เข้าใจ REDD รับมือโลกร้อน

เข้าใจ REDD รับมือโลกร้อน

ที่มา : มูลนิธิสืบนาคะเสถียร (www.seub.or.th)

REDDย่อ มาจาก Reducing Emission from Deforestation and Degradation in Developing Countries หรือการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า ในประเทศกำลังพัฒนา

UNFCCC (United Nations Framework Convention on Climate Change)รายงานว่าก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปลดปล่อยสู่ บรรยากาศโลกนั้นมาจากการตัดไม้ทำลายป่าถึงร้อยละ 20 เปอร์เซ็นหากสามารถลดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตัดไม้ ทำลายป่าได้ ก็จะช่วยลดปริมาณของก๊าซเรือนกระจกได้ไม่น้อย จึงได้มีการริเริ่มกลไก REDD ขึ้นมา โดยเริ่มต้นจากการประชุมสมัชชารัฐอนุภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ครั้งที่ 11 ณ เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ในปี พ.ศ. 2548 ประเทศปาปัวนิวกินีและประเทศคอสตาริกาได้เสนอแนวคิดให้เพิ่มเรื่องของการ ทำลายป่าเข้าไปในกลไกการพัฒนาที่สะอาด ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศภาคีสมาชิกอื่นๆ รวมทั้งประเทศไทย และแนวคิดดังกล่าวมีความชัดเจนมากขึ้นในการประชุมสมุชชารัฐภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งที่ 13 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2550 โดยกำหนดให้เป็นกลไกเพิ่มเติมและเป็นอิสระ ไม่เกี่ยวข้องกับกลไกการพัฒนาที่สะอาด และให้ชื่อว่า REDD มีการมอบหมายให้องค์กรย่อยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (SBSTA) ศึกษารายละเอียดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการเจรจา

จากการประชุมในครั้งที่ผ่านมาทำให้สามารถแบ่ง REDD ได้เป็น 3 รูปแบบคือ

1. RED (Reducing Emissions from Deforestation) เป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าเพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึง ถึงความเสื่อมโทรมของป่า เนื่องจากเห็นว่าความเสื่อมโทรมของป่านั้นจำแนกได้ยาก และการใช้ประโยชน์หรือการทำไม้จากป่าธรรมชาตินั้นไม่ได้ทำให้ป่าเสื่อมโทรม เสมอไปหากมีการจัดการที่ดี ประเทศที่สนับสนุนรูปแบบนี้คือประเทศบราซิล

2. REDD (Reducing Emissions from Deforestation and Degradation) เป็นการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า เนื่องจากความเสื่อมโทรมของป่าเป็นสาเหตุสำคัญของการปล่อยก๊าซเรื่อนกระจก ประเทศสมาชิกส่วนใหญ่เห็นชอบในรูปแบบนี้

3. REDD+ (Reducing Emissions from Deforestation and Degradation and Enchancement of Carbon Stocks) เป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า ในขณะเดียวกันก็เพิ่มการเก็บกักคาร์บอนด้วยการปลูกป่า เป็นข้อเสนอของกลุ่มประเทศที่มีการทำลายป่าน้อยแต่มีการเพิ่มพื้นที่ป่ามาก ขึ้น เช่น ประเทศอินเดีย และประเทศจีน

สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็น ประเทศในเขตร้อนที่ปัญหาการทำลายป่ายังคงมีอยู่ทั่วไป จึงจำเป็นจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อประโยชน์ในการเจรจาในการประชุมสมัชชา รัฐภาคีอนุสัญญาฯ ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งผลประโยชน์ในระดับประเทศที่ไทยจะได้คือไทยจะมีส่วนร่วมกับประชาคมโลกใน การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมีงบประมาณในการดูแลรักษาป่าเพิ่มขึ้น และนำไปสู่การบริหารจัดการป่าที่โปร่งใสหากมีการเข้าร่วมกลไกนี้

อย่างไรก็ตามนักวิชาการจากหลากหลายสาขาก็ยังมี ข้อกังวลถึงผลกระทบในทางลบจากกลไกนี้หากมีการนำมาใช้จริง โดยเฉพาะผลกระทบต่อชุมชนที่อาศัยอยู่ในผืนป่า เพราะเมื่อเข้าโครงการแล้ว การดูและรักษาป่าจะเข้มงวดยิ่งขึ้น ส่งผลต่อวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านที่อาศัยผลผลิตจากป่าในการดำรงชีพ อาจเกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชุมชน เนื่องจากนิยามของ “ป่า” โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ตั้งคำนิยามไว้ว่าป่าไม้คือพื้นที่ที่มีเรือนยอดปกคลุมร้อยละ 30 ซึ่งจะทำให้ป่าในเขตอนุรักษ์ ซึ่งมีต้นไม้ขึ้นหนาทึบเท่านั้นที่สามารถเข้ากลไก REDD ได้ แต่ป่าลักษณะอื่นๆ ที่ไม่มีลักษณะตามนิยามดังกล่าว เช่น ป่าวนเกษตร ป่าชุมชน ป่าหัวไร่ปลายนา เกษตรผสมผสาน สวยเกษตรสี่ชั้น หรือแม้แต่ไร่หมุนเวียน ถ้าหากมีการจัดการที่ดีก็เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพได้เช่น กัน   นอกจากนี้ยังมีผู้กังวลว่ากลไก REDD เป็นการผลักภาระในการลดก๊าซเรือนกระจกให้กับประเทศที่กำลังพัฒนาอยู่เช่น เดิม

ขณะนี้ REDD ยังมีประเด็นอยู่มากมายที่อยู่ระหว่างการเจรจาเช่น ประเด็นด้านเทคนิควิธีการซึ่งประกอบด้วย รูปแบบของ REDD คำนิยามของป่า การทำลายป่า ความเสื่อมโทรมของป่า วิธีการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขนาดของโครงการ การกำหนดเส้นฐานอ้างอิง ชนิดของก๊าซเรือนกระจก การรั่วไหล และความถาวรเป็นต้น ประเด็นการสร้างแรงจูงใจ และประเด็นด้านนโยบาย

ใน ท้ายที่สุดแล้วการแก้ไขปัญหาการทำลายป่า การฟื้นฟูป่า เป็นเรื่องที่ประเทศไทยจะต้องทำอยู่แล้ว ไม่ว่าจะมีกลไก REDD หรือไม่ก็ตาม

ที่มาของภาพ 1. http://earthpeoples.org/blog/?p=75 และ www.unredd.org

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *