เตรียมพร้อมปรับตัวแบบจริงจังไม่เล่นๆ เสียงเตือนจากผู้ว่าแบงก์ชาติ เร่งปรับตัวรับโลกเปลี่ยน
1. การก้าวสู่การพัฒนาเทคโนโลยี่แบบก้าวกระโดด
คนอายุ 40-ุ60 ที่ยังก้าวตามเทคโนโลยี อาจมีความสามารถตามโลกทัน วันนี้ คนยุคนี้ถ้าหันไปถามน้องๆ ว่า จะ ทำอะไรที่คนทั่วไปเขาทำแค่ อ่าน แชร์ กด ไลค์ ว่ามันทำอะไรได้มากกว่านี้ เราอาจจะช่วยเด็กรุ่นใหม่รวมพลังสร้างสรรค์โลกที่หันมาดูแลธรรมชาติกันได้มากกว่านี้ ก็ควรทำไม่น่าเกลียดอะไรเลย ส่วนคนรุ่นใหม่ อย่ารังเกียจทำงานกับรุ่นพี่กว่า เพราะ การผสานพลัง 2 วัย จะไปไกลมาก หลักสำคัญ คือ คนทุกวัย อย่ายึดอัตตาตัวเองจนเกินงาม และ ไม่สร้างสรรค์โลก
2. สังคมผู้สูงอายุ
คงจะไม่เป็นสังคมแห่งการสงเคราะห์แบบในอดีต แต่ผู้สูงอายุ ที่หาเงินไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้แบบไม่ต้องไปพึ่งลูกๆ ก็ต้องสร้างประโยชน์ อย่าชิวเกิน เพราะ ชิว จะนำพาโรคร้ายต่าง และ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพที่หนักหนาตามมาเร็ว ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้มาแน่ๆ และจะเป็นทุกข์กับลูกๆ หลานๆ ที่เขามีความกตัญญูต่อผู้สูงวัย พึ่งตนเองทั้งเชิงเศรษฐกิจ และ สังคม ได้มากที่สุด เป็นเรื่องเยี่ยมยอด
3. ธุรกิจที่ยั่งยืน (Sustainable business)
บริษัทมหาชน คงไม่คิดทำแค่มีรายงาน DJSI, Global Reporting Initiatives, SROI, SIA แต่คงจะทำให้มันเกิดจริงเป็นรูปธรรม ต่อจากนี้ คงเป็นไปไม่ได้ที่จะพยากรณ์ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่มากขึ้นทุกปี หรืิอนั้นอาจหมายถึง ยอดขายไม่เข้าเท่าเดิม ค่าใช้จ่ายอาจคงที่และสูงกว่าเดิม ชวนกันหันมาทำ เศรษฐกิจหมุนเวียนให้จริงจัง ส่วนบริษัทเจ้าของคนเดียว วันนี้จะคิดแต่กอบโกยคนเดียวเป็นไปได้หรือไม่ ดูแลทุกข์สุขพนักงาน ดูแลชุมชนรอบด้าน เป็นไปได้หรือไม่
ชวนกันหาความหมายว่า ธุรกิจที่ยั่งยืน ของบริษัทตัวเองนั้นคืออะไร
ความจริง ที่จริงๆ จะเป็นอย่างไร คนในสังคมทุกคนต้องหันมาคิดด้วยกันแล้ว
คอลัมน์ ถอดสูตรคุย โดย บรรทัดเหล็ก
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3501 หน้า 7 วันที่ 1- 4 กันยายน 2562
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thansettakij.com/content/408460