สาระของ “การให้” ในวันที่…ลมหนาวมาเยือน

สาระของ “การให้” ในวันที่…ลมหนาวมาเยือน

แหล่งที่มา: ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 07 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4164  หน้า 30
หรือ  http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02csr03071252&sectionid=0221&day=2009-12-07

แม้ จะยังคงเป็นวิวาทะระหว่าง ค่ายคิดที่มองว่า เพียงการบริจาคและการให้ไม่ได้เหมารวมว่า CSR ในขณะที่บางองค์กรมองว่า การให้และการบริจาคถือเป็นหนึ่งในความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ซึ่งหากมองในระดับ CSR ในเชิงกลยุทธ์รวมไปถึง การจัดสรรงบประมาณจะเห็นได้ว่า องค์กรธุรกิจที่แม้ว่าจะพยายามหันไปดำเนินโครงการเพื่อสังคมที่ยั่งยืนมาก ขึ้น หากแต่ในเวลาเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับการจัดสรรงบประมาณสำหรับ “การให้” และ “การบริจาค” อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดภัยพิบัติ

เช่นเดียวกับ “ภัยหนาว” ที่ผู้คน ในหลายจังหวัดของประเทศกำลัง ประสบ

สำหรับคนเมือง นี่คืออากาศที่ทุกคนอยากสัมผัส แต่สำหรับผู้คนในถิ่นกันดารห่างไกลที่อุณหภูมิต่ำจัดและขาดแคลนเครื่องกัน หนาว ทุกหน้าหนาว นั่นคือ ความทรมาน ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน การระดมสิ่งของขององค์กรธุรกิจผ่านสารพัดกิจกรรมเพื่อนำไปบริจาคให้กับผู้คน ที่ประสบภัยหนาวจึงปรากฏให้เห็นจนชินตาเช่นหลายปีที่ผ่านมา

เพียงแต่ที่น่าสนใจก็คือ ในปีนี้แม้กิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวจะเป็นเพียง “การให้” และ “การบริจาค” แต่จะเห็นได้ถึงความเปลี่ยนไปของเนื้อหาสาระ ที่ถูกสอดแทรกอยู่ในกิจกรรมการให้และการบริจาคเหล่านั้น ขึ้นกับมุมมองและวิธีคิดขององค์กรในฐานะผู้

อย่าง “โครงการทำดีทุกวันจากดีแทค” ที่ในปีนี้ได้ออกแบบกิจกรรมการช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยหนาวผ่านกิจกรรม CSR แบบอาสาช่วยเหลือชุมชน (Community Volunteering) ภายใต้ชื่อ “ถัก เย็บ ทอน้ำใจ รวมพลังต้านภัยหนาว” โดยรณรงค์ให้พนักงานและครอบครัวของดีแทค ทั่วประเทศที่มีฝีมือในการถักผ้าไหมพรมให้เป็นผ้าห่ม เสื้อ และผ้าพันคอ ที่รวมแล้ว ได้จำนวนกว่า 300 ชิ้น ซึ่งจะนำไปช่วย ผู้ประสบภัยหนาวในพื้นที่ต่าง ๆ ต่อไป

ซึ่งถือเป็น “การให้” ที่จะช่วยต่อยอด กิจกรรมจิตอาสาในองค์กร ซึ่งที่ผ่านมาดีแทคได้ดำเนินการมาแล้วหลายรูปแบบ เช่น การให้พนักงานมีโอกาสช่วยเหลือ ผู้ป่วยในโรงพยาบาล กิจกรรมเปิดโลกทัศน์และกิจกรรมนันทนาการสำหรับเด็ก ๆ จากสถานสงเคราะห์ต่าง ๆ รวมไปถึงให้ พนักงานมีส่วนร่วมในการระดมทุนเพื่อหารายได้เข้าหน่วยงานสาธารณกุศล

ขณะที่โรงพยาบาลบีเอ็นเอชก็มีกิจกรรมที่ไม่ได้แตกต่างกันมากนักในการเชิญ ชวน ผู้ที่สนใจร่วมถักนิตติ้งไหมพรม เพื่อนำมาต่อกันเป็นผืนผ้าห่ม เพียงแต่เป้าหมายไม่ได้อยู่เพียงพนักงานในองค์กรเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าจะเป็นคนในชุมชนบริเวณโรงพยาบาล ลูกค้า คู่ค้า และผู้ที่สนใจ ในชื่อโครงการ “BNH Let”Knit” และมีเป้าหมายอยู่ที่ไม่ได้เพียงการช่วยเหลือผู้เดือดร้อนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนเมืองและคนชนบท รวมไปถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ในกลุ่มต่าง ๆ

ที่น่าสนใจก็คือ ในช่วงเริ่มต้นของโครงการมีการตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะสามารถรวมผ้าที่ได้จากการถักไหมพรมจำนวน 30,000 ผืน และจะนำมาต่อเป็นผ้าห่มได้ 300 ผืน เพื่อนำไปมอบให้กับเด็กที่โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม จังหวัดตาก แต่มาถึงวันที่จบโครงการที่ทำการส่งมอบผ้าห่มจริง กลับสามารถรวมผ้าผืนเล็ก ๆ ได้ถึง 40,000 ชิ้น และสามารถต่อเป็นผ้าห่มได้มากถึง 412 ผืน ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้

สำหรับ “เดอะ ไมเนอร์ กรุ๊ป” ที่ปีนี้เลือกใช้แบรนด์ “เอสปรี” (Esprit) ในการจัดกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว ภายใต้โครงการ “Do it with Love” ซึ่ง จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่ผ่านมาได้เคยใช้โครงการนี้ในการระดมทุนช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยในด้านต่าง ๆ ไปแล้ว อาทิ ภัยแล้ง ฯลฯ โดยร่วมมือกับสภากาชาดไทย และในครั้งนี้ถือเป็นอีกครั้งของการบริจาค ที่เลือกใช้ช่องทางของร้านเอสปรีที่อยู่ตามศูนย์การค้าในกรุงเทพฯ เป็นจุดร่วมรวมรับเสื้อผ้าในการบริจาค รวมทั้งแบ่งส่วนแบ่งจากรายได้ในการจำหน่ายสินค้าเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย หนาว โดยออกแบบกิจกรรมที่สอดรับกับนโยบายของธุรกิจที่มีเป้าหมายในการสร้างรายได้ ให้เติบโตควบคู่ไปกับการทำกิจกรรมเพื่อสังคม

และนี่เป็นความหลากหลายของความเชื่อและมุมมองของบริษัทที่สะท้อนสู่การก ระทำ ที่แม้ดูเหมือนว่าจะเป็นการช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวเรื่องเดียวกัน แต่มีวิธีการที่เดินไปถึงเป้าหมายที่แตกต่าง ว่าแต่คุณเองเชื่อในวิธีคิดแบบไหน !

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *