รายงานผลกิจกรรมเสวนา เล่นๆ เรียนๆ จากเกมส์บอร์ด สู่การเรียนรู้แบบโครงงาน
เสวนาเรื่อง เล่นๆ… เรียนๆ จากเกมบอร์ดสู่การเรียนรู้แบบโครงงาน ภายใต้ โครงการกรุงเทพมหานคร ท้องถิ่นน่าอยู่แห่งความสุข หลักการและเหตุผล สมาคมเครือข่ายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (The NETWORK) ร่วมกับ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พัฒนาโครงการ “เมืองน่าอยู่แห่งความสุข 2020” โดยหวังเห็นการทำงานด้านความรับผิดชอบที่ต่อเนื่องและยั่งยืน โดยมีพื้นที่พัฒนา 4 จังหวัด คือ พิษณุโลก ปทุมธานี ชลบุรี และ สงขลา และในปีที่ 1 การพัฒนาโครงการเริ่มจากการศึกษาชุมชนในพื้นที่รอบคลังน้ำมันด้วยวิธีการศึกษาเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม เพื่อนำสู่การสร้างความร่วมมือในการวางแผนพัฒนาเมืองน่าอยู่ร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง และในกระบวนการพัฒนาเมืองน่าอยู่แห่งความสุข ได้ทำการศึกษาชุมชนในพื้นที่รอบคลังน้ำมันลำลูกกา ควบคู่ไปกับการพัฒนานวัตกรรมความร่วมมือด้วยการส่งเสริมให้คุณครูในท้องถิ่นพัฒนา“หลักสูตรท้องถิ่นจากโครงงาน” จากแหล่งความรู้ที่มาจากชุมชนและเกิดการบูรณาการไปกับวิชาต่างๆ ไปพร้อมกัน ซึ่งแนวคิดในหลักสูตรนี้จึงสอดคล้องกับเป้าหมายการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 คือการพัฒนาคนไทยให้เกิดคุณลักษณะพึงประสงค์ คือเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เป็นการเตรียมพลเมืองให้กับสังคมจากการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน โดยมีแนวคิดการจัดการเรียนการสอนแบบไม่เน้นเนื้อหา แต่มุ่งส่งเสริมคุณค่า อันเป็นเป้าหมายการศึกษาคือ เพื่อการเตรียมเด็กและเยาวชนให้เป็น พลเมืองท้องถิ่น […]
Tom Hardy ดาราดัง Hollywood กับการมองโลกในมุมใหม่ และค้นพบการได้ทำงานเพื่อผู้อื่นกลับเป็นการสร้างพลังชีวิต
สำหรับประเทศไทยเรามีความเชื่อว่า หรืออาจเป็นความเชื่อของคนทั้งโลกในยุคบริโภคนิยม เมื่อยังเด็ก พ่อแม่อยากให้ลูกๆ เรียนเพื่อให้เป็นเจ้าคนนายคน เมื่อถึงวัยทำงาน เราควรได้ทำงานสบาย มีความมั่นคงและมั่งคั่ง เมื่อถึงวัยเกษียณอายุ เราต้องอยู่บ้านสบายๆ นอนอยู่บ้าน ไปเที่ยว ไปใช้เงิน ไปใช้ชีวิตที่ผ่านมาไม่รู้ว่าใช้อะไร Tom Hardy ดาราดัง Hollywood ผู้เคยพลาดมาแล้วในชีวิตด้วยหลงผิดไปติดยา แต่การได้รับการบำบัดและหันมามองโลกในมุมใหม่ และค้นพบการได้ทำงานเพื่อผู้อื่นกลับเป็นการสร้างพลังชีวิต เติมคุณค่าให้ตัวเอง ได้ออกมาเชิญชวนให้คนออกมาเป็นทำอะไรเพื่อผู้อื่นบ้าง ออกมาหาและสร้างคุณค่าให้ตัวเอง โดยเฉพาะผู้ที่เข้าใกล้วัยเกษียณ หากได้ออกมาสร้างงาน สร้างคุณค่าในงานพัฒนาต่างๆ อาจทำให้ตนเองมีกำลังวังชา ไร้โรคา ไม่เบียดเบียนลูกหลาน สำหรับคนวัยทำงาน Peter Drucker ได้เขียนหนังสือเรื่อง “Managing Oneself” กล่าวไว้ว่า ในวัยทำงานที่เข้าสู่อายุ 30 ปี การได้ออกมาทำงานในองค์กรสาธารณะประโยชน์ หรือ พัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมของตัวเอง คือการวางรากฐานชีวิตที่จะสร้างความมั่นคงทั้งด้านเศรษฐกิจ และ ด้านการมีชีวิตที่เต็มคุณค่า การเริ่มในวัยต้นๆ นี้ทำให้ได้มีโอกาสบ่มเพาะทักษะความรู้ที่จะไปทำงานในด้านนี้เมื่อเข้าสู่วัยแห่งการเลือกเป้าหมายใหม่ในชีวิตในแต่ละจังหวะของชีวิตได้อย่างอิสระ อ่านต่อได้ที่ >> https://truththeory.com/2019/09/29/25-tom-hardy-quotes-that-will-bring-more-wisdom-to-your-life
Circular Economy ไม่ควรเป็นเพียงกลไกของการจัดการพลาสติกอย่างเดียว
วันนี้ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ Circular Economy ไม่ควรเป็นเพียงกลไกของการจัดการพลาสติกอย่างเดียว แต่หัวใจของเศรษฐกิจหมุนเวียนควรหมายถึง 1.การนำผลิตภัณฑ์ให้กลับมาอยู่ในการใช้ในทุกรูปแบบให้นานมากที่สุด 2.การยอมจำนนกับการเพิ่มผลผลิตที่มากขึ้นทุกปีเพื่อสร้างรายได้ แต่การสร้างรายได้ในห่วงโซ่ impact value ของวัตถุที่เหลือจากการผลิต 3. การเปลี่ยนสภาพวัตถุประสงค์ของผลผลิตหรือทรัพยากรที่ถูกแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้กลับมาใช้ในวัตถุประสงค์ใหม่ๆ ได้ (repurpose) 4. การเปลี่ยนมือการถือครอง เช่น ของมือสอง อื่นๆ อีกมากมายที่รอมนุษย์หันมาใช้จินตนาการและความสร้างสรรค์อย่างจริงจังในการยืดระยะเวลาการมีชีวิตของทรัพยากรที่เปลี่ยนสภาพให้กลับมาหมุนเวียนใช้ให้นานที่สุด ก่อนทิ้งกลับไปสู่หลุ่มฝั่งกลบจนเป็นทั้งขยะและมลพิษ ที่ทำร้ายพวกเรากันเอง เวียนอยู่อย่างนี้ไม่สิ้นสุด ดูวีดีโอได้ที่ https://web.facebook.com/bbc/videos/2396828633686823
Time to stop the expansion of the fossil fuel industry immediately
“To world leaders we say: it is time to stop the expansion of the fossil fuel industry immediately. Not a single new mine can be dug, not another pipeline built, not one more well dropped into the ocean.” —May Boeve, 350.org บทความนี้ถ้าทุกคนได้อ่านแล้ว อาจจะเป็นอันตรายต่อการหายใจหายคอในวันนี้ คุณอาจไม่ต้องไม่มีเวลาอ่านรายงานของ UN ฉบับนี้ จนจบ แต่ขอให้คุณจิตนาการว่าอุณภูมิที่สูงขึ้น 3.9 องศาเซลเซียส ในสิ้นทศวรรษนี้ มันทำอะไรกับชีวิตมนุษย์บ้าง ทุกวันนี้กับความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ และ ภัยพิบัติ […]
คุณครูฟิลิป คอตเลอร์ บิดาการตลาดสมัยใหม่ ได้แนะนำ 10 สิ่งที่นักการตลาดแห่งอนาคตต้องรู้
คุณครูฟิลิป คอตเลอร์ บิดาการตลาดสมัยใหม่ ได้แนะนำ 10 สิ่งที่นักการตลาดแห่งอนาคตต้องรู้ เมื่อมาพูดที่เมืองไทยในเดือนตุลาคม 2562 ที่งาน World Marketing Submit เคน นครินทร์ สรุป 10 สิ่งที่นักการตลาดแห่งอนาคตต้องรู้ จากการสัมภาษณ์ว่า อะไรคือความท้าทายของนักการตลาดในอนาคต กลยุทธ์แบบ 4P (Product, Price, Place, Promotion) ยังคงใช่ได้หรือไม่ 1. เลิกคิดแต่ Profit ให้ใส่ใจ People และ Planet นักการตลาดและองค์กรในยุคนี้ต้องโฟกัส 3P ซึ่งสัมพันธ์กันและกัน นั่นคือ Profit การทำกำไร People ความสุขของคนที่เราร่วมงานด้วย Planet สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน หลังจากนี้ถ้าเราอยากจะทำกำไรที่มากขึ้น ให้บอกทุกคนด้วยว่าดัชนีด้าน People และ Planet คุณทำได้ดีหรือเปล่า นักการตลาดสมัยใหม่ไม่สามารถมองแค่มิติของ Profit อย่างเดียว สิ่งสำคัญคือต้องบาลานซ์ระหว่างการทำกำไรสูงสุด ไปพร้อมกับการทำให้โลกเกิดความยั่งยืน มีหลักฐานยืนยันแล้วว่า […]
สิงคโปร์สร้างเมืองอย่างไรให้สีเขียว
นั่นซิสิงคโปร์เขาสร้างเมืองอย่างไรให้สีเขียว คงไม่ใช่สักแต่ปลูกต้นไม้ แต่คงมียุทธศาสตร์ ยุทธวิธี กลยุทธ์ กลเม็ด และกลวิธีอะไรที่การเรียนรู้จากการไปดูเยี่ยมชม จะทำได้ ยุทธ์ศาสตร์ อาจเรียนแบบกันได้ แต่อย่างหลังคือ ต้องเกิดจาก เอาคนทั้งหมดที่จากหลายศาสตร์หลายอาชีพมาคิดร่วมกันบอกว่าอยากทำอะไร (ควรมีประเด็นตั้งต้น) ทำแค่ระดับตำบลเล็กๆ คิดทุกอย่างให้เชื่อมโยงกัน ใช้พลังประชาชนที่ฝันพ้องต้องกัน ใช้อำนาจเฉพาะเขตของตัวเอง ใช้กลุ่มมดงานสร้างงานให้เกิดทันทีเมื่อคุยบนโต๊ะจบ แล้วมาถอดบทเรียนเชื่อมโยงกันต่อ ทุกวันนี้ความเป็นเมืองสีเขียวของสิงคโปร์เป็นที่กล่าวถึงอย่างมาก แต่ความน่าสนใจจริงๆ ของเรื่องนี้ต้องเริ่มที่ประโยคแท็กไลน์ของแผนการพัฒนาเมืองของสิงคโปร์ที่ว่า ‘Bring the bees and boeings to the City in the Garden’ น่าสงสัยว่าผึ้งกับเครื่องบินโบอิ้งมาเกี่ยวข้องอะไรกัน เรื่องราวเริ่มต้นที่ ‘ที่ดิน’ ปัจจัยการพัฒนาประเทศที่สิงคโปร์มีน้อยกว่าเพื่อน ฉะนั้นการบริหารที่ดินต้องคิดอย่างถ้วนถี่เพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าที่สุด ส่งผลให้การสร้างแบรนด์ของประเทศออกมาในแนวคิด The Garden City ที่เชื่อมเรื่อง ‘ธรรมชาติ’ กับ ‘ธุรกิจ’ เข้าด้วยกัน ผึ้งในแท็กไลน์คือตัวแทนพื้นที่สีเขียว ส่วนเครื่องบินโบอิ้งคือตัวแทนการพัฒนาเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์ พูดง่ายๆ คือสิงคโปร์มองออกว่าคุณภาพชีวิตกับเศรษฐกิจเป็นเรื่องเดียวกัน ทำอย่างหนึ่งต้องได้ประโยชน์อีกอย่างด้วย จากประเทศที่มีขนาดเมืองเล็กกว่าครึ่งของกรุงเทพฯ ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายหมดในสมัยอาณานิคม […]
Trash Talk รวม Ethical Business รวมตัวกันครั้งใหญ่ เพื่อ แบ่งกับผลลัพธ์จาก โครงการและธุรกิจ circular economy
Trash Talk รวม Ethical Business รวมตัวกันครั้งใหญ่ เพื่อ แบ่งกับผลลัพธ์จาก โครงการและธุรกิจ circular economy ที่ อสทม. ออดิทอเรียม ชั้น 6 ในวัน ศุกร์ ที่ 22 พฤศจิกายน 13:00-17:30 นี้ครับ ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งมี guest speaker ดังนี้ 1. Moreloop นำผ้าเหลือใช้มาวนใช้ใหม่เป็น circular economy Moreloop เลือกเข้าไปแก้ปัญหาผ้าเหลือจากการผลิตของโรงงานในอุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษให้โลกเป็นอันดับที่ 2 รองแค่จากการผลิตน้ำมัน . 2. GEPP เก็บขยะพลาสติกด้วย Data analytic และ เทคโนโลยี GEPP Sa-Ard (เก็บ สะอาด) แพลตฟอร์มเชื่อมโยงระหว่างคนอยากขายขยะกับคนอยากซื้อขยะให้มาเจอกันได้ง่ายขึ้น ชาวเมืองที่ยังต้องหิ้วถุงพลาสติกกันอยู่ทุกวันก็สามารถแยกและขายขยะรีไซเคิลได้ ส่วนคนที่ตั้งใจอยากแยกขยะแต่ยังไม่รู้จะเอาไปขายที่ไหนก็แค่ยกหูโทรศัพท์ ทักไลน์ไปหา หรือเพียงใช้นิ้วจิ้มผ่านแอพพลิเคชั่น […]
ทำไมอาหารที่ปลูกในท้องถิ่น จึงดีกว่าเพื่อสิ่งแวดล้อม
กินอาหารที่ปลูกในท้องถิ่นตัวเอง การคิดวันนี้ คิดหลายมิติจะได้คำตอบที่มีทางเลือกมากมายลองมาอ่านสรุปจากคอลัมน์นี้กัน: ?ดีต่อสุขภาพร่างกาย – ดิน น้ำ ลม ไฟ ประกอบในพืชผัก สร้างความสมดุลต่อร่างกายของคนในประเทศนั้นๆ และได้ทานอาหารตาใฤดูกาล ร่างกายไม่ต้องปรับตัวกับพืชผักที่ปลูกมาจากต่างถิ่น ?ดีต่อสิ่งแวดล้อม – ไม่ต้องเสียค่าเดินทาง ไม่มีการขนส่งข้ามทวีป ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้อุณหภูมิขอวโลกเปลี่ยน และอื่นๆ อีกมากมาย ?ดีต่อใจ – อุดหนุนคนท้องถิ่น สร้างเครือข่ายผู้คนในบ้านเดียวกัน link บทความ >> https://www.greenmatters.com/p/why-locally-grown-food-better-environment