไร ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า ทั้ง CSR และ Sustainability นั้น ภาษาไทยแปลนำหน้าด้วยคำว่า “ความ” (รับผิดชอบต่อสังคม) และ “ความ” (ยั่งยืน) ทั้งคู่ ไม่ใช่ การรับผิดชอบต่อสังคม หรือ การยั่งยืน จึงต้องจัดว่าเป็น “สภาพ” ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ดำเนินไปด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม หรือด้วยความยั่งยืน ไม่ใช่ […]
iORDER – Duty of Care and Prudence
Nonprofit boards have a duty of care and prudence in performing its role. This fact is well known and accepted. However, as stewards of nonprofit organizations, knowing what these duties entail and how to operationalize their responsibilities are issues faced by the board members. Here is a mnemonic that I have devised to help us […]
คุณค่าและจุดมุ่งหมายในการสอนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
Teaching Values and Purpose for Social Change (บทความแปลจาก Stanford SOCIAL INNOVATION REVIEW Informing and inspiring leaders of social change) คุณค่าและจุดมุ่งหมายในการสอนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ถึงเวลาที่บรรดามหาวิทยาลัยต้องทบทวนว่าจะทำอย่างไรกับการนำเสนอการศึกษาด้านผลกระทบต่อสังคม การจัดลำดับความสำคัญจากประสบการณ์ และการเรียนรู้ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวัตถุประสงค์ (purpose-based) เมื่อเริ่มต้นการแข่งขัน โดย : Sabrina Beges / 4 กันยายน 2558 แปล : สุนทรี นิกรปกรณ์ ขณะที่นักศึกษาส่วนใหญ่แสวงหางานที่มีความหมายในภาคสังคม สถาบันการศึกษาเองก็จำเป็นต้องนำเสนอการเรียนรู้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการเติบโตด้านชีวิตส่วนตัวและอาชีพการงานของนักศึกษา ความท้าทายอันซับซ้อนทั้งระดับท้องถิ่นและระดับโลกจำต้องอาศัยการแก้ไขปัญหาด้วยนวัตกรรมซึ่งพัฒนามาจากประสบการณ์ ความสัมพันธ์ และคุณค่าที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างได้ผลสูงสุดของหลายฝ่ายที่ร่วมมือกัน ซึ่งการสอนเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมนี้ไม่มีอยู่ในตำรา ดังนั้น ยิ่งเราทำให้นักศึกษาเข้าใกล้ปัญหาสังคมทั้งในและนอกห้องเรียนได้มากเท่าไร ก็หมายความว่าพวกเขาจะพัฒนาการแก้ปัญหาอย่างรอบรู้และมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ดิฉันได้ร่วมนำ หลักสูตรการเป็นผู้ประกอบการทางสังคม (http://cddrl.fsi.stanford.edu/docs/program-social-entrepreneurship) ให้นักศึกษาได้เป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมการประกอบการตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้าสู่รั้วสถาบัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งกลุ่มนักศึกษาหรือผู้ประกอบการทางสังคม ล้วนเป็นไปด้วยแรงปรารถนา – และแรงกดดัน […]
How to Initiate collaboration
จากการประชุมคณะกรรมการของสมาคมเครือข่ายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (The NETWORK) ได้มีข้อคิดจากท่านนายกสมาคม คุณชาญชัย พินทุเสน หรือลุงอ๋อยของพวกเรา ที่เป็นกัลยาณมิตรที่รักและเคารพนับถือกันมาเกือบ 20 ปี ท่านให้ข้อคิดว่า ก่อนทำการเชื่อมความร่วมมือระหว่างภาคส่วน เราควรตรวจสอบภาคีว่ามีสิ่งเหล่านี้หรือยัง ความรู้ ในที่นี้ไม่เพียงแต่หมายถึงมีความรู้เฉพาะด้านที่จะพัฒนาอย่างลึกซึ้งเท่านั้น หากแต่ต้องมีความรอบรู้ในหลายๆด้าน ซึ่งเปรียบเสมือนนักรบที่มีอาวุธในมือ เมื่อถึงเวลาสามารถนำอาวุธหรือชุดความรู้ใดก็ได้มาใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เวลา และ โอกาส นอกจากความรู้แล้ว ประสบการณ์การทำงานก็นับเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะประสบการณ์จะช่วยลดความเสี่ยงในการล้มเหลวหรือผิดพลาดเมื่อพบกับปัญหาหรืออุปสรรคที่เข้ามาแทรกโดยไม่มีในแผนงานที่วางไว้ในตอนต้น เป็นที่ยอมรับ ในการทำงานนั้นต้องอาศัยการยอมรับจากทุกภาคส่วนที่เข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องเห็นด้วยในเนื้อหาหรือข้อเสนอแนะที่เพื่อนคณะทำงานเสนอทั้งหมด และไม่จำเป็นว่าจะต้องให้ความร่วมมือกับทุกกิจกรรม เพราะการพัฒนาเมืองน่าอยู่จะประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยความหลากหลายทางความคิด อันจะนำมาซึ่งวิธีการหรือกระบวนการพัฒนาที่หลากหลายรูปแบบตามไปด้วย เตรียมความพร้อมในเรื่องของเหตุและปัจจัย เป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆ ที่คณะทำงานหรือทีมงานต้องมี ซึ่งการเตรียมความพร้อมดีเท่ากับมีชัยไปกว่าครึ่ง แน่นอนว่าทุกครั้งก่อนเริ่มการทำงานทีมงานจะต้องมีการประชุมวางแผน มีการเตรียมงานกับคณะทำงานทุกคนเพื่อลงรายละเอียด และเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างทำงาน นอกจากการวางแผนแล้ว การเตรียมความพร้อมยังรวมไปถึง ความพร้อมของศักยภาพในการทำงานของคณะทำงาน ความพร้อมด้านทรัพยากร ทุน และอื่นๆ ให้พร้อมกับการทำงาน ติดตามประเมินผล หลังจากการทำงานทุกกิจกรรม จำเป็นต้องมีการออกแบบการติดตามการทำงานและประเมินผล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโครงการที่ดีและมีศักยภาพ หรือตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากที่สุด