ส่งไม้ต่อ “คน (รุ่นใหม่) รักษ์ป่า” ป่าชุมชนเพื่อชุมชนที่ยั่งยืน

โดยประชาชาติธุรกิจ

แม้จุดเริ่มต้นในการทำซี เอสอาร์ให้เกิดความยั่งยืนมากกว่าการบริจาคของ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) จะเกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีก่อนที่เป็นเพียงการนำพนักงานกลุ่มหนึ่งเข้าไปปลูกต้นไม้ในป่าชุมชนตำบล บางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อกระตุ้นให้พนักงานมีจิตอาสาด้าน สิ่งแวดล้อม แต่จุดเริ่มต้นเล็ก ๆ เหล่านั้นกลับกลายเป็นกิจกรรมที่เกิดผลกระทบด้านบวกอย่างมากในปีถัดมา

เพราะโครงการหลังจากนั้นไม่ได้เป็นเพียง การเกณฑ์พนักงานเข้าไปขยายพื้นที่ปลูกต้นไม้ในป่าชุมชนอื่น ๆ แต่เป็นการ คิดใหญ่กว่าโดยการเข้าไปจับกับมือภาครัฐอย่างกรมป่าไม้ที่มีความเห็น เดียวกัน คือ ต้องการเห็นชุมชนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน ทำโครงการ “คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน” จัดประกวดป่าชุมชนต้นแบบโดยมี ถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระเทพฯ พร้อมเงินสดเป็นรางวัล

เมื่อโครงการนี้ถูกเผยแพร่ออกไป ก็ทำให้ชุมชนต่าง ๆ ตื่นตัวที่จะจัดระบบการจัดการป่าในชุมชนของตนเองและสร้างเครือข่ายระหว่าง กันให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น มากกว่านั้นยังช่วยให้ชาวบ้านรู้จักคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ใกล้ ตัว ที่นอกจากจะสร้างรายได้ของคนในชุมชนแล้วยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศ ซึ่งเป็นโครงการที่น้อยคนที่จะมองเห็น ในขณะที่บริษัทอื่น ๆ ให้ความสำคัญกับการปลูกป่าธรรมชาติ

ประยุทธ ธงสุวรรณ ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริหารองค์กร บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จริง ๆ สิ่งที่เราทำเป็นเรื่องที่กรมป่าไม้พยายามทำอยู่แล้ว เพียงแต่เราไปช่วยเขาสร้างระบบขึ้นมา ปิดจุดอ่อนระบบราชการทั้งเรื่องเวลา งบประมาณและกำลังคน ในขณะที่ภาครัฐก็มีความรู้และมีคนกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งเราไม่มี เมื่อทุกฝ่ายร่วมมือกัน เห็นประโยชน์ร่วมกัน โครงการก็ประสบความสำเร็จ

สิ่งที่ทำควบคู่กันกับการประกวด ป่าชุมชน บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯยังสร้างเยาวชนในพื้นที่ให้รู้จักคุณค่าของป่าชุมชน และสานต่อแนวคิดในการดูแลรักษาป่าชุมชนให้ยั่งยืน ในกิจกรรม “ค่ายเยาวชนกล้ายิ้ม” โดยปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 2 และได้สมาคมศูนย์พัฒนาเยาวชนวายพีดีซีมาช่วยออกแบบค่ายให้เหมาะสมกับการ เรียนรู้ของเยาวชน

“ปีนี้เราหวังผลว่าปีที่แล้วที่จะสร้าง คน รุ่นใหม่เพื่อไปรักษาป่าชุมชนต่อจาก คนรุ่นปัจจุบัน การประกวดป่าชุมชนก็เป็นการสร้างคนรุ่นปัจจุบันให้อยู่ร่วมกับป่าโดยเรา ไปกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้ แต่การนำเด็กมาเข้าค่ายครั้งนี้จะทำให้มีคนรุ่นต่อไป ที่จะช่วยสร้างให้ชุมชนเข้มแข็งขึ้น” ประยุทธกล่าว

ค่ายเยาวชนกล้ายิ้มในปีนี้ได้คัดเลือก เยาวชน 13-15 ปีที่อยู่บริเวณป่าชุมชนในกลุ่มจังหวัดต้นน้ำของประเทศอย่าง เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน รวมถึงเด็ก ๆ ที่อยู่รอบพื้นที่โรงไฟฟ้าจากจังหวัดราชบุรีกว่า 80 ชีวิตมาอยู่ร่วมกันเป็นเวลา 5 วัน ที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเรียนรู้วิถีการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับป่า

 

กิจกรรมต่าง ๆ ในค่าย นอกจากจะให้ความรู้เกี่ยวกับวิกฤตทางธรรมชาติของโลกที่จะกระทบกับคนรุ่นใหม่ แล้ว ยังมีการ เดินป่าเพื่อศึกษาพันธุ์ไม้และสิ่งมีชีวิต เปรียบเทียบระหว่างป่าชุมชนกับป่าธรรมชาติที่จะทำให้เด็กเกิดการวิเคราะห์ จากการได้สัมผัสกับของจริงเพื่อเกิดการเรียนรู้ที่ฝังลึกและนำไปใช้กับท้อง ถิ่นของตนเองได้

เหมือนกับป่าชุมชนของบ‰านทาป่าเปา จังหวัดลำพูน ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศในการจัดการป่าชุมชนจากโครงการของโรงผลิต ไฟฟ้าราชบุรีฯปีนี้ ชาวบ้านที่นั่นมีรายได้จากการเก็บของป่าขายซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัว เรือนและมี เงินออม นอกจากนี้ยังมีการรวมกลุ่มจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวและโฮมสเตย์โดยมี มัคคุเทศก์ที่เป็นเยาวชนในพื้นที่ถือเป็น ต้นแบบของการจัดการป่าชุมชนได้อย่างดี

“คิดว่าเดินมาถูกทาง เรามองเห็นความร่วมมือและความใกล้ชิดระหว่างรัฐกับชุมชนมากขึ้น กรมป่าไม้เองก็บอกว่าแนวโน้มป่าจะเพิ่มขึ้นเพราะชุมชนกลับมาดูแลป่า ถ้าเราทำให้แนวคิดเรื่องป่าชุมชนนี้เผยแพร่ไปคนก็จะกลับมาอยู่ร่วมกับป่า การที่ป่าจะเพิ่มขึ้นก็คงเป็นจริงได้เพราะเราจะมี กองทัพประชาชนที่ดูแลป่าอยู่ทั่วประเทศ” ประยุทธกล่าวทิ้งท้าย

วันนี้ที่พื้นที่ป่าทั้งหมดในประเทศไทยมี อยู่ประมาณ 100 ล้านไร่ 2.7 ล้านไร่เป็นป่าชุมชนที่สมบูรณ์กระจายอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ กว่า 7,700 แห่ง โดยส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือกว่าครึ่ง และมีแนวโน้มว่าจะมีป่าชุมชนเพิ่มขึ้นหากโครงการนี้ถูกต่อยอดออกไป

ป่า ชุมชนคืออะไร

ป่า ชุมชน หรือ comunity forest ที่ดินหรือที่ดินป่าที่ชุมชนได้รับอนุญาตตามกฎหมายให้ร่วมดำเนินกิจการกับ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจะมีการใช้ประโยชน์ร่วมกันของคนในชุมชนตามกติกาที่ชุมชนตั้งไว้โดยไม่ ขัดต่อกฎหมาย เป็นแหล่งสะสมภูมิปัญญา วัฒนธรรมท้องถิ่น ประโยชน์ของป่าชุมชนมีหลายอย่างตั้งแต่การอนุรักษ์น้ำ ดิน รักษาสมดุลของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นแหล่งพืชสมุนไพรหลายชนิด และเป็นแหล่งกำเนิดวัตถุดิบของการผลิตหัตถกรรมพื้นบ้าน ตลอดจนเครื่องใช้ไม้สอยที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ รวมถึงเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติสำหรับบริโภค เป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์ป่าและแมลงต่าง ๆ นอกจากนี้ชาวบ้านในชุมชนยังสามารถเก็บรวบรวมของป่าไปขายเพื่อเป็นรายได้ เสริมให้แก่ครอบครัว และการจัดการป่าร่วมกันของคนในชุมชนยังก่อให้เกิดการเรียนรู้เพื่ออยู่ร่วม กันระหว่างคนกับป่าหรือคนในชุมชนอีกด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *