ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนาสุดพิเศษเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์หมุนเวียนในเมือง!
ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนาสุดพิเศษเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์หมุนเวียนในเมือง!
คุณสนใจเรื่อง เกษตรอินทรีย์หมุนเวียนในเมือง (Circular Urban Farming) หรือไม่? ห้ามพลาด! งานสัมมนา “Cities Leading Food Production: A Dutch-Thai Inspiration Seminar on Sustainable Horticulture”
วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม 2568
เวลา 14:30 – 16:00 น.
Food Tech Transition Square
เรียนรู้แนวทางใหม่ในการเปลี่ยน ขยะเมืองให้เป็นมูลค่าเพิ่มทางการเกษตร พร้อมแนวคิดนวัตกรรมเกษตรในเมืองจากผู้เชี่ยวชาญจากเนเธอร์แลนด์และไทย
ไฮไลท์สำคัญของงาน:
การใช้ที่ดินในเมืองให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อความมั่นคงทางอาหาร
การเปลี่ยนขยะเมืองให้เป็นทรัพยากรสีเขียว
การเสวนาและนำเสนอไอเดียจากผู้เชี่ยวชาญ
พิเศษ! Bangkok Rooftop Farming […]
The Circular Way วิถีเศรษฐกิจหมุนเวียนและแบ่งปัน ฉบับปฐมฤกษ์ในเดือนพฤศจิกายนนี้
วันนี้คนในโลกใบนี้เริ่มห่วงตัวเองมากขึ้น ในสิ่งที่เราควรจะปฏิบัติตนเองต่อโลกใบนี้อย่างไรดี ทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์สังคม เริ่มถูกกล่าวถึงมากมาย ที่พูดถึง มุมมองสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติใหม่ มุมมองใหม่ ความหมายของมูลค่าที่เป็นตัวเงิน วันนี้หนุ่มสาวชาวยุโรปออกมาสัมมนากันถึงภาพเศรษฐกิจสังคมในอนาคตหน้าตาเป็นอย่างไร ด้วยการ Vote ว่า เขาอยากเห็นเศรษฐกิจเป็นอย่างไร มีผู้เข้าร่วม Vote เข้ามาถึง 20 รูปแบบเศรษฐกิจ และ สุดท้าย ทุกคนได้ Vote ให้ Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียนและแบ่งปัน เป็นหลักคิดของทุกคนในโลกใบนี้ สมาคมเครือข่ายเพื่อการพัฒนาที่ยังยืนในปีที่ 15 หลังจากไปช่วยพัฒนาเครือข่ายในพื้นที่ต่างๆ มา 8 ปี ทั้งได้เรียนรู้พื้นที่ ได้เรียนรู้สังคมไทยในทุกภาค เรียนรู้ความเป็นไปของภาคส่วนต่างๆ ในสังคมเมืองของจังหวัดต่างๆ เราเรียนรู้ว่า เมืองแต่ละจังหวัดขยายใหญ่โตขึ้น ภาคการเกษตรไม่เป็นที่นิยม แต่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดภายใต้โลกที่ถูกระบาดด้วยโรคอุบัติใหม่ แม้ว่า การระบาดในคลื่นลูกที่ 2 จะทำให้คนไปไม่ถึงขนาดตายได้ แต่อยู่ในระดับการติดเชื้อเข้าไปที่ร่างกาย ซึ่งยังการวิจัยค้นหาวิธีแก้รักษายังไม่แล้วสำเร็จ และ เรายังไม่รู้ว่าเศรษฐกิจในยุคที่ความไม่แน่นอนทุกด้าน ทำให้เราจะมีความสามารถในการวางแผนต่อไปอย่างไร สมาคมฯ ได้ริเริ่มนิตยสารออนไลน์ ชื่อ The Circular […]
Life Skill Enhancement through Circular Urban Farm Business in Covid 19 Era
สมาคมเครือข่ายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้รับเชิญจาก ดร.กฤษณ์ ยุราพร แห่งบริษัท Asia Pacifc Innovation Center จำกัด ให้เกียรติ มาร่วมแลกเปลี่ยนถึงการปรับตัวให้มีศักยภาพที่จะอยู่ในยุคโควิด 19 นี้ได้อย่างไร ด้วยการทำธุรกิจฟาร์มเล็กๆ ในเมืองที่ไม่ใช่่แค่การทำสวน แต่สร้างชีวิตแห่งการแบ่งปัน เป็น 30 นาทีที่ใช้ชีวิตการเรียนรู้ของสมาคมที่มีอายุ 13 ปีในประเทศไทย (2007-2020) และ ได้ทำงานในระดับเอเซียแปซิฟิก (2005-2007) ถึง 3 ปี การพัฒนาที่ยั่งยืนในที่สุด ก็ถูกอธิบายในเชิงรูปธรรม ที่ต้องทำงานประสานระหว่างเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม เป็นความปกติใหม่ (New Normal) ผ่านกลยุทธ์การทำงานด้วยวิธีคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่เป็นวิธีคิดการจัดสรรการการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตั้งแต่เริ่มต้นการเลือกวัตถุดิบที่สามารถมีชีวิตเมื่อนำไปใช้งาน (Life Cycle Assessment-LCA) ที่ยาวนานที่สุด การนำสิ่งที่เหลือมาทำงานต่อ เมื่อใช้เสร็จแล้วจะนำกลับเข้าไปสู่กระบวนการใช้ให้ยาวนานที่สุด และเหลือทิ้งไว้เป็นภาระให้โลกใบนี้น้อยที่สุด เป็นความท้าทายของมนุษย์ในยุคโควิด19 นี้มากๆ อีก 2 ขา คือ มิติด้านสังคม คือ […]
Tom Hardy ดาราดัง Hollywood กับการมองโลกในมุมใหม่ และค้นพบการได้ทำงานเพื่อผู้อื่นกลับเป็นการสร้างพลังชีวิต
สำหรับประเทศไทยเรามีความเชื่อว่า หรืออาจเป็นความเชื่อของคนทั้งโลกในยุคบริโภคนิยม เมื่อยังเด็ก พ่อแม่อยากให้ลูกๆ เรียนเพื่อให้เป็นเจ้าคนนายคน เมื่อถึงวัยทำงาน เราควรได้ทำงานสบาย มีความมั่นคงและมั่งคั่ง เมื่อถึงวัยเกษียณอายุ เราต้องอยู่บ้านสบายๆ นอนอยู่บ้าน ไปเที่ยว ไปใช้เงิน ไปใช้ชีวิตที่ผ่านมาไม่รู้ว่าใช้อะไร Tom Hardy ดาราดัง Hollywood ผู้เคยพลาดมาแล้วในชีวิตด้วยหลงผิดไปติดยา แต่การได้รับการบำบัดและหันมามองโลกในมุมใหม่ และค้นพบการได้ทำงานเพื่อผู้อื่นกลับเป็นการสร้างพลังชีวิต เติมคุณค่าให้ตัวเอง ได้ออกมาเชิญชวนให้คนออกมาเป็นทำอะไรเพื่อผู้อื่นบ้าง ออกมาหาและสร้างคุณค่าให้ตัวเอง โดยเฉพาะผู้ที่เข้าใกล้วัยเกษียณ หากได้ออกมาสร้างงาน สร้างคุณค่าในงานพัฒนาต่างๆ อาจทำให้ตนเองมีกำลังวังชา ไร้โรคา ไม่เบียดเบียนลูกหลาน สำหรับคนวัยทำงาน Peter Drucker ได้เขียนหนังสือเรื่อง “Managing Oneself” กล่าวไว้ว่า ในวัยทำงานที่เข้าสู่อายุ 30 ปี การได้ออกมาทำงานในองค์กรสาธารณะประโยชน์ หรือ พัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมของตัวเอง คือการวางรากฐานชีวิตที่จะสร้างความมั่นคงทั้งด้านเศรษฐกิจ และ ด้านการมีชีวิตที่เต็มคุณค่า การเริ่มในวัยต้นๆ นี้ทำให้ได้มีโอกาสบ่มเพาะทักษะความรู้ที่จะไปทำงานในด้านนี้เมื่อเข้าสู่วัยแห่งการเลือกเป้าหมายใหม่ในชีวิตในแต่ละจังหวะของชีวิตได้อย่างอิสระ อ่านต่อได้ที่ >> https://truththeory.com/2019/09/29/25-tom-hardy-quotes-that-will-bring-more-wisdom-to-your-life
Circular Economy ไม่ควรเป็นเพียงกลไกของการจัดการพลาสติกอย่างเดียว
วันนี้ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ Circular Economy ไม่ควรเป็นเพียงกลไกของการจัดการพลาสติกอย่างเดียว แต่หัวใจของเศรษฐกิจหมุนเวียนควรหมายถึง 1.การนำผลิตภัณฑ์ให้กลับมาอยู่ในการใช้ในทุกรูปแบบให้นานมากที่สุด 2.การยอมจำนนกับการเพิ่มผลผลิตที่มากขึ้นทุกปีเพื่อสร้างรายได้ แต่การสร้างรายได้ในห่วงโซ่ impact value ของวัตถุที่เหลือจากการผลิต 3. การเปลี่ยนสภาพวัตถุประสงค์ของผลผลิตหรือทรัพยากรที่ถูกแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้กลับมาใช้ในวัตถุประสงค์ใหม่ๆ ได้ (repurpose) 4. การเปลี่ยนมือการถือครอง เช่น ของมือสอง อื่นๆ อีกมากมายที่รอมนุษย์หันมาใช้จินตนาการและความสร้างสรรค์อย่างจริงจังในการยืดระยะเวลาการมีชีวิตของทรัพยากรที่เปลี่ยนสภาพให้กลับมาหมุนเวียนใช้ให้นานที่สุด ก่อนทิ้งกลับไปสู่หลุ่มฝั่งกลบจนเป็นทั้งขยะและมลพิษ ที่ทำร้ายพวกเรากันเอง เวียนอยู่อย่างนี้ไม่สิ้นสุด ดูวีดีโอได้ที่ https://web.facebook.com/bbc/videos/2396828633686823
สิงคโปร์สร้างเมืองอย่างไรให้สีเขียว
นั่นซิสิงคโปร์เขาสร้างเมืองอย่างไรให้สีเขียว คงไม่ใช่สักแต่ปลูกต้นไม้ แต่คงมียุทธศาสตร์ ยุทธวิธี กลยุทธ์ กลเม็ด และกลวิธีอะไรที่การเรียนรู้จากการไปดูเยี่ยมชม จะทำได้ ยุทธ์ศาสตร์ อาจเรียนแบบกันได้ แต่อย่างหลังคือ ต้องเกิดจาก เอาคนทั้งหมดที่จากหลายศาสตร์หลายอาชีพมาคิดร่วมกันบอกว่าอยากทำอะไร (ควรมีประเด็นตั้งต้น) ทำแค่ระดับตำบลเล็กๆ คิดทุกอย่างให้เชื่อมโยงกัน ใช้พลังประชาชนที่ฝันพ้องต้องกัน ใช้อำนาจเฉพาะเขตของตัวเอง ใช้กลุ่มมดงานสร้างงานให้เกิดทันทีเมื่อคุยบนโต๊ะจบ แล้วมาถอดบทเรียนเชื่อมโยงกันต่อ ทุกวันนี้ความเป็นเมืองสีเขียวของสิงคโปร์เป็นที่กล่าวถึงอย่างมาก แต่ความน่าสนใจจริงๆ ของเรื่องนี้ต้องเริ่มที่ประโยคแท็กไลน์ของแผนการพัฒนาเมืองของสิงคโปร์ที่ว่า ‘Bring the bees and boeings to the City in the Garden’ น่าสงสัยว่าผึ้งกับเครื่องบินโบอิ้งมาเกี่ยวข้องอะไรกัน เรื่องราวเริ่มต้นที่ ‘ที่ดิน’ ปัจจัยการพัฒนาประเทศที่สิงคโปร์มีน้อยกว่าเพื่อน ฉะนั้นการบริหารที่ดินต้องคิดอย่างถ้วนถี่เพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าที่สุด ส่งผลให้การสร้างแบรนด์ของประเทศออกมาในแนวคิด The Garden City ที่เชื่อมเรื่อง ‘ธรรมชาติ’ กับ ‘ธุรกิจ’ เข้าด้วยกัน ผึ้งในแท็กไลน์คือตัวแทนพื้นที่สีเขียว ส่วนเครื่องบินโบอิ้งคือตัวแทนการพัฒนาเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์ พูดง่ายๆ คือสิงคโปร์มองออกว่าคุณภาพชีวิตกับเศรษฐกิจเป็นเรื่องเดียวกัน ทำอย่างหนึ่งต้องได้ประโยชน์อีกอย่างด้วย จากประเทศที่มีขนาดเมืองเล็กกว่าครึ่งของกรุงเทพฯ ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายหมดในสมัยอาณานิคม […]
ทำไมอาหารที่ปลูกในท้องถิ่น จึงดีกว่าเพื่อสิ่งแวดล้อม
กินอาหารที่ปลูกในท้องถิ่นตัวเอง การคิดวันนี้ คิดหลายมิติจะได้คำตอบที่มีทางเลือกมากมายลองมาอ่านสรุปจากคอลัมน์นี้กัน: ?ดีต่อสุขภาพร่างกาย – ดิน น้ำ ลม ไฟ ประกอบในพืชผัก สร้างความสมดุลต่อร่างกายของคนในประเทศนั้นๆ และได้ทานอาหารตาใฤดูกาล ร่างกายไม่ต้องปรับตัวกับพืชผักที่ปลูกมาจากต่างถิ่น ?ดีต่อสิ่งแวดล้อม – ไม่ต้องเสียค่าเดินทาง ไม่มีการขนส่งข้ามทวีป ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้อุณหภูมิขอวโลกเปลี่ยน และอื่นๆ อีกมากมาย ?ดีต่อใจ – อุดหนุนคนท้องถิ่น สร้างเครือข่ายผู้คนในบ้านเดียวกัน link บทความ >> https://www.greenmatters.com/p/why-locally-grown-food-better-environment
7 เรื่องของกระบวนการ “รีไซเคิล” ขวด PET ใช้ใหม่ได้ 100% ช่วยโลกกอบกู้วิกฤติขยะ
รู้หรือไม่ว่า ขวดน้ำดื่ม ขวดน้ำอัดลมที่อยู่ในชีวิตประจำวันนั้น ล้วนทำจากพลาสติกแบบใส ที่เรียกว่า “PET” ซึ่งพลาสติกชนิดนี้สามารถนำกลับมาสู่กระบวนการ “รีไซเคิล” ได้แบบ 100% กลายเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ได้ไม่รู้จบ หากคุณอยากช่วยโลกลดปริมาณขยะและการใช้พลาสติกผลิตใหม่ นี่คือ 7 เรื่องเกี่ยวกับกระบวนการรีไซเคิลที่คุณจะต้องรู้ Circular Economy แนวคิดเปลี่ยนขยะให้กลับมาวนใช้ได้ไม่รู้จบ ทั่วโลกพูดถึงภาวะโลกร้อน (Global warming) รวมถึงวิกฤตขยะล้นโลกกันมานานแล้ว หนึ่งทางออกที่มักจะถูกหยิบขึ้นมาพูดกันอยู่เสมอ คือ การลดการใช้พลาสติก รวมถึงการนำเอาวัตถุ สิ่งของ เครื่องใช้ ที่ผลิตขึ้นมาแล้วทั้งหมดวนกลับมาใช้ซ้ำ ไม่เพียงแต่ภาคประชาชนที่ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะ ภาคอุตสาหกรรมเองได้ร่วมกันผลักดันแนวคิด “เศรษฐกิจแบบหมุนเวียน” หรือ “Circular Economy” กันอย่างต่อเนื่อง แทนการผลิต-บริโภค-แล้วทิ้ง ตามรูปแบบอุตสาหกรรมแบบเดิม หัวใจสำคัญของแนวคิดนี้ ไม่ใช่แค่เพียงการผลิต–บริโภค–นำกลับมาใช้ซ้ำเท่านั้น แต่เป็นการเปลี่ยนกระบวนการผลิต การบริโภค และการใช้ชีวิตเลยก็ว่าได้ ซึ่งองค์กรที่นำไปใช้ต้องทำความเข้าใจหลักการออกแบบและการทำงานของธรรมชาติ เพื่อให้การใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุด ในประเทศไทยมีหลายองค์กร เช่น SCG, Coca-cola ที่เราเริ่มเห็นการนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้อย่างจริงจัง สถานการณ์ขยะยังน่าเป็นห่วง ข้อมูลจาก “กรมควบคุมมลพิษ” บอกว่า ในปี […]