สาระของ “การให้” ในวันที่…ลมหนาวมาเยือน
แหล่งที่มา: ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 07 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4164 หน้า 30 หรือ http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02csr03071252§ionid=0221&day=2009-12-07 แม้ จะยังคงเป็นวิวาทะระหว่าง ค่ายคิดที่มองว่า เพียงการบริจาคและการให้ไม่ได้เหมารวมว่า CSR ในขณะที่บางองค์กรมองว่า การให้และการบริจาคถือเป็นหนึ่งในความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ซึ่งหากมองในระดับ CSR ในเชิงกลยุทธ์รวมไปถึง การจัดสรรงบประมาณจะเห็นได้ว่า องค์กรธุรกิจที่แม้ว่าจะพยายามหันไปดำเนินโครงการเพื่อสังคมที่ยั่งยืนมาก ขึ้น หากแต่ในเวลาเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับการจัดสรรงบประมาณสำหรับ “การให้” และ “การบริจาค” อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดภัยพิบัติ เช่นเดียวกับ “ภัยหนาว” ที่ผู้คน ในหลายจังหวัดของประเทศกำลัง ประสบ สำหรับคนเมือง นี่คืออากาศที่ทุกคนอยากสัมผัส แต่สำหรับผู้คนในถิ่นกันดารห่างไกลที่อุณหภูมิต่ำจัดและขาดแคลนเครื่องกัน หนาว ทุกหน้าหนาว นั่นคือ ความทรมาน ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน การระดมสิ่งของขององค์กรธุรกิจผ่านสารพัดกิจกรรมเพื่อนำไปบริจาคให้กับผู้คน ที่ประสบภัยหนาวจึงปรากฏให้เห็นจนชินตาเช่นหลายปีที่ผ่านมา เพียงแต่ที่น่าสนใจก็คือ ในปีนี้แม้กิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวจะเป็นเพียง “การให้” และ “การบริจาค” แต่จะเห็นได้ถึงความเปลี่ยนไปของเนื้อหาสาระ […]
CSR ที่ยั่งยืน : โมเดลแห่งความร่วมมือ
CSR ที่ยั่งยืน : โมเดลแห่งความร่วมมือ โดย ดร.พรชัย ศรีประไพ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ อิมพีเรียลเวิลด์ กรรมการ มูลนิธิรักษ์ไทย ที่มา: คอลัมน์ CSR TALK ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 16 และ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 33 และ 35 ฉบับที่ 4158 และ 4160 1. http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02csr02231152§ionid=0221&day=2009-11-23 2. http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02csr02161152§ionid=0221&day=2009-11-16 ผม ได้รับเชิญจากมูลนิธิรักษ์ไทยให้ไปเป็นกรรมการตัดสินการประกวดผลงานการ แข่งขันเกี่ยวกับโครงการ CSR ที่มูลนิธิจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยได้รู้จักแนวคิด CSR และรู้จักที่จะสร้างโครงการ CSR เพื่อเสริมคุณค่าให้กับ สังคม จากการเข้าไปทำงานร่วมกับทีมงาน นักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาบางท่าน ทำให้เห็นว่าความเข้าใจของนักศึกษา เกี่ยวกับ CSR อยู่ที่ “การช่วยเหลือสังคม” มากกว่าการที่จะช่วยกระตุ้นองค์กรหรือสถาบันให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับ บทบาทของตนในสังคม และเข้ามามีส่วนร่วมที่จะช่วยสังคมอย่างจริงจัง […]
การพัฒนา CSR ในประเทศไทยและบทบาทอาสาสมัคร
สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นดีพี (UNDP) และ โครงการอาสาสมัครแห่งสหประชาชาติ หรือ UNV ประเทศไทย มองเห็นโอกาสในการทำงานกับภาคธุรกิจผ่านการทำกิจกรรม CSR ของภาคธุรกิจ ซึ่งการร่วมมือครั้งนี้เป็นการร่วมมือที่ทั้ง UNDPและธุรกิจได้ประโยชน์ร่วมกัน งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาCSR ในประเทศไทยชิ้นนี้ค้นพบได้ข้อสรุป 4 ข้อ คือ หนึ่ง ในขณะที่ธุรกิจไทยกำลังเผชิญความยากลำบากในการทำ CSR ที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนท่ามกลางภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นแต่กระแสการพัฒนา CSR ในระดับโลก มุ่งสู่การสร้างความเข้มแข็งในการสร้างคุณค่าทางสังคมที่ธุรกิจมีต่อชุมชนและสังคม สองข้อจำกัดสำหรับรัฐบาลไทยต่อการพัฒนา CSR ใน ประเทศไทยคือ ไม่ปรากฏหน่วยงานราชการไทยที่จะทำหน้าที่ประสานความร่วมมือในการส่งเสริมตาม วาระการพัฒนาขององค์กรตนเอง สาม กระแสการพัฒนา CSR และการพัฒนาอาสาสมัครในประเทศไทย มีแนวโน้มที่ดีต่อแนวทางการพัฒนาของ UNDP และแนวทางการส่งเสริมเรื่องอาสาสมัครของ UNV และสี่ การรับรู้เรื่องหลักการสัญญาโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) ในประเทศไทยยังมีน้อย อ่านเพิ่มเติม บทสรุปภาษาไทย บทสรุปภาษาอังกฤษ
ทัศนะแนวทาง: ฐานรากความร่วมมือ
“มุมมองความร่วมมือสร้างกรุงเทพฯเมืองน่าอยู่” บทสัมภาษณ์ รศ.ดร.ประกอบ จิรกิติ รองผู้ว่าฯกรุงเทพฯ “พลังการมีส่วนร่วมและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ อ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม, อ.ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ และุคุณชาญชัย พินทุเสน “ต้นธารแห่งความร่วมมือ” โดย อภิชา คุณวันนา(เดอะเนทเวิร์ค ประเทศไทย) “มองต่างมุม มุมต่างมอง ความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม” บทสัมภาษณ์ นพ.ธิติวัฒน์ ประชาดำรงพิวัฒน์ บทความน่าสนใจ “กระบวนการสื่อสารในการสร้างความร่วมมือด้านเสิ่งแวดล้อมขององค์กรภาคธุรกิจ และองค์กรพัฒนาเอกชน” โดย อภิชา คุณวันนา (บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ) “คุยกับมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลก” โดย วิไล ตระกูลสิน(แปลและเรียบเรียง) “โลกร้อน เย็นธรรม” โดย พระไพศาล วิสาโล “บุญฤทธิ์ มหามนตรี : ขับเคลื่อนธุรกิจด้วย องค์กรคนดี” โดย กรุงเทพธุรกิจ
รายงานจากเวทีราชวิถีฟอรั่มครั้งที่ 3 “โรงเรียน พ่อแม่…เลี้ยงลูกด้วยจิตตื่นรู้”
“โรงเรียนพ่อแม่…เลี้ยงลูกด้วยจิตตื่นรู้” เป็นการ เรียนรู้วิธีสื่อสารกับลูกอย่างสร้างสรรค์ ฟังอย่างไรให้ลูกพูด พูดอย่างไรให้ลูกฟัง สื่อสารอย่างไร จึง จะเป็นการส่งเสริมไห้ลูกเกิดความรู้สึกด้านบวกกับตนเองและเป็นเจ้าของความ คิดนั้น การสร้างวินัยจากภายใน การสร้างนิสัยรักการเรียนรู้ การบ่มเพาะความมั่นใจในตนเอง และความกล้าหาญ การดูแลภาวะอารมณ์ และทักษะด้านความสัมพันธ์ของลูก ซึ่งล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ ของการ เลี้ยงลูกด้วยจิตตื่นรู้นี้เจริญงอกงาม เพื่อให้สิ่งที่เรารู้ การกระทำ และการเป็นของเรา กระบวนการเรียนรู้ด้วยสุนทรียสนทนา(วอยซ์ไดอะลอค) การมีความตื่นรู้มากขึ้น มีสติมากขึ้น และความตั้งใจต่อการเลี้ยงลูกอย่างเข้าใจ,อ่านเพิ่มเติม
รายงานจากเวทีราชวิถีฟอรั่มครั้งที่ 2 “The Siam Youth Forum
พลังของเด็กและเยาวชนที่เป็นกำลังสำคัญของชาติได้มีการร่วมกันทำกิจกรรมดีๆ เพื่อสังคมตามประเด็นที่ตนเอง สนใจ เช่น เรื่องจิตอาสา การให้เพื่อสังคม หน้าที่พลเมือง เรื่องเอดส์และเพศศึกษา ดังเช่น กลุ่มคณะทำงาน The Siam Youth ที่เป็นการรวมตัวกันของกลุ่ม/องค์กรเด็กและเยาวชนที่ทำงานเพื่อสังคมกว่า 9 องค์กร มาบอกเล่ากิจกรรมทำดี พร้อมกับการแลกเปลี่ยนรู้กัน พร้อมทั้งคำแนะนำและการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ใจดีทั้งภาคธุรกิจ เช่น ไมเนอร์, ธนาคารไทยพาณิชย์,ฮอนด้า เป็นต้น และภาคประชาสังคม และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ร่วมมือกันผลักดันพลังของเด็กและเยาวชนในการทำงานเพื่อสังคมต่อไป,อ่านเพิ่ม
รายงานจากเวทีราชวิถีฟอรั่มครั้งที่ 1 “สังคมสร้างสรรค์ด้วยกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดอย่างไร
“สังคมสร้างสรรค์ด้วยกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดอย่างไร?” โดย The NETWORK เวทีราชวิถีฟอรั่มครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2551 เป็นเวทีการสร้างสรรค์สังคมด้วยกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด ได้มีการกล่าวถึง สถานการณ์การตลาดในสังคมไทยที่อยู่ในกระแสการให้ความสำคัญกับความดีงาม เรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR เพราะความแตกต่างของผู้ผลิตที่มีความแตกต่างกันแต่สิ่งที่เหมือนกันคือ ความรับผิดชอบต่อสังคม กลยุทธ์การสื่อสารเข้ามาเกี่ยวข้องและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคนไทย โดยเฉพาะพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน จากกรณีศึกษาโครงการตาวิเศษ ของสมาคมสร้างสรรค์ไทย ได้มีการนำเอากลยุทธ์การตลาดเพื่อสังคมมาให้ในการรณรงค์เพื่อการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมของคนไทยในการรักษาความสะอาด เพราะพฤติกรรมเป็นเรื่องที่เกิดจากภายในตัวเองการจูงใจให้เกิดการเปลี่ยน แปลง ราชวิถีฟอรั่มจึงเป็นเวทีที่ทำให้นักวิชาการสื่อสาร นักการตลาด นักปฏิบัติ และสื่อมวลชนได้มาพูดคุยกันถึงการใช้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดอย่างสร้าง สรรค์สังคม,อ่านเพิ่มเติม
ความเคลื่อนไหวความร่วมมือ : ด้านเด็กและเยาวชน
August 2009 ต่อยอดการพัฒนาชุมชนกับความร่วมมือของสหทัยมูลนิธิกับสวิฟท์: ตอนนี้การพัฒนาความร่วมมือ ระหว่างสหทัยมูลนิธิและบริษัท สวิฟท์ จำกัด กำลังเริ่มต้นขึ้นอีกขั้น จากการเตรียมพร้อมพลังความคิดและข้อมูลของสหทัยมูลนิธิเพื่อพัฒนาพื้นที่การ เกษตรอินทรีย์อันจะเป็นแนวทางหนึ่งเพื่อความมั่งคงทางรายได้และความมั่นทาง อาหารกาย ใจ อย่างมีความสุขของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ระนอง พังงา แล้วต้นธารฯ จะรายงานให้ทราบถึงความก้าวหน้าของความร่วมมือนี้นะคะ จุดเริ่มต้นร่วมผลักดัน Give & Take Campaign : สถานการณ์สังคมไทยที่มีปัญหานั้นยังมีผู้ต้องการความช่วยเหลือมากมาย อาจจะพอๆกับความต้องการที่จะให้ของผู้ที่พร้อมทั้งทุนทรัพย์และทรัพยากร เดอะเนทเวิร์คพร้อมกับเครือข่ายภาคีกำลังเริ่มต้น Give & Take Campaign เพื่อร่วมสร้างพื้นที่ที่จะทำให้ผู้ให้และผู้รับสร้างสรรค์สังคมไทยให้เกิด การพัฒนาที่ยั่งยืน ….โปรดติดตาม..เร็วๆนี้!! Jun 2009 ย่างก้าวของความร่วมมือ : ไพรสวอเตอร์เฮาส์คูเปอส กับ มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์: เรื่องราวความร่วมมือระหว่าง บริษัท ไพรสวอเตอร์เฮาส์คูเปอส กับมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ ที่ก่อนหน้านี้อยู่ระหว่างการทำความรู้จักและเชื่อมโยงผ่านแม่สื่ออย่างเดอะเนทเวิร์ค ขณะนี้ทั้งคู่ได้พบปะทำความรู้จักกันเป็นที่รียบร้อย โดยมีเดอะเนทเวิร์คคอยเป็นสะพานเชื่อมอยู่ระหว่างทาง จากนี้ทั้งคู่กำลังเดินสู่ก้าวที่สองในการทำความรู้จักกันของการร่วมเดินทางบทความร่วมมือเพื่อพัฒนาเทคนิคบริหารการเงินและการบัญชี ที่จะนำไปสู่การอธิบายถึงคำว่าประสิทธิภาพของการบริหารองค์กรพัฒนาเอกชนได้มากขึ้น กิจกรรมเป็นการทำงานผ่านอาสาสมัครพนักงานของบริษัทPWC เป็นระยะเวลา 1 ปี คู่ปิ๊งที่คุ้มค่าต้องมาเป็นขบวน:-ขบวนที่ว่าคือ ภาคีเดอะเนทเวิร์คกลุ่มเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ […]