CSR-CSV

CSR Campus แบบไทยๆในมิติ 4 ภาค

โดย ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์สภาบันไทยพัฒน์ พบกับแนวคิด แนวทาง วิสัยทัศน์กาีรทำกิจกรรม CSR จาก 4 ภูมิภาคของประเทศไทยโดย ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ จาก….. >> เจาะกระแส CSR ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา , CSR อันดามัน , CSR ถิ่นล้านนา และ CSR ในสังคมอีสาน

By admin | CSR-CSV
DETAIL

Stakeholder Engagement แบบไทยๆ

โดย ผศ.ดร. กฤตินี ณัฎฐวุฒิสิทธิ์ สถาบัน บัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากบทความในฉบับที่ผ่านมา ได้ยกตัวอย่างโครงการ Teach First ที่ อังกฤษกับต้นตำรับ Teach for America ไว้ เป็นกรณีศึกษา โครงการ ดีๆ เพื่อยกระดับคุณภาพครูโดยการส่งเสริมความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ เอกชน ประชาชน และประชาสังคม ในบทความตอนนี้หยิบยกโครงการดังกล่าวมาระดมความคิดกันดูกับแนวคิด Stakeholder Engagement แบบ ไทยๆที่มี ข้อดีคือ ความเป็นเอกภาพ สามารถขับเคลื่อนด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันได้โดยง่าย แต่ข้อจำกัดที่การพัฒนาขึ้นอยู่กับภาวะความเป็นผู้นำ วิสัยทัศน์ และคุณธรรม โดยเฉพาะในยามที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและหลากหลาย,อ่านเพิ่มเติม

By admin | CSR-CSV
DETAIL
Apr
08

ความเคลื่อนไหวความร่วมมือ

การพัฒนาเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืนเพื่ออนาคตของผู้ใหญ่ในวันนี้ เด็ก และเยาวชน เป็นคำที่นักพัฒนาและบุคคลทั่วไปได้ยินกันอยู่เป็นประจำและองค์กรที่ทำงาน พัฒนาสำหรับกลุ่มนี้ก็เกิดขึ้นมากมาย แต่จากการประชุมระหว่างเดอะเนทเวิร์ค และคณะทำงานด้านเด็ก 19 องค์กรที่ผ่านมา เกิดข้อเสนอสำหรับการทำงานด้านเด็กปี 53 ว่า ควรกลุ่มเป้าหมายของการรณรงค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนควรมุ่งเน้นไปที่ ครอบครัว เพราะครอบครัวเป็นฐานหลักสำคัญที่จะร่วมบ่มเพาะคุณภาพของเด็กและเยาวชนในวัน นี้ และที่ผ่านมาการพัฒนามุ่งเน้นไปที่การสงเคราะห์ ส่งเสริม และ พัฒนาเด็กและเยาวชน นั้น ปัญหาต่างๆก็ไม่บรรเทาเบาบางไปได้  การแก้ไขปัญหาก็ไม่สามารถแก้ได้อย่างแท้จริง  หากผู้ใหญ่ทุกคนจะหันว่าวิเคราะห์ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ก็จะค้นพบว่าปัญหามีจุดเริ่มต้นจากครอบครัวทั้งสิ้น   อย่างไรก็ตามการพัฒนายังคงต้องทำงานคู่ขนาดกันไปที่จะมุ่งเป้าที่ครอบครัว และการแก้ปัญหา ส่งเสริมและพัฒนาไปพร้อมๆ กัน  และทุกองค์กรที่เข้าร่วมประชุมก็คิดเห็นตรงกัน ภาคธุรกิจจะมีส่วนร่วมพัฒนาครอบครัวที่เข้มแข็งได้ หากจะเพิ่มบทบาทการส่งเสริม ให้ความรู้กับพนักงานของบริษัท และ ทำงานร่วมกับกลุ่มภาคประชาสังคมพัฒนาเด็กและเยาวชนอย่างมีกลยุทธ์ ด้วยการทำงานเชิงรุกพร้อมๆ กับการทำงานเชิงรับ เพียงอย่างเดียว สร้างเป้าร่วมเริ่มตั้งแต่ออกแบบกิจกรรม ใน ปี 53 นี้เดอะเนทเวิร์คเน้นการทำงานอย่างมีส่วนร่วม และเจาะลึกในแต่ละประเด็นมากยิ่งขึ้น จากเดิมที่กลุ่มภาคีจะคล้ายเป็นเพียงผู้เข้าร่วมงานและกิจกรรมต่างๆ เป็นร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่ทำร่วมกันมายิ่งขึ้น เช่นงานเสวนาเดอะเนทเวิร์กก็มิใช่เพียงเข้าร่วมจัดนิทรรศการ แต่เป็นการร่วมคิดตั้งแต่การตั้งหัวข้อที่น่าสนใจและควรหยิบยกเป็นประเด็นใน การเสวนา การร่วมกันค้นหาผู้ร่วมเสวนาบนเวที เป็นต้น ซึ่งเหล่าองค์กรภาคีต่างเห็นด้วยและยินดีให้ความร่วมมือ ในส่วนต่างๆเป็นอย่างดียิ่ง […]

By admin | CSR-CSV
DETAIL
Apr
08

Finance and Accouting Advisory Mentor Project

โครงการพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาการจัดการบริหารการบัญชีและการเงิน ระหว่าง บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส จำกัด และมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ เมื่อ เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มีนัดพบกันครั้งแรกระหว่างสององค์กรเพื่อพัฒนากรอบการทำงานโครงการฯ ระหว่างตัวแทน บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส จำกัด (ประเทศไทย) หรือ PWC และ มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ เพื่อทำความความเข้าใจปัญหา ความต้องการ ความสำคัญ มุมมองรวมถึงเป้าหมายการจัดการบัญชีและการเงินที่แตกต่างกันของทั้งสอง องค์กร เพื่อทำให้การให้คำปรึกษา ตอบสนองความต้องการของมูลนิธิได้ 1. เป้าหมายการทำงานบัญชีและการเงินของทั้งสองภาคส่วน   ในส่วนของภาคธุรกิจนั้นเป็นการบริหารจัดการเพื่อประสิทธิภาพการใช้ เงินและการหาเงิน ในขณะที่ภาคประชาสังคมนั้นมุ่งเป้าไปเพียงการจัดทำรายงานการเงินเพื่อให้ผู้บริจาคหรือผู้สนับสนุนได้รับ ทราบการใช้จ่ายเท่านั้น การพบปะในครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายได้มีโอกาสเรียนรู้มุมมองและวิธีการทำบัญชีและการเงินที่แตกต่างกัน 2. ด้านการบริหารและการจัดการบัญชีในส่วนของมูลนิธินั้น ได้มีการจัดจ้างบริษัทจัดทำบัญชีภายนอกให้ทำการจัดบันทึกบัญชี และให้เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิเป็นผู้รวบรวมเอกสาร ซึ่งทำให้เกิดการทำงานซ้ำซ้อนในการที่ต้องนำเอกสารกลับมาตรวจสอบอีก สิ่งที่ PWC ให้ข้อสังเกตคือ การจ้างองค์กรภายนอกมาจัดทำบัญชีทำให้มูลนิธิขาดองค์ความรู้ด้านการจัดการบัญชีและการเงิน นอกจากการทำงานที่ซ้ำซ้อนแล้ว องค์กรก็ยังไม่สามารถนำรายงานทางการเงินและบัญชีไปวิเคราะห์เพื่อประโยชน์ใน การทำงานในขั้นอื่นๆ ต่อไปได้ ทาง PWC จึงแนะนำให้นำบัญชีกลับมาทำเองแม้ต้องทำงานเพิ่ม แต่ในระยะยาวจะส่งผลให้ ผู้ปฏิบัติงานได้ความรู้ องค์กรประหยัดเงิน เกิดองค์ความรู้ที่สามารถอธิบายขั้นตอนการจัดทำบัญชี เพื่อถ่ายทอดแก่คนอื่นได้ 3.    ใน […]

By admin | CSR-CSV
DETAIL
Apr
08

What’s next on NGO & Business Partnerships

เป็นเวลา 3 ปีแล้ว สำหรับการทำงานของเดอะเนทเวิร์ค ช่างไวเหมือนโกหก เมื่อดูระยะหลักกิโลเมตรของการทำงาน พวกเราให้คะแนนเพียง 2 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 บนเส้นทางแห่งการก่อสร้าง “ต้นธารแห่งความร่วมมือ” ระหว่างภาคธุรกิจและประชาสังคม เพื่อร่วมกันพัฒนาสังคมสู่ความยั่งยืน การ เริ่มเดินทางด้วยการเกิดและเติบโตขององค์กร อันเปรียบได้กับเด็กน้อยที่เริ่มลืมตา หัดพูด ค่อยๆ คลาน เดิน สู่การฝึกวิ่ง เพื่อเรียนรู้ร่วมกับผู้ร่วมเดินทางอันหลากหลายในสังคมและ ธรรมชาติ บนโลกใบนี้ ในการผลักดันให้ภาคธุรกิจตระหนักถึงศักยภาพที่ไปได้ไกลกว่าการเป็นพลังขับ เคลื่อนทางเศรษฐกิจ และพร้อมแบ่งปันศักยภาพดังกล่าวด้วยการร่วมมือกับภาคประชาสังคมในการเข้า ร่วมแก้ปัญหาสังคม เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน แม้ การเติบโตที่ผ่านมา อาจดูเชื่องช้า แต่ก็มุ่งมั่นพัฒนาพื้นที่ความร่วมมือให้เกิดขึ้น ผ่านกิจกรรมการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ การจัดตลาดนัดความดีแบบตลาดนัดชั่วคราวและสัญจร อีกทั้งยังได้จัดการสรุปความรู้ และหมั่นเผยแพร่เรื่องราวดีๆ สู่สมาชิกเครือข่าย จาก E-Newsletter ในชื่อ “ต้นธารแห่งความร่วมมือ” และ เวปไซค์ www.ngobiz.org  พร้อมๆ กับการได้เรียนรู้ ถึงทิศทางที่ควรก้าวเดิน รู้จักองค์กรต่างๆ อันเป็นกัลยาณมิตรที่พร้อมร่วมก้าวเดินบนเส้นทางนี้ ตลอดจนความเข้าใจบริบทของสังคมและโลกมากขึ้น เป็นการสะสมความมั่นใจ ในหนทางนี้ว่า เป็นหนทางที่ถูกต้องและจำเป็นต้องก้าวเดิน […]

By admin | CSR-CSV
DETAIL

ความเคลื่อนไหวของความร่วมมือ : ด้านสิ่งแวดล้อม

ความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมปี 2552 เพิ่มพื้นที่สีเขียวในใจคน : มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์และองค์กรภาคี ร่วมกับ Tesco Lotus กำลังร่วมกันทำโครงการพลิกฟื้นผืนป่า คืนชีวาให้ธรรมชาติ “Workshop เยาวชนคนรักษ์ป่า” เพื่อส่งเสริมและปลูกจิตสำนึกรักษ์ธรรมชาติให้กับเยาวชน พนักงานของ Tesco Lotus และ สื่อมวลชนด้านสิ่งแวดล้อม เป็นกิจกรรมที่ทำในพื้นที่อุทยานแห่งชาติชั้นนำของไทยซึ่งกิจกรรมที่ช่วยส่ง เสริมสำนึกรักษ์ธรรมชาติได้อย่างยั่งยืนควบคู่กับการพัฒนาความร่วมมือ ระหว่างภาคส่วนอย่างคุ้มค่า ผลงานจะสร้างสรรค์พื้นที่สีเขียวให้กับเมืองไทยและในใจคนอย่างไรกันบ้างนั้น เดอะเนทเวิร์คจะรายงานในโอกาสต่อไปนะคะ…   โครงการศึกษาสิ่งแวดล้อมเพื่อต่อสู้ภาวะโลกร้อน เริ่ม จาก “ปลูกต้นไม้ในใจคน” โดยเดอะเนทเวิร์คร่วมกับโครงการรวมพลังสามามัคคีทำดีเพื่อพ่อและองค์กรภาค ประชาสังคมได้แก่ มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร มูลนิธิกองทุนเพื่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาแผนการศึกษาสิ่งแวดล้อมโดยใช้กิจกรรมอาสาสมัครเข้ามาเชื่อมโยงเพื่อ กระตุ้นให้ความรู้เรื่องการศึกษาสิ่งแวดล้อมที่นำไปสู่การปฏิบัติจริง พัฒนาบทบาทที่ทั้งสองภาคส่วนนำไปสู่การลงมือปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาโครงการความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม (เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา) ติดตามกิจกรรมที่น่าสนใจเร็วๆนี้….coming soon!!!! ความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมปี 2551 เกณฑ์การทำกิจกรรมเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยความร่วมมือกับ CSRI >>คณะทำงาน Strategic Environmental Working Group Against Global Warming

By admin | CSR-CSV
DETAIL

ทัศนะฐานรากและเทคนิคความร่วมมือ

แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง : หนึ่งทางของการสร้างความร่วมมือ โดยเดอะเนทเวิร์ค(ประเทศไทย) ในปัจจุบัน “ความร่วมมือ” นับเป็นสิ่งที่หลายภาคส่วนกล่าวถึงไม่ว่าจะเป็นวิชาการ หรือแม้แต่การทำกิจกรรมเล็กๆ เพื่อองค์กรหรือสังคม การดำเนินกิจกรรมของภาคธุรกิจต่างแสดงให้เห็นถึงความสนใจและความตระหนักผลก ระทบที่จะเกิดขึ้นกับสังคมและสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ความรับผิดชอบต่อสังคมได้ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงหลากหลายแง่มุม เชื่อมโยงไปถึงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาองค์กรในการแสวงหากำไร รวมถึงการแสวงหาทุนทางสังคมอย่างมีส่วนร่วมกับภาคส่วนอื่นๆมากยิ่งขึ้น การสร้างทุนทางสังคมร่วมกันขององค์กรภาคธุรกิจและภาคสังคมต่างต้องอาศัย ปัจจัยหลายประการตั้งแต่ปัจจัยทางด้านความคิด ทัศนคติ วิธีการทำงานที่นับว่าต่างกันโดยสิ้นเชิงแต่ในความต่างย่อมมีความเหมือนหรือ ลักษณะร่วมที่สามารถเชื่อมโยงถึงกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันได้เป็น อย่างดี แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับธรรมชาติขององค์กรและที่สำคัญคือผู้นำองค์กร ที่สามารถกระตุ้น จุดประกายพร้อมกับการสร้างพลังใจให้กับพนักงานในองค์กรในการร่วม เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมพร้อมกับการพัฒนาตนเองไปด้วย ความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคธุรกิจและภาคสังคมโดยเฉพาะกับภาคองค์กรพัฒนา เอกชนได้ปรากฏมากขึ้นซึ่งไม่ใช่เพียงเป็นลักษณะของการเป็นผู้ให้และผู้รับ เพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นการให้และรับอย่างมีส่วนร่วม หลายกิจกรรมหลายโครงการที่องค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชนร่วมมือกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกันคือ เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อส่วนรวม บนจุดยืนที่ชัดเจนของแต่ละองค์กรมีเพื่อเสริมและสร้างให้กิจกรรมโครงการ บรรลุไปยังเป้าหมายขณะเดียวกันความแตกต่างก็มีอย่างชัดเจน ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ปัญหาและอุปสรรค ถึงแม้ว่าเพียงเล็กน้อยหากมันส่งผลกระทบถึงความสัมพันธ์และผลประโยชน์ต่อ ส่วนรวมทีเดียว “กระบวนการสื่อสารในการ สร้างความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างองค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชน ” วิทยานิพนธ์ของอภิชา คุณวันนา นิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวโดยสรุปว่า ความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชนในสังคมไทยเกิดขึ้นใน 3 ระยะ ระยะเริ่มต้นของ ความร่วมมือที่ยังจำเป็นต้องมีผู้ประสานงานกลางในการสร้างความร่วมมือ ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างความร่วมมือในช่วงเริ่มต้นมักเกี่ยวกับความ แตกต่างของวิธีคิด วิธีการทำงาน […]

By admin | CSR-CSV
DETAIL
Apr
08

เดทนัดแรกของสหทัยมูลนิธิและบริษัท สวิฟท์ จำกัด

เมื่อ วันที่ 18 กันยายน 2552 ถือว่าเป็นการเดทนัดแรกของคู่ความร่วมมือที่กำลังพัฒนาความร่วมมือของสหทัย มูลนิธิและบริษัท สวิฟท์ จำกัด ซึ่งครั้งนี้เป็นการทำความรู้จักและทำความเข้าใจในการร่วมกันหาแนวทางในการ พัฒนาโครงการพัฒนาพื้นที่เกษตรอินทรีย์สหทัยมูลนิธิสาขานครศรีธรรมราชโดย มุ่งเป้าสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเริ่มจากการสร้างครอบครัวเข็มแข้งกระทั่ง ชุมชน สังคมเข้มแข็งในอนาคต ซึ่ง คุณจินตนา นนทะเปารยะ ผู้อำนวยการบริหาร สหทัยมูลนิธิ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานของสหทัยมูลนิธิรวมถึงความ ต้องการในการพัฒนาศักยภาพคนในกลุ่มเป้าหมายที่ดูแลในพื้นที่นครศรีธรรมราช ที่ต้องการเสริมสร้างครอบครัว ชุมชนให้เข้มแข็งคือ การช่วยเสริมสร้างในเรื่องรายได้พร้อมกับการเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ ด้านการเกษตร บทสนทนาของคู่ความร่วมมือออกรสมากขึ้นโดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพคนเพื่อสร้าง ครอบครัวและชุมชนเข้มแข็ง ด้านคุณไพรชยนต์ เอื้อทวีกุล ประธานกรรมการ บริษัท สวิฟท์ จำกัด ได้ตกลงปลงใจที่จะร่วมสร้างเสริมกำลังให้กับทางสหทัยมูลนิธิและฝากข้อควร คำนึงหลายประการคือ การมองทุกอย่างอย่ามองเฉพาะจุดต้องมองให้ครบกระบวนการ รวมถึงวงจรการตลาดในท้องถิ่นอย่างเชื่อมโยงและที่สำคัญคือทรัพยากร “คน” ในการร่วมพัฒนา ก้าวต่อของคู่นี้ บทบาทของแม่สื่ออย่างเดอะเนทเวิร์ค(ประเทศไทย) ที่จะต้องเป็นผู้เชื่อมประสานเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างสององค์กรเพื่อ สานความสัมพันธ์ ความรู้ความเข้าใจสู่การพัฒนาและสร้างครอบครัวเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง รวมถึงการติดตามเพื่อจัดการองค์ความรู้จากสิ่งที่ได้จากความร่วมมือระหว่าง สององค์กรสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนต่อไป

By admin | CSR-CSV
DETAIL