สิ่งแวดล้อมกับความรับผิดชอบของภาคธุรกิจต่อสังคม
เป็น ที่เข้าใจตรงกันว่าโลกกำลังประสบกับภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะทั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในระดับโลก ปัญหาการสูญเสียพื้นที่ป่า ปัญหามลพิษอุตสาหกรรม บางกรณีเห็นได้ชัดว่ามาจากผลกระทบของอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน กรณีที่ร้ายแรงที่สุดคือ กรณีของการแพร่ของแก๊สพิษที่เมืองโภปาล (Bhopal) ประเทศอินเดีย ในวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 1984 กรณีนี้ทำให้มีคนตายทันทีถึง 20,000 คน นอกจากนี้แล้วยังมีผู้ที่เจ็บป่วยตกค้างอยู่ราว 100,000 – 200,000 คน น่าเศร้าที่บัดนี้ คดีความก็ยังค้างคากันอยู่ และการเยียวยาก็ยังไม่เป็นไปอย่างเต็มที่ การประท้วงของประชาชนทั้งที่ได้รับผลกระทบและที่เห็นใจยังคงมีอยู่ร่ำไป เหตุที่ต้องยกเรื่องนี้มาเป็นอุทธาหรณ์เสียแต่ต้นก็เนื่องด้วยต้องการแสดง ว่า ความเสียหายอันเกิดจากภาคธุรกิจนั้น อย่างร้ายที่สุด กระทบถึงชีวิตผู้คนได้อย่างไร และพร้อมกันนั้นเอง ก็น่าจะปลุกเป็นแรงใจให้ธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น การแบ่งแยกขนานใหญ่กับ การเรียกร้องความรับผิดชอบ อันที่กล่าวว่าธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้นนั้น แสดงให้เห็นอยู่ประการหนึ่งว่า ธุรกิจและสังคม ดูจะมีความห่างเหินกันเสียระดับหนึ่ง หรือแบ่งแยกจากกันระดับหนึ่ง จนกระทั่งต้องเรียกร้องความรับผิดชอบให้มีต่อกันเลยทีเดียว กรณีนี้ย่อมต่างจากระบบเศรษฐกิจครั้งบุพกาล ที่การแลกเปลี่ยนโภคทรัพย์นั้นดำเนินในรูปแบบบรรณาการหรือของขวัญ ซึ่งนั่นก็หมายความว่า เมื่อระบบเศรษฐกิจยังไม่ได้กำเนิดขึ้น ความสัมพันธ์ทางสังคมก็ยังครอบคลุมไปทั้งหมด จนยังไม่อาจแยกแยะได้ว่าส่วนใดจัดเป็นธุรกิจด้วยซ้ำ ว่าไปแล้วธุรกิจก็เป็นภาคส่วนใหม่ที่ทรงอิทธิพลยิ่งในสังคม ก็เมื่อพัฒนาการของสังคมมนุษย์ในระยะหลังนี้เอง และที่สำคัญ ยังเป็นพัฒนาการอย่างก้าวกระโดดเสียด้วย ดังจะเห็นได้จากที่ธุรกิจตกอยู่ภายใต้ข้อครหาจาก ประชาชนว่าครอบงำรัฐบาลอยู่มากน้อยเพียงไร มิหนำซ้ำ […]
โซ่ความเสื่อม
ผศ. ดร. กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ กรรมการเดอะเนทเวิร์ค และ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บทความตอนที่แล้วว่ากันถึงการตัดโซ่เพื่อร้อยห่วงโซ่คุณ ค่าทางสังคมให้สืบทอดสร้างผลทางบวกเป็นการต่อเนื่อง ด้วยตัวอย่างโรงเรียนเยาววิทย์ที่มุ่งปลูกฝังเมล็ดพันธุ์ความรู้และความดี งามให้กับเด็กๆ เพื่อขยายผลเป็นความสามารถผลักดันตัวเองและครอบครัวให้หลุดพ้นวงจร จน-เจ็บ-โง่ ช่วยให้สังคมพัฒนาอย่างสมดุลยั่งยืนได้ต่อไป ครั้งนี้ลองมามองใน ขั้วตรงข้ามดูบ้างว่า พฤติกรรมทางลบของมนุษย์จะก่อโทษส่งผลเกี่ยวโยงเป็นห่วงโซ่ความเสื่อมต่อไป ได้หรือไม่ อย่างไร โดยขอหยิบยกกรณีการพนันมาเป็นหัวข้อวิเคราะห์กันในรอบนี้ ทั้งนี้เนื่องจากการตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยที่พบว่ามีผู้ติด ใจในการเสี่ยงโชคหลายชนิดตั้งแต่ หวย สลากกินแบ่งที่ถูกกฎหมายไปจนถึงการพนันขันต่อทั้งแบบเจ็บตัว น้อยไปจนถึงแทบฆ่าตัวตาย และทั้งที่แอบเล่นในบ่อนผิดกฏหมายในประเทศไปจนถึงความพยายามเดินทางข้าม พรมแดนไปเล่นในต่างประเทศ อาการเสพย์ติดการพนันนับ เป็นปัญหาพื้นฐานหนึ่งของความยากจน ซึ่งในที่นี้กินความถึงสภาวะทางจิตใจที่ไม่ได้วัดค่าเพียงตัวเลขทางการเงิน เพราะเมื่อมุ่งหวังโชคหรือลาภลอยจากการพนันย่อมสะท้อนถึงสภาวะไม่รู้จักพอ เพียง ไม่มุ่งสะสมทรัพย์สินจากรากฐานอาชีพการทำงานแต่ไปคาดหวังโชคบันดาล ความไม่รู้พอประมาณ และความขาดเหตุผลนี้ทำให้คนจำนวนมากยากจนอยู่เป็นนิจ แม้หลายคนจะพยายามกล่าวอ้างว่าเล่นการพนันเป็นกิจกรรมสันทนาการ ชนิดหนึ่งเพียงเท่านั้น แต่ปัญหาอยู่ที่การเล่นพนัน มักนำไปสู่การติดพนันได้ง่ายคล้ายผีพนันเข้าสิง ต่างจากกิจกรรมสันทนาการประเภทอื่นที่เราไม่เห็นเคยได้ยินว่ามีผีสปาหรือผี ดำน้ำเข้าสิง แม้ว่าการติดการพนันนี้จะมีหลายระดับ แต่ตัวเลขเก่าแก่จากงานวิจัยของ Sommers เมื่อปี คศ. 1988 ระบุว่า สัดส่วนพวกติดงอมแงมอาจมีสูงถึง 2-6% ของผู้เล่นพนันทั้งหมด จนถึงปัจจุบันตัวเลขนี้อาจเพิ่มขึ้นอีกมาก สังเกตได้จากการเติบโตของธุรกิจนี้ […]
ส่งไม้ต่อ “คน (รุ่นใหม่) รักษ์ป่า” ป่าชุมชนเพื่อชุมชนที่ยั่งยืน
โดยประชาชาติธุรกิจ แม้จุดเริ่มต้นในการทำซี เอสอาร์ให้เกิดความยั่งยืนมากกว่าการบริจาคของ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) จะเกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีก่อนที่เป็นเพียงการนำพนักงานกลุ่มหนึ่งเข้าไปปลูกต้นไม้ในป่าชุมชนตำบล บางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อกระตุ้นให้พนักงานมีจิตอาสาด้าน สิ่งแวดล้อม แต่จุดเริ่มต้นเล็ก ๆ เหล่านั้นกลับกลายเป็นกิจกรรมที่เกิดผลกระทบด้านบวกอย่างมากในปีถัดมา เพราะโครงการหลังจากนั้นไม่ได้เป็นเพียง การเกณฑ์พนักงานเข้าไปขยายพื้นที่ปลูกต้นไม้ในป่าชุมชนอื่น ๆ แต่เป็นการ คิดใหญ่กว่าโดยการเข้าไปจับกับมือภาครัฐอย่างกรมป่าไม้ที่มีความเห็น เดียวกัน คือ ต้องการเห็นชุมชนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน ทำโครงการ “คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน” จัดประกวดป่าชุมชนต้นแบบโดยมี ถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระเทพฯ พร้อมเงินสดเป็นรางวัล เมื่อโครงการนี้ถูกเผยแพร่ออกไป ก็ทำให้ชุมชนต่าง ๆ ตื่นตัวที่จะจัดระบบการจัดการป่าในชุมชนของตนเองและสร้างเครือข่ายระหว่าง กันให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น มากกว่านั้นยังช่วยให้ชาวบ้านรู้จักคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ใกล้ ตัว ที่นอกจากจะสร้างรายได้ของคนในชุมชนแล้วยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศ ซึ่งเป็นโครงการที่น้อยคนที่จะมองเห็น ในขณะที่บริษัทอื่น ๆ ให้ความสำคัญกับการปลูกป่าธรรมชาติ ประยุทธ ธงสุวรรณ ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริหารองค์กร บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จริง ๆ […]
ว่าด้วยทฤษฎีความสนุก
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด ก็ตาม แค่คิดว่าทำแล้ว “สนุก” คนส่วนใหญ่ก็เริ่มสนใจอยากจะลอง ยิ่งถ้าลงมือทำแล้ว มันเกิดสนุกขึ้นมาจริงๆ อย่างที่คิดเอาไว้ ยิ่งชวนให้ทำซ้ำอีกหลายต่อหลายครั้ง…ทำซ้ำจนกลายเป็นความเคยชิน พฤติกรรม นิสัย หรืออะไรก็แล้วแต่จะเรียกการรณรงค์ให้ช่วยกันดูแลโลกล่ะ จะสามารถทำให้คึกคักสนุกสนานมากกว่าแค่พูดปาวๆ ว่า “ปิดไฟ ใช้ถุงผ้า แอร์ 25 องศา ปลูกต้นไม้” ได้หรือไม่ แคมเปญล่าสุดของโฟล์กสวาเก็น สวีเดน คือหนึ่งในคำตอบที่แสดงให้เห็นว่า มันเป็นไปได้จริง …เขาพิสูจน์ให้เห็นแล้วทำเป็นแคมเปญโฆษณาที่เผยแพร่ผ่าน Viral Video (คลิปวิดีโอสั้นๆ ที่สามารถแพร่ระบาดในโลกออนไลน์ได้รวดเร็วเหมือนไวรัส)ชิ้นแรกชื่อ “บันไดเปียโน”(Piano Staircase) Read more… http://www.onopen.com/thitinants/09-10-25/5097 หากการทำ CSR ในแบบ PR หรือ Social Marketing แล้วสร้างสรรค์อย่างนี้และเปลี่ยนพฤติกรรมคนได้มากมายขนาดนี้ บริษัทจะมีชื่อเสียงมากมายเพิ่มอีกเท่าตัว ก็สมควรแก่การปรบมือให้ ท่านว่าจริงหรือไม่
2010 “เฮือกสุดท้าย” ก่อนสูญสิ้นความหลากหลายทางชีวภาพ
“เสือ” อาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้รับความสนใจและถูกกล่าวขานถึงมากที่สุดในปีขาล เพราะจำนวนประชากรเสือที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิดจนน่าตกใจและน่าห่วงใยว่าจะ สูญพันธุ์ไปในไม่ช้า ทว่าในธรรมชาติยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกหลายเผ่าพันธุ์ที่กำลังถูกคุกคามและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ไม่น้อยไปกว่า สัตว์ป่าผู้ล่าอันดับสูงสุดของปิรามิดอาหาร..คลิกอ่านต่อ
มุมมองความร่วมมือสู่กรุงเทพฯเมืองน่าอยู่
บทสัมภาษณ์ ดร.ประกอบ จิรกิตติ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร การ มีวิถีชีวิตแบบคนเมือง(กทม.) ต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ การจราจรหนาแน่นและหลีกเลี่ยงไม่ได้กับปัญหาขยะมูลฝอย น้ำเน่าเสีย การแก้ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นทุกคนต่างต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างมีพลังและความอยู่ดีมีสุขของคนเมือง ผู้มีบทบาทสำคัญที่เกี่ยวกับการกำหนดและดำเนินการตามนโยบายของภาครัฐคือ กทม. เป็นองค์กรที่สร้างเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนให้ความสนใจและดูแลบ้านเมือง เพราะทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกันความร่วมมือจึงเป็นวิธีการสำคัญที่ทำให้ กรุงเทพฯกลายเป็นเมืองน่าอยู่ได้ ดังที่ ดร.ประกอบ จิรกิตติ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ให้มุมมองว่า….. “ความเชื่อ ที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาทุกอย่างให้สำเร็จนั้นสามารถทำได้ด้วยความร่วมมือ เพราะไม่ว่าองค์กร หน่วยงานใด หรือแม้แต่ภาครัฐเองก็ต้องการความร่วมมือจากประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์ร่วมกัน การบำรุงรักษา นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบอย่างเช่น กทม.ได้รู้ข้อบกพร่องและหาทางออกในการแก้ไขปัญหา” ส่วนประเด็นที่ สำคัญเร่งด่วนที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตคนเมือง ก็คงไม่พ้นเรื่อง สิ่งแวดล้อม ที่มาเป็นอันดับหนึ่ง ดร.ประกอบ จิรกิตติ ได้เสนอว่า “เรื่อง สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนสามารถช่วยกันได้อย่างง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นการประหยัดพลังงาน การจัดการขยะ รองจากนั้นเป็นเรื่องของวิถีการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงซึ่งแต่ละคนนั้นมีความ รู้และอยู่ในวิสัยที่ทำได้อยู่แล้ว..” บนฐานความร่วมมือที่ทุกคน สามารถทำได้ด้วยวิธีการง่ายๆก็สามารถทำให้โลกนี้อยู่ได้ด้วยความร่มรื่น เพียงร่วมมือกัน แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่แต่ละคนแต่องค์กรมีก็สามารถเป็นพลังของการสร้างโลก สีเขียว เริ่มได้แม้ใน Office โรงเรียน บ้าน และตัวเอง
CSR : รักษาพื้นที่ชุมชน
มูลนิธิ สืบนาคะเถียร Ref: http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=444:seubnews&catid=5:2009-10-07-10-58-20&Itemid=14 ด้วย กระแสความแรงในแนวทาง การทำธุรกิจที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม หรือที่เรียกกันติดปากว่า CSR ที่มาจาก Corporate Social Responsibility ทำให้องค์กรพัฒนาเอกชนต้องปรับตัว เพื่อรับกับกระแสของโครงการที่จะเกิดขึ้นจากการทำ CSR กับองค์กรธุรกิจต่างๆ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร เป็นอีกองค์กรหนึ่ง ที่มีภาคธุรกิจประสานงานเข้ามา เพื่อจะร่วมทำโครงการ CSR รักษาพื้นที่ป่า ซึ่งต้องยอมรับว่า เรื่องของ CSR นั้นเป็นเรื่องที่ใหม่มาก สำหรับองค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม เราปฏิเสธไม่ได้ว่า กิจกรรม CSR ของ บริษัทต่างๆ ส่วนหนึ่งสามารถช่วยสนับสนุนการทำงานของเราได้ ในสภาวะที่เงินบริจาคไม่พอกับการทำงาน ประกอบกับผู้ให้การสนับสนุนจากต่างประเทศได้ย้ายการสนับสนุนไปประเทศอื่น ดัง นั้น ในวาระ 20 ปี สืบ นาคะเสถียร ในปีนี้ คณะทำงาน 20 ปี สืบ นาคะเสถียร ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ CSR ขึ้น เพื่อช่วยกันคิดและวางแผน ปรับกิจกรรมของมูลนิธิให้สอดคล้อง […]
Thailand-7 Nov 07 – 2007 CSR Framework for Sustainable Corporation
by Thailand Productivity Institute and Prachachart’s Business Week The Thai CSR Framework has been developed from a research by comparing several guidelines such as Balridge Performance, ISO 26000 another local standard. This will not be another difficult index for companies, However, it shows that CSR was not an added-on activities, but an integrated functions of […]