ทำไมธุรกิจที่มีคุณธรรมจึงประสบความสำเร็จ โดย คุณเอกชัย บุญยาทิษฐาน

ทำไมธุรกิจที่มีคุณธรรมจึงประสบความสำเร็จ โดย คุณเอกชัย บุญยาทิษฐาน

เป็น ที่ทราบกันดีว่าในการทำธุรกิจนั้นจุดมุ่งหมายเริ่มต้น และถือว่าเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดคือการสร้างผลกำไร เพราะเป็นที่แน่นอนว่าใครก็ตามที่นำเงินมาลงทุนในธุรกิจย่อมต้องหวังผล ตอบแทน ในการทำธุรกิจโดยทั่วไปจะมีทั้งลักษณะที่ผู้นำเงินมาลงทุนเข้ามาบริหารเอง หรืออาจไม่ได้เข้ามาบริหารเองแต่ได้จ้างผู้ที่มีประสบการณ์ในการบริหารเข้า มาทำหน้าที่แทน แต่ไม่ว่าจะเป็นลักษณะใดก็ตามหน้าที่ที่สำคัญสำหรับผู้บริหารองค์กรธุรกิจก็ คือการบริหารจัดการให้เกิดผลกำไร เพื่อปันส่วนหนึ่งให้กับผู้ถือหุ้นที่นำเงินหรือทรัพย์สินมาลงทุน และอีกส่วนหนึ่งเพื่อสะสมไว้สำหรับขยายกิจการต่อไป

การ สร้างผลกำไรให้กับกิจการนั้นเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการกันอย่างรอบคอบ เป็นธรรมดาที่ว่าการทำธุรกิจนั้นถือว่าได้นำตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องกับความ เสี่ยง ส่วนที่ว่าจะเสี่ยงมากน้อยแค่ใหนนั้นส่วนหนึ่งมาจากลักษณะของธุรกิจที่ทำ อยู่ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะมันเป็นธรรมชาติของธุรกิจเหล่า นั้นเอง หรืออาจจะเรียกได้ว่ามันมีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่ถือว่าเป็นปัจจัยที่พอจะ ควบคุมได้นั่นคือปัจจัยด้านการบริหารจัดการ

ด้วย เหตุนี้เององค์กรธุรกิจที่มุ่งสร้างผลกำไรจึงพยายามที่จะกำหนดปัจจัยในการ บริหารจัดการเพื่อให้ธุรกิจสามารถมีส่วนแบ่งอยู่ในตลาด และสร้างผลกำไรขึ้นมาได้ ปัจจัยในการบริหารจัดการที่ว่านี้มักจะออกมาในรูปของการนำระบบการบริหาร จัดการที่เป็นที่ยอมรับกันในสากลเข้ามาประยุกต์ใช้คู่กันไปกับงานประจำ ซึ่งมักจะเป็นระบบการบริหารจัดการเชิงคุณภาพทั้งหลาย เช่น 5ส คิวซีซี ระบบกิจกรรมเสนอแนะ ระบบ ISO 9000 หรือแม้กระทั่งระบบงานในระดับสูงเช่นระบบ TQM หรือ การบริหารแบบลีน

เป็น ที่แน่นอนว่าระบบเหล่านี้เป็นระบบงานที่มีจุดมั่งหมายในการสร้างคุณภาพให้ กับผลิตภัณฑ์หรือการบริการให้กับองค์กรเพราะผลิตภัณฑ์หรือการบริการที่มี คุณภาพเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ธุรกิจสามารถคงอยู่ในตลาดได้ อย่างไรก็ตามเป็นที่รู้กันดีในแวดวงของการบริหารจัดการว่าความหมายของคุณภาพ ในปัจจุบันนั้นได้เปลี่ยนไปจากเดิม จากการที่ผลิตภัณฑ์หรือการบริการต้องเป็นไปตามข้อกำหนดที่ตั้งไว้ กลายไปเป็น “การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า”

โลกในปัจจุบันถือว่าอยู่ในลักษณะของ โลกาภิวัตน์ (Globalization) ซึ่ง มีสาเหตุมาจากการการที่ข้อมูลข่าวสารสามารถที่จะเชื่อมถึงกันได้อย่าง รวดเร็ว และแพร่หลาย ผ่านทางหลายช่องทางการสื่อสารที่นับวันจะยิ่งรวดเร็วขึ้น การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าจึงมีความซับซ้อนขึ้นอย่างมากมายสืบเนื่อง มาจากความซับซ้อนของความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เรื่อยๆ และปัจจัยที่สำคัญมากที่จะสร้างความพึงพอใจนี้ได้นอกจากจะต้องมีระบบการ บริหารจัดการภายในที่ดีแล้ว ยังต้องสร้างระบบการบริหารจัดการภายนอกให้ดีอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ “ภาพลักษณ์”

เมื่อมองในแง่มุมของการบริหารจัดการสิ่งที่ผู้บริหารจะต้องมี และจะต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมากคือ “ความรับผิดชอบ” หากจะถามต่อว่าความรับผิดชอบที่ต้องมีนั้นคือความรับผิดชอบต่ออะไร? คำตอบง่ายๆที่เป็นหนึ่งเดียวในที่นี้ก็คือ ความรับผิดชอบต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียของกิจการ เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้วผู้บริหารก็ต้องหาหนทางในการบริหารจัดการให้เกิดความ รับผิดชอบต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งหากสามารถทำเช่นนี้ได้ก็ย่อมสามารถที่จะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของ ธุรกิจอย่างยั่งยืนได้

ใน แง่มุมของผู้ที่มีส่วนเสีย ก่อนอื่นผู้บริหารก็ต้องรู้จักก่อนว่าใครคือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับ องค์กร ความจริงแล้วเมื่อพิจารณาตามคำศัพท์ว่า “ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย” นั้นย่อมมีความชัดเจนอยู่ในตัวมันเองอยู่แล้ว หรืออาจจะพูดได้ว่าเป็นใครก็ตามที่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการที่องค์กรดำเนินการ ไล่มาตั้งแต่ที่สำคัญมากๆก็คือผู้ถือหุ้นที่เอาเงินมาลงให้กับกิจการ ต่อไปก็คือลูกค้าที่ซื้อผลิตภัฑ์หรือการบริการไป ถัดไปที่อยู่ใกล้ตัวมากกลุ่มหนึ่งก็คือลูกจ้างของกิจการ นอกจากนั้นก็เป็นชุมชนที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงกับที่กิจการตั้งอยู่ รวมทั้งหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรงและโดยอ้อม

กลุ่ม ทั้งหลายเหล่านี้เองที่กิจการต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ยึดถือหลักของถึง คุณธรรมเป็นใหญ่ ซึ่งหมายถึง กิจกรรม ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการของกิจการจะต้องไม่ไปส่งผลในทางลบให้กับผู้ที่มีส่วนได้ส่วน เสียเหล่านี้ ไม่เช่นนั้นแล้วกิจการจะต้องตกอยู่ในภาวะลำบาก

มา ดูในแง่ของผู้ถือหุ้นเป็นอันดับแรก กิจการมีหน้าที่รับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นในการที่จะต้องสร้างผลกำไรที่แท้จริง ให้เกิดขึ้น แล้วแบ่งผลกำไรนั้นตามที่ได้ตกลงกันไว้ให้กับผู้ถือหุ้น คุณธรรมที่สำคัญคือการที่กิจการต้องบริหารให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด ส่วนผลกำไรที่จะต้องสร้างให้เกิดขึ้นมานั้นก็จะต้องไม่อยู่ในลักษณะที่ เบียดเบียนผู้อื่นด้วยวิธีเอารัดเอาเปรียบในทางการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการผูกขาด การกดราคาเพื่อให้คู่แข่งอยู่ไม่ได้ หรือการนำกิจการเข้าไปเสี่ยงกับการลงทุนที่ไม่ได้มีการวิเคราะห์ความเป็นไป ได้ ว่าจะสร้างผลกำไรโดยไม่เบียดเบียนผู้อื่นหรือไม่เสียก่อน

ใน แง่ของลูกค้ายิ่งเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังให้หนักเพราะความเป็นโลกาภิวัตน์ ดังกล่าวข้างต้น กิจการจึงต้องมีความรับผิดชอบ และมีคุณธรรมในการสร้างผลผลิต ผลผลิตจะต้องมีคุณภาพเหมาะสมกับราคาไม่เอาเปรียบลูกค้า บริการหลังการขายต้องเป็นไปด้วยความบริสุทธ์ใจไม่แอบแฝง ผลิตภัณฑ์หรือการบริการต้องไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อลูกค้า โดยเฉพาะเด็ก รวมทั้งไม่สร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อม เช่นประเภทที่อาจเป็นพิษ หรือใช้เวลานานมากในการย่อยสลายตามธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้ล้วนกระทบภาพลักษณ์ที่ดี ที่จะทำให้ลูกค้ามาซื้อซ้ำ และแนะนำคนอื่นต่อไป

ใน ส่วนของลูกจ้างของกิจการเองจะเห็นได้ว่าหลายกิจการทีเดียวต้องล่มสลายไป เพราะการเอาเปรียบลูกจ้าง การเอาเปรียบลูกจ้าง หรือการไม่มีความรับผิดชอบต่อลูกจ้างเกิดขึ้นได้หลายทาง เช่นกดค่าจ้างแรงงาน ใช้งานเกินสภาพที่ควรจะเป็น สวัสดิการไม่มีให้ ไม่เคารพหลักสิทธิมนุษยชน ใช้แรงงานเด็ก ใช้แรงงานสตรีแบบไม่ยุติธรรม บริหารจัดการแบบแบ่งแยกชนชั้น สีผิว ชาติกำเนิด ครอบครัว การศึกษา สิ่งที่เกี่ยวข้องในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงานอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ลูกจ้างอยู่ในสภาพที่เสี่ยงภัยในการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพ หรือปัจจัยด้านความเป็นมนุษย์ ในขณะเดียวกันการปฎิบัติเช่นนี้ก็หลีกหนีกฎธรรมชาติไปไม่พ้นที่ผลสะท้อนกลับ ก็มีมาในลักษณะเดียวกัน ทำให้ประสิทธิภาพตกต่ำ คุณภาพของสินค้าและการบริการไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด สร้างความไม่พึงพอใจให้กับลูกค้า สุดท้ายก็ไปไม่รอด

ใน แง่ของชุมชนโดยรอบหากดำเนินงานกันอย่างไม่มีคุณธรรม ไม่ให้ความสนใจต่อชุมชนในละแวกที่กิจการตั้งอยู่ ปล่อยมลพิษไม่ว่าจะเป็นทางเสียง ทางกลิ่น ปล่อยสารพิษออกสู่อากาศสร้างภาะวะสุขภาพไม่ดีให้กับชุมชน ปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำลำคลอง หรือลงสู่ผิวดินการกระทำที่ไม่มีคุณธรรมเหล่านี้ย่อมไม่อาจพ้นสายตาชาวบ้าน ไปได้ สุดท้ายก็จะเกิดการต่อต้าน เกิดการร้องเรียนกับภาครัฐ หรือกับสื่อมวลชน ไม่สามารถหาแรงงานในท้องถิ่นได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนบั่นทอนสมรรถนะการดำเนินงานของกิจการทำให้ยากที่จะก้าวเข้า สู่ความสำเร็จ

ใน แง่ของความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานของรัฐ กิจการมีหลายช่องทางจะทำได้ซึ่งเป็นช่องทางที่มีคุณธรรม ซึ่งประกอบไปด้วยการปฎิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆที่ เกี่ยวข้องกับกิจการโดยปราศจากมะเร็งร้ายที่ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างแม้แต่ ประเทศชาติคือ การคอรัปชั่น กิจการต้องเข้าใจว่าการคอรัปชั่นนั้นความหมายกินความทั้งการให้ และการรับ ใครหรือหน่วยงานใดก็ตามที่เข้าไปเกี่ยวข้องอยู่กับกระบวนการทั้งสองนี้จัด ว่าเป็นการกระทำที่คอรัปชั่นทั้งสิ้น การคอรัปชั่น หรือการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเพื่อผลในทางธุรกิจถือเป็นการเอาเปรียบ และเบียดเบียนผู้อื่น และขัดต่อหลัการค้าเสรี หลายองค์กรจึงมักประสบกับความล่มสลายในที่สุดจากพฤติกรรมเช่นว่านี้

ทั้ง หมด นี้จะเห็นได้ว่าการประกอบกิจการที่ไม่คำนึงถึงคุณธรรมล้วนแต่สร้างปัญหาให้ กับองค์กรได้ทั้งสิ้นและเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จ ในระยะยาว คุณธรรมดังกล่าวนี้ในปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าการใช้หลักการของความพอ เพียงมาช่วยประกอบการพิจารณาถือว่าสามารถทำให้องค์กรเข้าใจในวิธีการที่จะ ดำรงคุณธรรมได้ อย่างไรก็ตามเป็นที่เข้าใจผิดกันอยู่มากว่า ความพอเพียงนั้นเป็นอุปสรรคของการทำกิจการ ซึ่งเป็นเพราะความไม่เข้าใจในหลักความพอเพียงดังกล่าว

เช่นเดียวกับคำว่า “สันโดษ” ที่ เข้าใจกันว่าความสันโดษคือการไม่เอาอะไรแล้ว ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างรุนแรง เพราะความหมายที่แท้จริงของสันโดษคือความพอใจในสภาพของตนตามความสามารถของตน ในขณะนั้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีความไม่ประมาทต้องขวนขวายหาความก้าวหน้าต่อไป ความพอเพียงนี้ก็เช่นกันจุดเน้นก็คือการบริหารจัดการอย่างมีเหตุผล และสร้างภูมิคุ้มกัน เป็นการบริหารจัดการด้วยความระมัดระวังให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด และเกิดการบูรณาการนั่นเอง

ถามว่าหลักความพอเพียงกู้เงินได้หรือไม่? ทำเมกะโพรเจคได้หรือไม่? พอเพียงไปกันได้กับโลกาภิวัตน์หรือไม่? คำ ตอบก็คือว่าได้ทั้งนั้น แต่ต้องทำด้วยความระมัดระวังโดยใช้ความรอบรู้ และคุณธรรมเป็นตัวนำ แนวทางนี้จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นหลักได้อย่างดีในการบริหารจัดการ ธุรกิจอย่างมีคุณธรรม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *