CSR-CSV

Sep
23

BCG Model การกลับย้อนถอยหลังไป ในยุคที่ทรัพยากรมีจำกัด ในยุคหลังสงครามโลก

BCG Model คือการกลับย้อนถอยหลังไปในยุคที่ทรัพยากรมีจำกัดในยุคหลังสงครามโลก แต่เป้าหมายต่างกัน ยุคสมัยเก่า ไม่ทุกคนเข้าถึงทรัพยากรเพราะเทคโนโลยีผลิตของได้น้อย แต่ยุคศตวรรษที่ 21 ทรัพยากรมีน้อยไม่ใช่ผลิตน้อยแต่ทรัพยากรมีไม่เพียงพอกับปริมาณประชากรโลก และเทคโนโลยีทำให้การผลิตออกมาง่ายต้นทุนต่ำแต่คนใช้กันแบบโลภมากไม่ระมัดระวังเอาทรัพยากรในอนาคตเอามาใช้จนสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย จนต้องหมุนเวียนทรัพยกรกลับคืนสู่การผลิต (circular economy) การใขเสาร์เคมีมากจนทำให้ดินไม่ดำน้ำเสียจึงต้องหันมาสร้างเศรษฐกิจสีเขียวด้วยเกษตรอินทรีย์ (green economy) แต่จะทำเกษตรอินทรีย์อย่างเดียวโดยไม่เข้าใจวิทยาศาสตร์ของการเกษตร (bioeconomy) อาจจะทำ 2 แรกไม่สำเร็จ ทางการจึงต้องหาคำนิยามใหม่มาชวนกันคิดให้งงๆ แต่อย่างนานนะ ตั้งหลักได้ทำกันเลย  

By admin | CSR-CSV
DETAIL
Sep
22

วัดผลความยั่งยืนด้วย Return on Sustainability

โดยดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ก่อนอื่น ต้องขอแสดงความยินดีกับ 20 บริษัทจดทะเบียนไทย ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าอยู่ในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) ประจำปี 2562 ได้แก่ ADVANC, AOT, BANPU, BTS, CPALL, CPF, CPN, HMPRO, IRPC, IVL, KBANK, MINT, PTT, PTTEP, PTTGC, SCB, SCC, TOP, TRUE และ TU   ในปีนี้ มีบริษัทไทยที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประเมินจำนวน 36 แห่ง มีบริษัทที่ตอบรับเข้าร่วมการประเมิน จำนวน 28 แห่ง และมีบริษัทที่ไม่ได้ตอบรับเข้าร่วมการประเมินอยู่ 8 แห่ง หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22ทั้งนี้ การได้เข้าเป็นสมาชิกในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ จะพิจารณาจากข้อมูลที่บริษัทตอบแบบสอบถามในด้านความยั่งยืนที่บริษัทดำเนินการ ซึ่งหมายความว่า ปัจจัยสำคัญ 2 […]

By admin | CSR-CSV
DETAIL
Sep
20

การสร้างแพลตฟอร์มนวัตกรรมสังคมในพื้นที่ขัดแย้ง กรณีศึกษาจากแคว้นบาสก์

[LIVE] คุณเชื่อหรือเปล่าว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปได้? “การสร้างแพลตฟอร์มนวัตกรรมสังคมในพื้นที่ขัดแย้ง: กรณีศึกษาจากแคว้นบาสก์ ” โดย Gorka Espiau ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมสังคม การจัดการความขัดแย้ง และการพัฒนามนุษย์อย่างยั่งยืน Do you believe that change is possible? “How to Build Social Innovation Platforms in Conflict Areas: The Basque Experience” by Gorka Espiau – social innovation, conflict management, and sustainable human development specialist, and a Senior Fellow at the Agirre Lehendakaria Center for Social and […]

By admin | CSR-CSV
DETAIL
Aug
29

กรุงเทพฯ กับปัญหาขยะล้นเมือง

หากจะอธิบายให้เห็นภาพว่าปริมาณขยะในกรุงเทพฯ มีมากเพียงใด ก็เทียบได้กับช้าง 2,105 ตัวบุกเข้ามาในกรุงเทพฯ ทุกวัน ตอกย้ำว่ากรุงเทพมหานคร ยังไม่สามารถลดปริมาณขยะได้ตามเป้าหมาย และคาดว่าปี 2573 ขยะจะเพิ่มเป็น 1.5 ตันต่อวัน คนกรุงสร้างขยะมากเป็นประวัติการณ์ กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นต่อวันมากที่สุดของประเทศไทย จากข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอย โดยสำนักสิ่งแวดล้อม ระบุว่าในปีงบประมาณ 2561 (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – เดือนเมษายน 2561) จัดเก็บขยะมูลฝอย 2.23 ล้านตัน เฉลี่ยวันละ 10,525 ตัน นับว่าสูงที่สุดในรอบ 8 ปีเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งปริมาณขยะใน กทม. มีแนวโน้มมากขึ้น เนื่องมาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของเมืองในเขตชั้นนอกและชั้นใน โดยเฉพาะพื้นที่ใกล้เส้นทางรถไฟฟ้า และการเพิ่มจำนวนของผู้คนที่เข้ามาทำงานไปจนถึงนักท่องเที่ยว โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คาดการณ์ว่าในปี 2559 คนกรุงเทพฯ ผลิตขยะเฉลี่ยคนละ 1.2 กก./วัน และในปี 2573 จะผลิตขยะรวมกัน 15,029 ตัน/วัน ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อความต้องการใช้ทรัพยากรและงบประมาณที่มากขึ้น อนาคตเมืองปลอดขยะ? ในขณะที่เป็นช่วงที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการจัดการขยะ […]

By admin | CSR-CSV
DETAIL
Aug
22

สถานการณ์มนุษย์ในโลก ที่ต้องเผชิญความร้อนที่เพิ่มขึ้น

สถานการณ์มนุษย์ในโลก ที่ได้พยายามกอบโกยและใช้ทรัพยากรที่ก่อกำเนิดตัวเองอย่างไม่รู้ประสา ว่ามีแม่เป็นแผ่นดิน มีพ่อเป็นธรรมชาติ กำลังนำเราเข้าสู่ภัยพิบัติถาวรที่มนุษย์จะกระโดดหนีออกจากหม้อต้มกบไม่มีทางทัน วันนี้มนุษย์บนโลกจะเลือกใช้ชีวิตที่กลับมาคืนความกตัญญูต่อพ่อแม่นี้อย่างไร เราเคยเอาชนะธรรมชาติได้มาตลอด เราจะชนะการตอบแทนคุณแผ่นดินและธรรมชาติได้ถ้าความตั้งใจของคนทั้งโลกร่วมมือร่วมไม้กันอย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่แอมะซอนที่ร้อนระอุ! แผนที่ NASA โชว์สถานการณ์ “#โลกกำลังไหม้!” ไฟป่าครอบคลุมหลายพื้นที่ทั่วโลกแบบ Real Time | มันเกิดอะไรขึ้น?! • รู้หรือไม่!? กว่า 85%-90% ของไฟป่า “เป็นฝีมือมนุษย์!” อทิ จากการลอบวางเพลิง ก้นบุหรี่ ประกายไฟอุปกรณ์ การเผาเพื่อทำการเกษตร ปศุสัตว์ เผาขยะ แม้กระทั่งการผลกระทบจากภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน • FIRMS (Fire Information for Resouce Management System) ของ NASA คือระบบแสดงจุดสถานการณ์ไฟป่ารอบโลก ตามเวลาจริงโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม • โดยจุดแดงคือจุดที่ระบบ FIRMS ของ NASA จับสัญญาณความร้อนที่เป็นลักษณะเพลิงไหม้ • ภาพนี้เป็นภาพแสดงสถานการณ์ไฟป่าทั่วโลก 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา (นับจากเวลาประมาณ […]

By admin | CSR-CSV
DETAIL
Aug
17

ความแตกต่างของ การประเมินผลลัพธ์การทำงาน ภาคธุรกิจกับภาคประสังคมและรัฐ

ภาคธุรกิจกับภาคประสังคมและรัฐต่างกันตรงนี้ คือการประเมินผลลัพธ์การทำงาน ภาคธุรกิจทำงานหากไม่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ต่อผลผลิตและการบริการของตัวเอง ผลลัพธ์คือบริษัทขาดทุน รายได้ตกต่ำ ผลประกอบการไม่ดี ผลกระทบคือปิดกิจการ ภาคประชาสังคม และภาครัฐ ทุนที่ได้มาหากจิตมิได้มีเป้าแห่งชีวิตที่สูงมากพอ ไม่ใช้พลังกายพลังจิตและพลังปัญญา การพัฒนาก็แค่ได้ทำเสร็จแต่ไม่สำเร็จ ประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล อาจเป็นยาขมของ 2 ภาคส่วนนี้ มาทำความเข้าใจใหม่กันเถอะ ว่า ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบคืออะไร ขอบคุณงานบันดาลใจให้คำอธิบายและทำภาพที่เข้าใจง่ายมาให้อ่าน ผลลัพธ์อยู่หนใดตอนที่ 1 การทำโครงการใดๆ ก็ตามในโลกนี้หรือโลกหน้า ย่อมมีวัตถุประสงค์สำคัญคือต้องการผลลัพธ์ แต่ปัญหาสำคัญคือ “ทำไมเราไปไม่ถึงผลลัพธ์กันเสียที?” แน่นอนว่าปัญหานี้ต้องอาศัยการมองเชิงระบบของทั้งโครงการ แต่มากไปกว่านั้นคือ เราเข้าใจความหมายของคำว่า “ผลลัพธ์” หรือยัง เอาเข้าจริงๆ แล้สผลลัพธ์ หรือ outcome นั้นยังมีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันอีกหลายผล ที่ต่างก็เป็นลูกของ “ผลลัมฤทธิ์” หรือ Result ลูกคนเล็กคือ ผลผลิต Output : หรือสิ่งที่ได้จากการดำเนินโครงการ เช่น • Product […]

By admin | CSR-CSV
DETAIL
Jul
31

กุ้ง หอย ปู ปลา ไซส์ไหนที่ควรกิน

เร็วๆนี้หลายคนคงได้ยินข่าววิกฤติปลาทูไทยจากอาหารคู่ครัวกลายเป็นของกินที่เริ่มหายากและมีราคาแพง อันเป็นผลมาจากการจับลูกปลาทูมากินกันอย่างแพร่หลาย จนเริ่มกลัวกันว่าปลาทูไทยกำลังจะหมดทะเล ความจริงเรื่องการทำประมงเกินขนาดหรือการประมงที่ไม่ยั่งยืนนับเป็นปัญหาคุกคามสมดุลของระบบนิเวศทางทะเลที่วิกฤติยิ่งกว่าขยะพลาสติกเสียอีก การประเมินประชากรปลาทะเลทั่วโลกพบว่าเกือบ 90% ถูกจับมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่หรือจับกันจนเกินขนาดไปเรียบร้อยแล้ว ทำให้สัตว์น้ำไม่สามารถทดแทนประชากรได้ทัน ทั้งจากเครื่องมือผิดกฎหมาย เครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพจนนำไปสู่การจับเกินขนาด และการจับสัตว์น้ำวัยอ่อน ผลกระทบของการจับปลาเกินขนาดนำไปสู่การเสื่อมโทรมของระบบนิเวศทั่วโลก เพราะปลาเป็นกลไกสำคัญในการถ่ายทอดพลังงานและรักษาสมดุลของระบบนิเวศเช่นเดียวกับสัตว์ป่าในป่า . การส่งเสริมการบริโภคอาหารทะเลยั่งยืนจึงนับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากๆ และผู้บริโภคเองมีบทบาทสำคัญในการไม่สนับสนุนสัตว์น้ำที่ไม่ได้ขนาด การปล่อยให้สัตว์น้ำได้โตเต็มวัยจนมีโอกาสได้ผสมพันธุ์เป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยให้สัตว์น้ำสามารถทดแทนประชากรที่ถูกจับมาได้ทัน อาหารหลายอย่างที่มีการส่งเสริมกันเช่นลูกปลาทู ปูไข่ หมึกไข่ เป็นค่านิยมที่ทำให้มีการจับสัตว์น้ำวัยอ่อน และสัตว์น้ำที่อยู่ในช่วงที่กำลังขยายพันธุ์ หากปล่อยให้สัตว์น้ำเหล่านี้โตได้ขนาด จะเป็นการเพิ่มมูลค่ามหาศาล และเท่ากับเป็นการอนุรักษ์ทะเลไทยไปในตัว หากไม่ช่วยกันส่งเสริมการบริโภคอาหารทะเลอย่างรับผิดชอบ และยังปล่อยขยะออกสู่ทะเลปีละหลายพันล้านตัน ก็ไม่แปลกที่จะมีขยะพลาสติกในทะเลมากกว่าปลารวมกันทั้งมหาสมุทรในไม่อีกกี่สิบปีข้างหน้า ?? ภาพโดย Infographic Move ป.ล. นอกเหนือจากสัตว์น้ำในภาพ ขอเพิ่ม หอยชักตีน อีกหนึ่งชนิด ขนาดที่แนะนำให้มีการนำมาบริโภคได้คือไม่ควรต่ำกว่า 6 ซม. ถ้าเล็กกว่านี้ควรปล่อยลงทะเลนาจา

By admin | CSR-CSV
DETAIL
Jul
05

ปัญหาสิ่งแวดล้อม และ คุณภาพชีวิตของคนเมือง

ปัญหาสิ่งแวดล้อม และ คุณภาพชีวิตของคนเมือง ยังไม่อยู่ในสายตาของคนเมือง เพราะ มีมายาคติทั้งในกลุ่มนักพัฒนาทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น SE คนทำงานด้านการพัฒนาชุมชน และ ภาครัฐ คิดว่า ชีวิตนี้คือต้องเดินบนฐานของการอยู่ได้ทางเศรษฐกิจเท่านั้น ดังนั้นต่างคนต่างคิดว่าการดำเนินชีวิตสู่การสร้างฐานะตัวเองทางเศรษฐกิจ เอาตัวรอดแค่จะอยู่ตามสิ่งที่โลกเศรษฐกิจที่ต่างคนต่างลืมชีวิตอีกด้านที่พวกเขาต้องการ จนนำไปสู่ความซึมเศร้า การไร้ความอดทน การสาดเสียด้วยการพูด เขียน และ โพส คำรุนแรงของสังคม สัญญาณชีวิตของเมือง ผ่านความรุนแรงของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ความรุนแรงของอารมณ์ของคนในสังคม การแข่งขันกันจนไม่รู้ว่าชีวิตนี้คืออะไร ยังคงไม่ดังมากพอ ที่คนในเมืองทุกชนชั้นจะลุกขึ้นมาสนใจ และ สังเกตสัญญาณชีวิตของเมืองที่ส่งเสียงค่อยๆ อยู่วันนี้ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ตั้งแต่ 28-29 มิถุนายนถึงวันนี้ มีงานสัมมนาที่สำคัญในประเทศไทย อยู่ถึง 3 งาน 28 มิถุนายน “GC Circular Living Symposium” ด้วยพยายามจะชวนคนที่เข้าร่วมที่มาจากภาคเอกชน และ ภาคการศึกษาถึง 1600 คน ชวนกัน หาวิธีการที่จะ หมุนเวียน ผลผลิตที่เหลือใช้ หรือ […]

By admin | CSR-CSV
DETAIL