CSR จากวงน้ำชา
จาก Web bord วงน้ำชา คนที่งานไม่ว่าจะเป็นงานอะไร อยู่องค์กรไหน หากไม่มีความภาคภูมิใจใจงานก็ยากที่จะคงความมีชีวิตชีวาได้อย่างต่อเนื่อง ความภาคภูมิใจในงานที่ทำน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราใส่ใจ ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ กำลังสมองได้อย่างเต็มที่ สัปดาห์ที่แล้วมีคนพูดให้ฟังว่า ถูกเพื่อนที่ทำงานให้ NGO พูดจาประชดประชันเพราะมารับงานให้กับธุรกิจภาคเอกชน คำพูดหนึ่งที่ได้ยินแล้วรู้สึกสะดุดคือ คำว่า “รับใช้นายทุน” เพราะฟังดูแล้วออกจะไปในทางลบพอสมควร แต่ก็ต้องยอมรับสภาพเพราะธุรกิจเอกชน มักถูกมองว่าเป็นผู้แสวงหากำไร เป็นผู้พัฒนาหรือนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ทำให้เสียสมดุลโลก และสังคม จะพ้นข้อกล่าวหาดังกล่าวได้ องค์กรคงต้องพิสูจน์ให้เห็นคุณค่าของการดำรงอยู่ของตน วันนี้ที่บริษัทของเรามีการสัมมนากันในหัวข้อ “ธุรกิจควรมีบทบาทอย่างไรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม” โดยเชิญผู้ที่ทำงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมาเป็นผู้ให้มุมมอง ส่วนผู้ฟังก็เป็นผู้บริหารระดับสูงตั้งแต่เบอร์หนึ่งขององค์กรลงมา รวมทั้งสิ้นประมาณ 200 คน ก่อนเริ่มงาน CEO ผู้น่ารักของเราก็ได้เกริ่นนำถึงความสำคัญของการรับฟังด้วยใจที่เป็นกลางและ เน้นย้ำว่านี่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเราได้เข้าสู่ช่วงของการเปลี่ยนผ่านจากยุค Customer Centric มาเป็น People Centric คือต้องคิดถึงคนบนโลกทุกคนด้วย ถึงแม้จะทำสินค้าคุณภาพดี ต้นทุนต่ำ ตอบสนองลูกค้าที่ต้องการสินค้าได้เป็นอย่างดี แต่หากไปสร้างปัญหากัุมชุมชนหรือสร้างมลภาวะทำลายทรัพยากรของโลก ก็ไม่อาจทำธุรกจิได้ ฟังแล้วก็สบายใจว่าองค์กรของเราก็ไม่ได้มุ่งเพียงการแสวงหากำไรอย่างเดียว แน่นอน ความคาดหวังของแขกรับเชิญที่เหมือนเป็นการตอกย้ำ (กับบรรดาผู้บริหารทั้งหลาย) ว่าสิ่งที่เรากำลังทำกันในองค์กรนั้นเป็นเรื่องจำเป็นคือ ในฐานะที่เป็นองค์กรใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมมา อย่งต่อเนื่อง […]
บทบาท Stakeholder ในกระบวนการสื่อสาร (Creating Social Value Chain Series)
เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และปัจจุบัน CSR ได้กลายเป็นหนึ่งในกลยุทธ์องค์กร จำนวนมากไปแล้ว ที่ต้องขีดเส้นใต้คำว่ากลยุทธ์ก็เพราะในอดีต CSR อาจเป็นเพียงกิจกรรมเสริมเช่น การร่วมกันทำบุญประจำปี หรือวิธีรวมใจยามที่องค์กรออกไปประชุมต่างถิ่น แต่ตอนนี้ CSR ได้กลายเป็นกลยุทธ์ที่ส่งผลสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ บ้างก็มองเป็นเครื่องมือสร้างภาพลักษณ์ โดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ บ้างก็มองเป็นเครื่องมือสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า หากจะวิเคราะห์แนวโน้มเส้นทางการทำ CSR จะพบว่า เป็นไปในทิศของการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholder Engagement) มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกับพนักงาน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า หุ้นส่วนธุรกิจ หรือ NGO ด้วยเหตุผลว่าเป็นหนทางสร้างความยั่งยืนมากกว่าจากอดีตที่ทำแบบม้วนเดียวจบ ชนิดถือเป็นแค่กิจกรรมประจำงาน ปัจจุบันนี้พบว่า CSR มีความต่อเนื่องมากขึ้น อย่างการเลือกประเด็นใดประเด็นหนึ่งแล้วทำต่อ หรือการสร้างเป็นโครงการวัดผลได้เป็นช่วงๆ เหล่านี้ย่อมก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กับผู้เกี่ยวข้องมากขึ้นและเหนียวแน่น ขึ้นตามไปด้วย บทบาทของผู้เกี่ยวข้องต่อองค์กรโดยเฉพาะในเชิงกลยุทธ์ CSR มีมากมาย ถ้าจะมองเจาะที่กระบวนการสื่อสาร อาจแบ่งออกได้เป็น บทบาทผู้ส่งสาร (Sender) สารข้อมูล (Message) ผู้รับสาร (Receiver) และช่องทาง (Channel) เริ่มจากในส่วนแรกคือบทบาทผู้ส่งสาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจทำงานร่วมกับองค์กรในการผลักดันข้อมูลประเด็นสำคัญ ไปสู่ผู้รับเช่น ลูกค้าประชาชน […]
ไขกลไก Stakeholder Engagement
ไขกลไก Stakeholder Engagement โดย ผศ. ดร. กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ : ที่ปรึกษาเดอะเนทเวิร์ค(ประเทศไทย) Stakeholder Engagement เป็นเรื่องสำคัญที่พูดกันมานานแต่ทำกันได้จริงเท่าไรยังไม่แน่ใจเหมือนกัน อย่างไรก็ดี ตัวอย่างการประสบความสำเร็จมีให้เห็นกันอยู่บ้าง เช่นความร่วมมือของเกษตรกรในการจัดตั้งสหกรณ์ที่สวิตเซอร์แลนด์จนกลายเป็น ผู้ประกอบการค้าปลีกอันดับ 2 ในประเทศ มีสมาชิกมากกว่า 2 ล้านคน และสามารถขยายตลาดไปบุกต่างประเทศ มียอดขายมากกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หาก จะแกะดูกลไกเพื่อสร้างความมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง อาจพอสังเคราะห์ออกมาได้เป็น 3 ส่วนคือ 1) Exposure ได้แก่ การเปิดรับพิจารณาทางเลือกหลากหลายด้าน 2) Dialogue ได้แก่ การสร้างบทสนทนาแบบปะทะสังสรรค์ทั้งกับตัวเองและผู้อื่น และ 3) Adoption ได้แก่ การเลือกรับ ทดลอง และขยายผล Exposure คือ การเปิดมุมมองของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ได้พบและพิจารณาประเด็นแบบครบทุก แง่มุมก่อนตัดสินใจมีส่วนร่วม กระบวนการนี้ในอดีตถูกละเลยเพราะหลายคนมักเหมารวมไปเลยว่าโครงการดีๆ น่าจะไม่มีใครคัดค้าน เลยไม่ให้ความสำคัญกับการสร้างความหลากหลาย เหมือนเรียกเพื่อนร่วมทำบุญกัน บางคนว่าไม่เห็นน่าจะทำให้มากเรื่อง […]
CSR VS ธุรกิจกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในแต่อดีตที่ผ่านมา หน้าที่การดูแลสังคมเป็นหน้าที่ของภาครัฐ, NGO และนักวิชาการ ในขณะที่ภาคธุรกิจก็มีบทบาทในการสร้างกิจกรรมที่ขับเคลื่อนโลกทั้งใบ สร้างประโยชน์บ้าง สร้างปัญหาบ้าง จนวันหนึ่งในปี 1999 นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติในขณะนั้นกล่าวว่า “องค์กรธุรกิจจะเป็นประชาชนที่ดีคนหนึ่งของโลก” จากช่วงเวลานั้นจนถึงวันนี้ บทบาทความรับผิดชอบต่อสังคม ก็กลายเป็นอีกบทบาทหนึ่งของภาคธุรกิจภายใต้ชื่อ Corporate Social Responsibility (CSR) ซึ่งจากการฉายภาพย้อนกลับก็จะพบพัฒนาการของ CSR ซึ่งองค์กรบางแห่งก็ขับเคลื่อน CSR ตามทฤษฏี บางแห่งก็ดำเนิน CSR ตามกระแสโลก บางแห่งก็ใช้ CSR เป็น Marketing Communication Tools จนวันหนึ่งก็เกิดคำถามขึ้นว่า จริงๆ แล้ว CSR ควรทำอย่างไรจึงจะสร้างคุณค่าให้กับสังคมได้สุงสุด, ทำ CSR แล้วองค์กรธุรกิจเข้มแข็งขึ้นจริงหรือ, แล้วในปี 2553 ควรตั้งเป้าและดำเนินกิจกรรม CSR ไปในทิศทางไหนจึงจะเหมาะสมและเกิดคุณค่าสูงสุด ตรงนี้เรามีเนื้อหาจากการอบรม “กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว(White Ocean Strategy)” โดยคุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย เวทีเสวนา “ทบทวนสถานการณ์ […]
ปี 2050 ธุรกิจกับเส้นทางการดำรงชีพอย่างยั่งยืนร่วมกับโลกใบเดิมอย่างไร
ปี 2050 ธุรกิจกับเส้นทางการดำรงชีพอย่างยั่งยืนร่วมกับโลกใบเดิมอย่างไร? Vision 2050 Lays a Pathway to Sustainable Living within Planet ————————————————- – Read the press update online: http://www.wbcsd.org/Plugins/DocSearch/details.asp?DocTypeId=33&ObjectId=Mzc0MDE – Download the report (PDF 2.6 MB): http://www.wbcsd.org/includes/getTarget.asp?type=d&id=MzczOTg ————————————————– New Delhi, 4 February 2010 – The World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) today launched the Vision 2050 report, a study that lays out a […]
คุณธรรมคู่กำไร โดย ผศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2552 ดิฉันมีโอกาสเข้าร่วมงานเสวนาเดอะเนทเวิร์ค ครั้งที่ 3/2552 เรื่อง “คุณธรรมคู่กำไร: ต้นธารแห่งความร่วมมือ” ที่จัดโดย The NETWORK และ CSRI ที่ตลาดหลักทรัพย์ วัตถุประสงค์งานเพื่อเปิดเวทีส่งเสริมและต่อยอดแนวคิด พร้อมกันกับการเปิดตัวหนังสือชื่อเดียวกันนี้ สาระที่ได้จากงานทำให้ได้กลับมาทบทวนอีกทีว่าคุณธรรมคู่กำไรมีนัยยะที่แฝง อยู่อย่างไร คุณธรรมคู่กัดกำไร: ดู เหมือนจะเป็นความเข้าใจของคนมากมายในอดีต คือคิดว่าพวกดีดลูกคิดรางแก้ว เห็นกำไรเป็นที่ตั้งน่าจะเป็นพวกไร้ซึ่งคุณธรรม เพราะภาพพจน์ผู้มีคุณธรรมมักอยู่ในรูปผู้ยอมเสียสละ ซึ่งเป็นภาพที่ไม่ค่อยจะไปคู่กันกับคนทำกำไร บางคนก็มองว่าการมีคุณธรรมในวงธุรกิจหมายถึงต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะไปตีความว่าคุณธรรมหมายถึงการทำทาน บริจาคในการกุศล หากในความเป็นจริงแล้ว คุณธรรมยังหมายรวมถึงการรักษาศีลคือการละเว้นความชั่วซึ่งเป็นเรื่องกระทำ ได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินให้ใคร ตัวอย่างที่ชัดเจนเช่น การไม่เอาเปรียบลูกค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้น คู่ค้า การจ่ายเงินซัพพลายเออร์ให้ตรงเวลา หรือการรักษามาตรฐานสินค้าให้คงที่ คุณธรรมคู่กรรมกำไร: ยุค สมัยปัจจุบันมีความเข้าใจมากขึ้นในวงการธุรกิจว่าคุณธรรมกับกำไรเป็นคู่กรรม ที่เชื่อมโยงกันอยู่แบบแยกจากกันไม่ได้ เมื่อเหตุดีผลย่อมดีตามไป การทำการค้าอย่างมีคุณธรรมได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าสามารถทำกำไร ทั้งจากการได้รับการสนับสนุนจากคู่ค้าและจากที่ลูกค้าพึงพอใจในผลงาน ตัวอย่างจากเวทีเสวนาที่ว่าด้วยเรื่องเหตุและผลของการกระทำบนความตั้งใจอันดี ได้แก่ กรณีบริษัท SWIFT ที่ขายสินค้าเกษตรปลอดสารเคมี SWIFT ก่อ กำเนิดขึ้นจากการที่เจ้าของเล็งเห็นถึงปัญหาหลักของเกษตรกรไทย […]
ทำไมธุรกิจที่มีคุณธรรมจึงประสบความสำเร็จ โดย คุณเอกชัย บุญยาทิษฐาน
เป็น ที่ทราบกันดีว่าในการทำธุรกิจนั้นจุดมุ่งหมายเริ่มต้น และถือว่าเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดคือการสร้างผลกำไร เพราะเป็นที่แน่นอนว่าใครก็ตามที่นำเงินมาลงทุนในธุรกิจย่อมต้องหวังผล ตอบแทน ในการทำธุรกิจโดยทั่วไปจะมีทั้งลักษณะที่ผู้นำเงินมาลงทุนเข้ามาบริหารเอง หรืออาจไม่ได้เข้ามาบริหารเองแต่ได้จ้างผู้ที่มีประสบการณ์ในการบริหารเข้า มาทำหน้าที่แทน แต่ไม่ว่าจะเป็นลักษณะใดก็ตามหน้าที่ที่สำคัญสำหรับผู้บริหารองค์กรธุรกิจก็ คือการบริหารจัดการให้เกิดผลกำไร เพื่อปันส่วนหนึ่งให้กับผู้ถือหุ้นที่นำเงินหรือทรัพย์สินมาลงทุน และอีกส่วนหนึ่งเพื่อสะสมไว้สำหรับขยายกิจการต่อไป การ สร้างผลกำไรให้กับกิจการนั้นเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการกันอย่างรอบคอบ เป็นธรรมดาที่ว่าการทำธุรกิจนั้นถือว่าได้นำตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องกับความ เสี่ยง ส่วนที่ว่าจะเสี่ยงมากน้อยแค่ใหนนั้นส่วนหนึ่งมาจากลักษณะของธุรกิจที่ทำ อยู่ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะมันเป็นธรรมชาติของธุรกิจเหล่า นั้นเอง หรืออาจจะเรียกได้ว่ามันมีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่ถือว่าเป็นปัจจัยที่พอจะ ควบคุมได้นั่นคือปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ด้วย เหตุนี้เององค์กรธุรกิจที่มุ่งสร้างผลกำไรจึงพยายามที่จะกำหนดปัจจัยในการ บริหารจัดการเพื่อให้ธุรกิจสามารถมีส่วนแบ่งอยู่ในตลาด และสร้างผลกำไรขึ้นมาได้ ปัจจัยในการบริหารจัดการที่ว่านี้มักจะออกมาในรูปของการนำระบบการบริหาร จัดการที่เป็นที่ยอมรับกันในสากลเข้ามาประยุกต์ใช้คู่กันไปกับงานประจำ ซึ่งมักจะเป็นระบบการบริหารจัดการเชิงคุณภาพทั้งหลาย เช่น 5ส คิวซีซี ระบบกิจกรรมเสนอแนะ ระบบ ISO 9000 หรือแม้กระทั่งระบบงานในระดับสูงเช่นระบบ TQM หรือ การบริหารแบบลีน เป็น ที่แน่นอนว่าระบบเหล่านี้เป็นระบบงานที่มีจุดมั่งหมายในการสร้างคุณภาพให้ กับผลิตภัณฑ์หรือการบริการให้กับองค์กรเพราะผลิตภัณฑ์หรือการบริการที่มี คุณภาพเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ธุรกิจสามารถคงอยู่ในตลาดได้ อย่างไรก็ตามเป็นที่รู้กันดีในแวดวงของการบริหารจัดการว่าความหมายของคุณภาพ ในปัจจุบันนั้นได้เปลี่ยนไปจากเดิม จากการที่ผลิตภัณฑ์หรือการบริการต้องเป็นไปตามข้อกำหนดที่ตั้งไว้ กลายไปเป็น “การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า” โลกในปัจจุบันถือว่าอยู่ในลักษณะของ โลกาภิวัตน์ (Globalization) ซึ่ง มีสาเหตุมาจากการการที่ข้อมูลข่าวสารสามารถที่จะเชื่อมถึงกันได้อย่าง รวดเร็ว […]
ตัดโซ่เพื่อร้อยโซ่ โดย ผศ. ดร. กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์
ตัดโซ่เพื่อร้อยโซ่ ผศ. ดร. กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์กรรมการเดอะเนทเวิร์ค (ประเทศไทย) สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตีพิมพ์ใน ต้นธารแห่งความรว่มมือ คอลัมภ์ ความรู้ CSR & Partnerships The NETWORK: ฉบับที่ 1 ปีที่ 3 กุมภาพันธ์ 2553 Chain Reaction เป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ที่สะท้อนสภาวการณ์ปรกติของมนุษย์ที่ล้วนเชื่อมโยง สัมพันธ์กันตั้งแต่เหตุสู่ผล คนหนึ่งคนสู่กลุ่มก้อนปวงชน หลายคนคงเคยได้ยินวงจร “จน-เจ็บ-โง่” อันหมายถึงสภาพความยากจนที่นำไปสู่ความง่ายต่อการเจ็บป่วยอันเนื่องด้วยสุข ภาวะที่ไม่ดี ขาดโภชนาการและการดูแลร่างกายให้แข็งแรง ประกอบกับลักษณะการทำงานที่ต้องตรากตรำหรือเผชิญกับมลพิษ ความเสี่ยง ความยากจนข้นแค้นจึงส่งผลเป็นลูกโซ่ไปถึงความเจ็บป่วยได้ง่าย และเมื่อเจ็บป่วยหลายคนจึงไม่อาจดำเนินชีวิตได้ตามปรกติ ขาดโอกาสในการใช้เวลาเรียนรู้ หรือหากผู้เจ็บป่วยเป็นผู้ใหญ่ในบ้านก็เป็นเหตุให้ผู้เยาว์ต้องคอยดูแล ช่วงชิงเวลาที่จะได้ขวนขวายหาความรู้ตามวัย เหล่านี้จึงนำไปสู่สภาวะความโง่เขลา และที่ร้ายไปกว่านั้นคือความด้อยปัญญาทำให้หลายคนถูกเอาเปรียบหรือต้องไปขาย แรงงานเพื่อยังชีพ นำไปสู่ความยากจนหมุนวนอยู่เป็นวงจรอุบาทว์ ด้วยความตระหนักถึงปัญหาปฏิกิริยาลูกโซ่ในวงจร จน-เจ็บ-โง่ ดังกล่าว Mr. Philipp Graf von Hardenberg นักธุรกิจและนักบริหารการศึกษาชาวเยอรมันจึงได้ก่อตั้งโรงเรียนเยาววิทย์ ขึ้นที่ […]