เมื่อความ “ยั่งยืน” คือคำตอบของทุกธุรกิจ
หากธุรกิจเป็นภาพยนตร์สักเรื่อง “องค์กร” และ “ลูกค้า” คงเป็นตัวละครนำที่ใครหลายคนนึกถึง โดยมีพล็อตง่ายๆ แค่หาเงินจากลูกค้าให้มากที่สุดโดยไม่สนวิธีการได้มาซึ่งกำไร แต่ด้วยบริบทโลกที่เปลี่ยนไป คำว่า “ลูกค้า” เริ่มขยายเป็น “ผู้มีส่วนได้เสีย” (Stakeholders) ไม่ว่าจะเป็นตัวลูกค้าเอง พนักงานในองค์กร เพื่อนร่วมงาน ชุมชน หรือแม้กระทั่งสิ่งแวดล้อม ธุรกิจยุคใหม่จึงมีส่วนเกี่ยวข้องและต้องมีความรับผิดชอบในวงกว้าง เกิดเป็นเทรนด์ธุรกิจยั่งยืน “Sustainable Business” หรือการดำเนินธุรกิจที่พัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เติบโตไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นแนวโน้มการดำเนินธุรกิจใหม่ที่องค์กรทั่วโลกต้องปรับตัวให้ทัน ก็นี่มัน 2018 แล้วนะ คำว่า ‘ธุรกิจที่ดี’ คงไม่ใช่แต่การวัดผลด้วยตัวเลขเพียงอย่างเดียว เดี๋ยวนี้เขาดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนกันแล้ว! Sustainable Business วิสัยทัศน์ร่วมกันระดับโลก ไม่ใช่จู่ๆ แนวคิด Sustainable Business จะโผล่ขึ้นมาเอง ของแบบนี้เกิดจากการสั่งสมปัญหามาตั้งแต่โบร่ำโบราณ โดยเฉพาะปัญหาจากระบบทุนนิยมสุดโต่งที่เน้นการเติบโตเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ กล่าวคือใครก็ตามที่กอบโกยผลประโยชน์มากที่สุดคือผู้ชนะ ทำให้องค์กรต่างๆ โนสนโนแคร์ว่าจะถลุงทรัพยากรมาเพื่อผลประโยชน์ตัวเองมากเท่าไหร่ ก่อนสภาวะโลกร้อนจะอุบัติแล้วย้อนกลับมาทำร้ายมนุษยชาติ ทุกคนจึงสะกิดเตือนภาคธุรกิจทั่วโลก (ในฐานะตัวการสำคัญ) ให้หันมาใส่ใจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกันได้แล้ว ไม่นานมานี้สมาชิกองค์การสหประชาชาติกว่า 193 ชาติก็ได้ประกาศเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน Sustainable Development Goals หรือ […]
ธุรกิจที่สังคมต้องการ
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (1 พ.ค.) หน่วยงาน Shared Value Initiative ที่เป็นความริเริ่มของ Foundation Strategy Group (FSG) องค์กรที่ปรึกษาไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งก่อตั้งโดย “ไมเคิล อี พอร์เตอร์” และ “มาร์ค เครเมอร์” ผู้ที่เป็นต้นตำรับแนวคิด CSV (Creating Shared Value) ได้จัดงาน Shared Value Leadership Summit ประจำปี 2018 ณ กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ขึ้นเป็นครั้งที่ 8 นับจากที่จัดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ.2011 หนึ่งในวิทยากรหลักในงานประจำปีนี้ ยังคงเป็น ไมเคิล อี พอร์เตอร์ ที่ขึ้นมากล่าวนำ ในหัวข้อ “Shared Value, Investors and Strategy” โดยพอร์เตอร์ระบุว่า ณ เวลานี้ คือ […]
My Opinion on the State of CSR?
State of global CSR. บทความคงามเห็น ที่น่าสนใจ หลายมุม ภาคธุรกิจกลับไปคิดต่อได้ ที่มา : https://www.linkedin.com/pulse/my-opinion-state-csr-wayne-visser One of the satisfying parts of my job is that I am often invited to enter into dialogue with students from around the world. Here is a recent Q&A with Naomi Dukaye, a student at Georgetown University, who wanted to know my opinion on […]
3 ตัวช่วยการพัฒนาบทบาทธุรกิจ ที่ตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย และการยอมรับจากสังคมอย่างยั่งยืน
ภาคธุรกิจมีทางเลือกเพิ่มขึ้นที่จะพัฒนาตนเองให้รับผิดชอบต่อสังคมที่ไม่ใช่เพียงการทำกิจกรรมเพื่อสังคม ไทยพัฒน์ เปิดสโตร์ความยั่งยืน ตอบโจทย์ บจ. น้ำดี ที่มา : http://www.thaicsr.com/2018/03/blog-post.html ชี้ช่องการพัฒนาบทบาทธุรกิจที่สังคมยอมรับ 27 มีนาคม 2561 – สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดตัว Sustainability Store หรือ ร้านค้าความยั่งยืน เสนอ 3 แนวทางการพัฒนาบทบาททางธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนที่ตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียและการยอมรับจากสังคมอย่างยั่งยืน นับจากที่สถาบันไทยพัฒน์ ดำรงบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมความยั่งยืนของกิจการ และการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านการวิจัย (Research) การฝึกอบรม (Training) และการให้คำปรึกษา (Consulting) แก่ภาคเอกชน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 เรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง จวบจนปัจจุบัน ในปี พ.ศ.2561 นี้ สถาบันไทยพัฒน์ ได้นำเครื่องมือและประสบการณ์ที่ได้มีส่วนในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกับองค์กรธุรกิจนานกว่า 17 ปี มาบรรจุไว้ในสามหมวดบริการหลัก ภายใต้ Sustainability Store ได้แก่ การจัดทำกรอบความยั่งยืน (S-Framework) การประเมินระดับความยั่งยืน (S-Score) และการวางกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งรายงานความยั่งยืน […]
Thailand CSR Trends 2018
Thailand CSR Trends 2018 ทิศทาง CSR ปี 2561 โดยสถาบันไทยพัฒน์ Thailand CSR Trends 2018 ทิศทาง CSR ปี 2561 โดยสถาบันไทยพัฒน์ โพสต์โดย Thai CSR เมื่อ วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2018
ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2..จะร่วมสร้างฝันของคนหนุ่มสาวจากความร่วมมือ
TheNETWORK Regeneration Challenges ตลอดชีวิตการทำงานของคนคนหนึ่งที่ผ่านการทำงานมากว่า 20 – 30 ปี คงจะต้องเผชิญสถานการณ์ ประสบเหตุการณ์ และ เรียนรู้การเปลี่ยนผ่านสังคมโดยคนหนุ่มสาวจากยุคเบบี้บูม เจน เอ็กซ์ จนถึงวันนี้ คือ เจน วาย หรือ เจนมี การเปลี่ยนผ่านสังคมในแต่ละยุคนั้น สำหรับภาคธุรกิจมีการตั้งรับได้ดีกว่าภาคส่วนอื่นๆ ในสังคม ด้วยเป็นองค์กรที่มีพลวัตสูงพร้อมกับมีทรัพยากรความรู้และทุนที่เพียงพอต่อการตั้งรับการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ภาคส่วนรัฐและภาคประชาสังคมนั้น การเรียนรู้การเปลี่ยนผ่านนั้นยังอยู่ในสภาวะการตั้งรับที่ออกจะเชื่องช้าด้วยความจำกัดของทรัพยากร และ ความไม่ยืดหยุ่นของการปรับเปลี่ยนนโยบายให้ทันยุคทันสมัย การก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 ของเดอะเนทเวิร์คก็เช่นกัน เราเรียนรู้ที่จะอยู่กับการเปลี่ยนผ่านของสังคมและต้องปีนขอบข้อจำกัดต่างๆ ที่มี เพื่อให้การก้าวไปสู่ศตวรรษที่ 2 ขององค์กรให้ตอบรับการเปลี่ยนแปลงของคนยุคสมัยถัดไป และเป็นแหล่งทรัพยากรทุนทั้งความรู้และความร่วมมือที่พร้อมจะเกื้อหนุนให้คนหนุ่มสาวเป็นพลังที่สรรค์สร้างสังคมอย่างไม่โดดเดี่ยวเพียงลำพัง จากบทความต่อไปนี้เราจะได้เห็นตัวอย่างของภาคธุรกิจตั้งรับกับการทำงานกับคนหนุ่มสาวของพวกเขาผ่านการทำงานกิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัทต่างๆ เพื่อจะกลับมาทบทวนว่า เราควรสร้างสภาพแวดล้อมอย่างไรที่จะสร้างบรรยากาศแห่งความร่วมมือให้กับคนหนุ่มสาวได้ การสร้างสังคมการทำงานที่เป็นสุขอย่างเท่าเทียมเป็นประเด็นที่องค์กรภาคธุรกิจให้ความสำคัญอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา หลายองค์กรได้เริ่มตระหนักและให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่เกี่ยวเนื่องกับสิทธิความเสมอภาคของพนักงานและบรรดาคนที่อยู่ในวงจรการผลิตและธุรกิจ สิทธิความเสมอภาค ดังกล่าวนี้มีความหมายรวมไปถึงการสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานทั้งในและนอกองค์กรและการให้เกียรติและความเท่าเทียมในสถานที่ทำงาน เพื่อให้ผู้ทำงานเกิดความสุขในการทำงานและชีวิต อันจะนำไปสู่การยกระดับและพัฒนาสังคมโดยรวมให้เกิดความสุข ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา บริษัทเอกชนไทยทั้งระดับเล็ก กลาง และใหญ่หลายแห่ง ได้จัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและศักยภาพชีวิตของพนักงาน สร้างสังคมที่เอื้อต่อการทำงานที่ดี และสร้างวงจรธุรกิจที่เป็นธรรม รวมถึงปรับเปลี่ยนหลักการทำ CSR […]
Is this Japanese concept the secret to a long, happy, meaningful life?
What’s your reason for getting up in the morning? Just trying to answer such a big question might make you want to crawl back into bed. If it does, the Japanese concept of ikigai could help. Originating from a country with one of the world’s oldest populations, the idea is becoming popular outside of Japan […]
SVOI เครื่องมือค้นหา “คุณค่าร่วม”
การให้ความช่วยเหลือที่เป็นกิจกรรมเพื่อสังคม หรือ CSR-after-process ในรูปของการบริจาคเพื่อการกุศลการให้เงินหรือวัตถุสิ่งของ หรือการอาสาสมัคร ถือเป็นจุดนำเข้าในกระบวนการทำงานร่วมกับชุมชนหรือผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มเป้าหมาย แต่ผลที่เกิดขึ้นจากการทำงานโดยอาศัยการให้เงินหรือวัตถุสิ่งของโดยลำพัง อาจเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะที่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากภายนอกตลอดเวลา หรือทำได้ชั่วครั้งชั่วคราว เนื่องจากเป็นงานอาสา โดยผลสะท้อนกลับอาจเกิดขึ้นในทางลบ หากการให้หรือความช่วยเหลือนั้นจำต้องยุติลงในวันหนึ่งวันใดข้างหน้า การหาแนวทางการให้ความช่วยเหลือเชิงกลยุทธ์ จึงเป็นทางเลือกที่ถูกพัฒนาขึ้น สำหรับองค์กรธุรกิจที่ต้องการผลสัมฤทธิ์ที่เป็นความยั่งยืนจากการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม โดยคำนึงถึงการประยุกต์ใช้ความถนัดความเชี่ยวชาญของหน่วยงาน และการใช้โครงข่ายธุรกิจสนับสนุนการทำงานของชุมชนหรือผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มเป้าหมาย ในลักษณะที่ก่อให้เกิดการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างธุรกิจและสังคมไปพร้อมกัน สำหรับหน่วยงานรัฐ มูลนิธิ หรือองค์กรสาธารณประโยชน์ ที่มีการดำเนินงานเพื่อสังคมตามภารกิจของหน่วยงานอยู่แล้ว ควรคำนึงถึงการใช้ทุนหรือทรัพยากรในการส่งมอบผลประโยชน์ให้ได้อย่างคุ้มค่า เพราะหากต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงกว่าประโยชน์ที่ส่งมอบ คุณค่าสุทธิที่สังคมได้รับจะติดลบ และสะท้อนให้เห็นถึงการขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ชุมชนหรือผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มเป้าหมายจะมีค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ในการได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นที่มีประสิทธิภาพกว่า การระบุโอกาสในการสร้างคุณค่าร่วม หรือ Shared Value Opportunity Identification (SVOI) มีจุดมุ่งหมายในการค้นหาประเด็นสำคัญที่สามารถนำมาดำเนินการตามแนวทางการสร้างคุณค่าร่วม และริเริ่มกิจกรรมซึ่งมีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อยอดตามแนวทางการสร้างคุณค่าร่วม วิธีการระบุโอกาสในการสร้างคุณค่าร่วม (SVOI) ประกอบด้วยกระบวนการใน 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ทบทวนรูปแบบการให้ความช่วยเหลือที่ดำเนินอยู่ หรือ Review Existing Investments (2) พัฒนาภูมิภาพของประเด็น หรือ Develop […]