พลังการมีส่วนร่วม และความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

อาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม,อาจารย์ชัชวาล ทองดีเลิศและคุณชาญชัย  พินธุเสน ร่วมกันเสนอแนวคิด ในการพัฒนาสังคมไทยอย่ายั่งยืน พร้อมกับการการฝ่าพ้นวิกฤตทางเศรษฐกิจ สังคม ว่าไม่ใช่เพียงหน้าที่ ใครหรือภาคส่วนใดเท่านั้น แต่การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนบนความร่วมมือสามารถสร้างพลังอันแข็งแกร่งใน การข้ามพ้นวิกฤตได้ ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนร่วมระหว่างภาคธุรกิจ กับภาคประชาสังคม หรือกับชุมชน ซึ่งมีแนวทางและหลัก 5 ประการ คือ Network, Knowledge, Communication, Policy and Management ในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมพร้อมๆไปกับการสร้างห่วงโซ่ทางสังคมภายใต้ ความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างเอื้ออาทรเพื่อความเสมอภาคและเท่าเทียม

ทุกวันนี้ สถานการณ์ สภาวะวิกฤตเกิดขึ้นไปตามกาลเวลา เติบโตสูงสุด และ ตกต่ำจนต้องทำให้ผู้คนต้องดิ้นรนและหาทางที่จะดีดตัวเองสูการเติบโตอีก ครั้ง  ทุกภาคส่วนเหลีกเลี่ยง ไม่ได้ที่จะเปลี่ยนแปลงอยู่ เสมอ และในระหว่างการทางของการเปลี่ยนกระบวนทัศน์พัฒนาสู่การเติบโตอีกครั้ง มนุษย์ย่อมพบพาปัญหาอุปสรรค ที่เป็นสิ่งขัดขวางต่างๆนานา เช่นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตที่เห็นและเผชิญร่วมกันอยู่คือวิกฤตทางเศรษฐกิจระดับโลก วิกฤตทางการเมืองที่ผู้ใหญ่บางท่านในบ้านในเมืองต่างให้ความเห็นว่าประเทศ ไทยคงข้ามผ่านปัญหาการเมืองไม่ได้ เพราะปัญหาอยู่ที่คุณภาพของนักการเมืองเอง อาจจะต้องใช้เวลา 100 ปีที่เราจะเห็นนักการเมืองคุณภาพที่ทิ้งภาพการคอรัปชั่นเป็นหนึ่งในกล ยุทธการเมืองของนักการเมืองจากรุ่นสู่รุ่น จนเกิดเป็นทัศนคติปกติของคนรุ่นต่อมาว่า คอรัปชั่นเป็นเรืองปกติที่รัฐบาลไหนก็ทำกันได้ หรือเรียกได้ว่าสังคมไทยกำลังเผชิญปัญหาความถดถ่อยของจริยธรรม  นะวันนี้พลังเล็กๆ ของทุกภาคส่วนจะร่วมกันพัฒนาสังคมไทยนี้ไปในทิศทางใด ที่ไม่ต้องมองไปที่การพัฒนาระดับประเทศ แต่ หากมามองการพัฒนาระดับจุลภาคแล้ว พวกเราจะเดินทางสายใดร่วมกันดี

คุณชาญชัย พินทุเสน ประธาน เครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมเรียก สั้นๆ ว่า เดอะเนทเวิร์ค (ประเทศไทย) ได้กล่าวว่า การพัฒนา เป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรือการบริโภค แต่การพัฒนาสิ่งที่กล่าวมาเหล่านี้มักเป็นการตอบโจทย์ความต้องการสำคัญพื้น ฐานของมนุษย์ คือ เป้าหมายแห่งความสุขซึ่งไม่ว่าจะเป็นความสุขแท้ หรือ ความสุข เทียม แต่แต่วันนี้ วิถีสังคมที่เกิดขึ้นจาการพัฒนาระบบทุนนิยมและเป็นที่มาของการสร้างปัญหา สิ่งแวดล้อมที่นับวันจะซ้ำซ้อนมากขึ้น  และทำให้เกิดปัญหาสังคมอื่นๆ ตามมาไม่ว่า จะเป็นเรื่อง  ความปลอดภัยของความเป็นอยู่ อาหารการกิน  (Human and Food Safety)ปัญหาความไม่ไว้วางใจในสังคม (Human Security) สิ่งที่มีความสวยงามที่เกิดขึ้นเพื่อร่วมกันแก้ไขพัฒนาไม่ว่าจะเป็นในระดับ ปัจเจกบุคคล กลุ่ม หรือองค์กร ต่างมีจิตสำนึกความรับผิดชอบ และ ความพยายามร่วมแก้ไขต่างๆ เช่น โลกร้อน ก็ใช้ถุงผ้า หรือ ไปร่วมกันปลูกป่า แต่การแก้ไขบนฐานจิตสำนึกรับผิดชอบที่ดีนั้น อาจจะแก้ปัญหา โลกร้อนไม่ได้อย่างรวดเร็วทันใจก็  แต่ทำไมการแสดงออกถึงจิตสำนึกนี้จะต้องอยู่ควบคู่กับการแสวงหาประโยชน์เพื่อ สนองความต้องการส่วนตัว การแก้ไขปัญหาต่างๆของแต่ละภาคส่วนหากเพียงเพิ่ม ความเอื้ออาทรด้วยความจริงใจเพื่อที่จะอยู่ร่วมกันอย่างเสมอภาค เท่าเทียม หรือแม้แต่ช่วยกันเปลี่ยนแปลงสังคมร่วมกันก็สามารถทำได้

ทั้งนี้มิใช่ เพียงหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง หรือภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่ง เพราะการพัฒนาต่างต้องร่วมกันลงมือทำเพื่อให้เป็นพลังอย่างเป็นรูปธรรม ภาคธุรกิจนับว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญทั้งเป็นผู้ผลิตและผู้ให้บริการ ณ วันนี้แม้ว่ากระแสของ CSR หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคม จะมีบทบาทต่อการดำเนินธุรกิจไม่มากก็น้อย  แต่สิ่งสำคัญในอีกมุมหนึ่งของภาคธุรกิจคือ บทบาทของ ผู้สนับสนุน ที่จะเป็นแรงผลักสำคัญต่อการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมควบ คู่กับการแสวงหากำไร หากแต่เราจะได้ยินกันคุ้นหูว่า งานพัฒนา คนที่มักจะเข้ามามีบทบาทคือ องค์กรพัฒนาเอกชน หรือ NGO ที่เป็น ผู้ลงมือทำ ผู้ปฏิบัติ อย่างจริงจังและจริงใจด้วยจิตวิญญาณโดยธรรมชาติบวกกับอุดมการณ์  แต่ปัจจุบันนั้นการส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้ NGO ทำงานได้ไม่ใช่เพียงรัฐบาลหรือทุนสนับสนุนจากต่างชาติเท่านั้น ภาคธุรกิจจึงมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้หนุนเสริมอย่างต่อเนื่อง  แม้สถานการณ์ทางการเมืองหรือภาวะสังคมใดๆก็ตาม ภาพลักษณ์ของ NGO ถูกตีความหมายไปในทางลบ เป็นเพียงผู้ต่อต้าน ผู้คัดค้าน นักเคลื่อนไหวหรือนักประท้วงโครงการของภาครัฐ  ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การสนับสนุนจากต่างประเทศ หรือจากการบริจาคลดลงในปัจจุบัน ทำให้ NGO กลับต้องคิดทบทวนและปรับยุทธศาสตร์ของการทำงานเพื่อช่วยให้ประโยชน์ส่วนรวม สามารถคงอยู่ได้ หากวันนี้เรื่องการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่เพียงหน้าที่ของ NGO เพียงผู้เดียวอีกต่อไป สิ่งที่สำคัญคือ ความร่วมมืออย่างมีส่วนร่วม  ของผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งอันดับแรกที่ NGO ให้ความสำคัญอย่างมากคือ กลุ่มเป้าหมาย ในที่นี้หมายถึง ชุมชน ที่นับว่าเป็นหัวใจสำคัญของนักพัฒนา แต่หัวใจสำคัญนี้กลับต้องใช้เวลาบวกกับความจริงจังและจริงใจในการทำงานเพื่อ ให้ได้ผลสำเร็จ ดังที่ อาจารย์ชัชวาล ทองดีเลิศ  กล่าวว่า
“การทำงานกับชาวบ้านต้องให้เห็นความ จริงจัง จริงใจ พร้อมๆไปกับการทำงานแบบ Partnership เพื่อให้รู้จักกันมากขึ้น ”

ฉะนั้น หากปัจจุบันรูปแบบของการพัฒนาจะมีรูปแบบใหม่ คือ ความร่วมมือระหว่างภาคส่วนแบบ Partnership ที่มีภาคธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมด้วยแล้ว อาจจะเป็นเรื่องใหม่ที่ NGO ต้องทำความเข้าใจ  ” เพราะกลุ่มธุรกิจไม่ได้เป็นกลุ่มเป้าหมายในการทำงานของเอ็นจีโอ ดังนั้นในมุมมองของเอ็นจีโอก็จะคิดว่าไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ภาคธุรกิจ และมองกลุ่มธุรกิจเป็น ผู้สนับสนุน ทั้งกลุ่มเป้าหมายหลักของเอ็นจีโอ คือ ชาวบ้าน กลุ่มเยาวชน ” การสร้างความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม นั้นทำให้ NGO ต้องทบทวนวิธีการทำงานที่ไม่เพียงแต่มุ่งแก้ปัญหาที่กลุ่มเป้าหมายหลักเท่า นั้น อาจจะต้องทบทวนว่า การสร้างความร่วมมือกับภาคธุรกิจที่นอกจากจะให้เป็นผู้สนับสนุนทางการเงิน เพียงอย่างเดียวนี้ ปัญหาสังคมในปัจจุบันที่ซ้ำซ้อนมากขึ้นขนาดนี้ NGO ควรค้นหารการสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคธุรกิจได้อย่างไร

องค์ความรู้ เกี่ยวกับภาคธุรกิจไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการ การบริหาร การสื่อสาร การตลาด เป็นเรื่องที่ NGO หรือภาคประชาสังคมที่จะมีรูปแบบการจัดการที่ยังต้องการการพัฒนาในเรื่อง ประสิทธิภาพ แต่หากเกิดรูปแบบการพัฒนาจากการมีส่วนร่วมบนความร่วมมือแล้ว กระบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกันก็สามารถทำได้ โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อมแล้วเป็นเรื่องที่สร้างผลกระทบอย่างกว้างขวาง ยิ่งเกี่ยวข้องกับผลแห่งการกระทำจากภาคธุรกิจผนวกกระแสเรียกร้อง ความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR ด้วยแล้ว ภาคธุรกิจกับชุมชน คือ ผู้ปะทะสังสรรค์ กันโดยตรง สาระสำคัญที่เกิดคือ สามเส้าของการมีส่วนร่วม หมายถึง สิ่งแวดล้อม ธุรกิจและชุมชน ดังที่ อาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม  ได้กล่าวว่า

“สิ่งแวดล้อม ธุรกิจ ชุมชน เป็นสามเส้า ที่ไม่ใช่เป็นเพียงสิ่งแวดล้อม CSR หรือ ชุมชน ทั่วๆไป แต่มันเป็นสามเส้า สามองค์กร อย่างมีส่วนร่วมในความร่วมมือกันเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม และความร่วมมือระหว่างธุรกิจกับชุมชน เป็นเรื่องที่สังคมวงกว้างอยากเห็นอย่างมีคุณภาพและกว้างขวาง ในระดับที่เป็นกระบวนการ movement คือ  เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง ซึ่งเป็น movement เรื่องสิ่งแวดล้อมระหว่างธุรกิจผสมผสานกับชุมชน โดยมีประชาสังคมหรือNGO เข้ามาสนับสนุน ”
และการที่จะ Movement ไปได้อย่างราบรื่น มีหลักอยู่ 5 ประการสำคัญ คือ NKCPM
Network   การสร้างเครือข่ายกับคนที่ทำหรือคนที่จะทำ ซึ่งการจะมี Network ได้ก็ต้องมีการค้นหา แล้วชวนกันเข้ามาทำ คนที่ทำ คือ ธุรกิจกับชุมชน Knowledge องค์ความรู้ จากการศึกษา ค้นคว้า สรุปบทเรียน การจัดการความรู้(KM) เพื่อการเผยแพร่
Communication  การสื่อสาร ไม่ว่าจากบุคคล เอกสาร สื่อมวลชนทั้งระดับชาติและท้องถิ่น
Policy  นโยบายตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับชาติ
Management การจัดการในการขับเคลื่อนกระบวนการทั้งการจัดการในด้านทรัพยากร มนุษย์อย่างมีธรรมาภิบาล

พลังของการมีส่วนร่วมและความร่วมมืออย่างแข็งแกร่ง (Power of Stakeholder Engagement) ไม่ว่าระหว่างภาคธุรกิจ กับ ภาคประชาสังคม หรือ ชุมชน ต่างเป็นองค์ประกอบสำคัญในการร่วมกันเปลี่ยนแปลงต่อสู่ภาวะวิกฤติสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ที่ซ้ำซ้อนมากในปัจจุบันนี้  ทุกผู้คนสามารถร่วมโอบกอดความไว้เนื้อเชื่อใจ และ ความจริงใจต่อกัน ในการพัฒนาสังคม การรักษาสิ่งแวดล้อมในวงกว้างได้ เพียงต่างต้องแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การสานสัมพันธ์อย่างกัลยาณมิตรเท่านั้น การร่วมกันเพื่อหลุดพ้นปัญหาอุปสรรครวมถึงการเดินทางสู่การพัฒนาก็สามารถทำ ได้ เพียงยึดหลักปักแน่น อย่างเข้าถึง เข้าใจ เพื่อต่อยอดสู่การร่วมกันพัฒนา

ในปี 2552 เดอะเนทเวิร์ค(ประเทศไทย) กำลังปลุกปั้นรูปแบบการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม โดยเห็นความสำคัญของรากฐานแห่งห่วงโซ่คุณค่าทางสังคม จากการแลกเปลี่ยนทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วมและมีประสิทธิภาพในวงกว้าง  หรือ Corporate Sustainable Responsibility through Stakeholder Engagement in Creating Social Value Chain
เริ่มและร่วมเป็นส่วนหนึ่งพร้อมติดตาม ความเคลื่อนไหวในการสร้างสร้างห่วงโซ่คุณค่าทางสังคมและสิ่งแวดล้อมได้จาก กิจกรรมเดอะเนทเวิร์ค(ประเทศไทย)ต่อไป…

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *