CSR จากวงน้ำชา

จาก Web bord วงน้ำชา

คนที่งานไม่ว่าจะเป็นงานอะไร อยู่องค์กรไหน หากไม่มีความภาคภูมิใจใจงานก็ยากที่จะคงความมีชีวิตชีวาได้อย่างต่อเนื่อง ความภาคภูมิใจในงานที่ทำน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราใส่ใจ ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ กำลังสมองได้อย่างเต็มที่

สัปดาห์ที่แล้วมีคนพูดให้ฟังว่า ถูกเพื่อนที่ทำงานให้ NGO พูดจาประชดประชันเพราะมารับงานให้กับธุรกิจภาคเอกชน คำพูดหนึ่งที่ได้ยินแล้วรู้สึกสะดุดคือ คำว่า “รับใช้นายทุน” เพราะฟังดูแล้วออกจะไปในทางลบพอสมควร แต่ก็ต้องยอมรับสภาพเพราะธุรกิจเอกชน มักถูกมองว่าเป็นผู้แสวงหากำไร เป็นผู้พัฒนาหรือนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ทำให้เสียสมดุลโลก และสังคม จะพ้นข้อกล่าวหาดังกล่าวได้ องค์กรคงต้องพิสูจน์ให้เห็นคุณค่าของการดำรงอยู่ของตน

วันนี้ที่บริษัทของเรามีการสัมมนากันในหัวข้อ “ธุรกิจควรมีบทบาทอย่างไรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม” โดยเชิญผู้ที่ทำงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมาเป็นผู้ให้มุมมอง ส่วนผู้ฟังก็เป็นผู้บริหารระดับสูงตั้งแต่เบอร์หนึ่งขององค์กรลงมา รวมทั้งสิ้นประมาณ 200 คน ก่อนเริ่มงาน CEO ผู้น่ารักของเราก็ได้เกริ่นนำถึงความสำคัญของการรับฟังด้วยใจที่เป็นกลางและ เน้นย้ำว่านี่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเราได้เข้าสู่ช่วงของการเปลี่ยนผ่านจากยุค Customer Centric มาเป็น People Centric คือต้องคิดถึงคนบนโลกทุกคนด้วย ถึงแม้จะทำสินค้าคุณภาพดี ต้นทุนต่ำ ตอบสนองลูกค้าที่ต้องการสินค้าได้เป็นอย่างดี แต่หากไปสร้างปัญหากัุมชุมชนหรือสร้างมลภาวะทำลายทรัพยากรของโลก ก็ไม่อาจทำธุรกจิได้ ฟังแล้วก็สบายใจว่าองค์กรของเราก็ไม่ได้มุ่งเพียงการแสวงหากำไรอย่างเดียว แน่นอน

ความคาดหวังของแขกรับเชิญที่เหมือนเป็นการตอกย้ำ (กับบรรดาผู้บริหารทั้งหลาย) ว่าสิ่งที่เรากำลังทำกันในองค์กรนั้นเป็นเรื่องจำเป็นคือ ในฐานะที่เป็นองค์กรใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมมา อย่งต่อเนื่อง เราสามารถใช้ศักยภาพและความเป็นพี่ใหญ่ขยายเรื่องเหล่านี้ไปสู่องค์กรที่ ร่วมกิจการกับเรา ขยายมาตรการต่างๆ ไปยังเครือข่ายที่ทำการค้ากับเราตลอดทั้ง Supply Chin     คุณสุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง ประธาน Social Venture Network Thailand (SVN) ใช้คำว่า Great power comes with great reponsibility โดยท่านให้ความเห็นว่า “ธุรกิจเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเป็นส่วนใหญ่ด้วย หากธุรกิจทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ก็จะช่วยให้สังคมเข้มแข็งในทุกมิติของความรับผิดชอบ ภายในองค์กรการดูแลมาตรฐานแรงงาน มาตรฐานสินค้า การค้าอย่างเป็นธรรม เมื่อทำภายในแล้วยังมีแรงเหลือไปทำภายนอก ไม่ใช่เฉพาะไม่ก่อมลภาวะแต่ต้องเป็นผู้ให้ด้วย นี่คือสิ่งที่เราอยากจะเห็นธุรกิจเอกชนขาดใหญ่ที่มีเครือข่ายกว้างทำ เพราะน่าจะมีพลังที่จะทำเรื่องนี้ได้ค่อนข้างมาก องค์กรที่มี Great Power ต้องช่วย push เพราะเราอยู่ไม่ได้ในสังคมที่กำลังจะล่มสลาย”

จัดพิมพ์ในจดหมายข่าว “ต้นธารแห่งความร่วมมือ” ฉบับที่ 2 ปีที่ 1 มิถุนายน 2551

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *