สิงคโปร์สร้างเมืองอย่างไรให้สีเขียว
นั่นซิสิงคโปร์เขาสร้างเมืองอย่างไรให้สีเขียว
คงไม่ใช่สักแต่ปลูกต้นไม้
แต่คงมียุทธศาสตร์ ยุทธวิธี กลยุทธ์ กลเม็ด และกลวิธีอะไรที่การเรียนรู้จากการไปดูเยี่ยมชม จะทำได้
ยุทธ์ศาสตร์ อาจเรียนแบบกันได้ แต่อย่างหลังคือ ต้องเกิดจาก เอาคนทั้งหมดที่จากหลายศาสตร์หลายอาชีพมาคิดร่วมกันบอกว่าอยากทำอะไร (ควรมีประเด็นตั้งต้น) ทำแค่ระดับตำบลเล็กๆ คิดทุกอย่างให้เชื่อมโยงกัน ใช้พลังประชาชนที่ฝันพ้องต้องกัน ใช้อำนาจเฉพาะเขตของตัวเอง ใช้กลุ่มมดงานสร้างงานให้เกิดทันทีเมื่อคุยบนโต๊ะจบ แล้วมาถอดบทเรียนเชื่อมโยงกันต่อ
ทุกวันนี้ความเป็นเมืองสีเขียวของสิงคโปร์เป็นที่กล่าวถึงอย่างมาก แต่ความน่าสนใจจริงๆ ของเรื่องนี้ต้องเริ่มที่ประโยคแท็กไลน์ของแผนการพัฒนาเมืองของสิงคโปร์ที่ว่า ‘Bring the bees and boeings to the City in the Garden’
น่าสงสัยว่าผึ้งกับเครื่องบินโบอิ้งมาเกี่ยวข้องอะไรกัน
เรื่องราวเริ่มต้นที่ ‘ที่ดิน’ ปัจจัยการพัฒนาประเทศที่สิงคโปร์มีน้อยกว่าเพื่อน ฉะนั้นการบริหารที่ดินต้องคิดอย่างถ้วนถี่เพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าที่สุด ส่งผลให้การสร้างแบรนด์ของประเทศออกมาในแนวคิด The Garden City ที่เชื่อมเรื่อง ‘ธรรมชาติ’ กับ ‘ธุรกิจ’ เข้าด้วยกัน ผึ้งในแท็กไลน์คือตัวแทนพื้นที่สีเขียว ส่วนเครื่องบินโบอิ้งคือตัวแทนการพัฒนาเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์ พูดง่ายๆ คือสิงคโปร์มองออกว่าคุณภาพชีวิตกับเศรษฐกิจเป็นเรื่องเดียวกัน ทำอย่างหนึ่งต้องได้ประโยชน์อีกอย่างด้วย
จากประเทศที่มีขนาดเมืองเล็กกว่าครึ่งของกรุงเทพฯ ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายหมดในสมัยอาณานิคม กลายเป็นเมืองที่มีสีเขียวหนาแน่นที่สุดในโลกในอัตรา 30% ของพื้นที่ นี่คือปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นได้จริงด้วยวิธีคิดและนโยบายที่ ‘มาก่อนกาล’
คนทั่วไปรู้ดีอยู่แล้วว่าพื้นที่สีเขียวสำคัญกับสุขภาพคนและสุขภาพเมือง แต่ลองจินตนาการย้อนกลับไปในปี 1967 (พ.ศ. 2510) เวลานั้นลีกวนยูเกิดวิสัยทัศน์จะสร้าง The Garden City เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างไร ทั้งที่เวลานั้นสิงคโปร์ยังเป็นประเทศโลกที่สามที่มุ่งหน้าไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม คนกว่าครึ่งค่อนประเทศอาศัยอยู่ในสลัม แม่น้ำลำคลองก็เน่าเสีย
สิ่งที่น่าจะมีอิทธิพลต่อความคิดลีคือ ‘อุทยานนคร’ หรือ The Garden City of Tomorrow จากแนวคิดของนักผังเมืองสายสังคมนิยมนาม Ebenezer Howard ลีพบสถานที่นี้สมัยไปศึกษาต่อที่อังกฤษ การสร้างเมืองใหม่ให้แทรกตัวอยู่ในธรรมชาติ เชื่อมโยงถึงกันด้วยถนนหนทางสีเขียว คือตัวอย่างรูปธรรมที่เขาได้เห็นว่าจะแก้ปัญหาผลกระทบจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่างไรได้บ้าง
อ่านต่อได้ที่ https://theurbanis.com/economy/2019/10/31/1806/