โครงการ Bangkok Food Waste Management & Rooftop Farming Greenovative City Project
โครงการเมืองนวัตกรรมสีเขียวด้วยธุรกิจหมุนเวียนแปลงเศษอาหารเป็นฟาร์มผักในเมือง (Bangkok Food Waste Management & Rooftop Farming Greenovative City) โดย สมาคมเครือข่ายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน The NETWORK
จุดเด่นของโครงการ
1. 1. การสร้างความร่วมมือของ 3 ภาคส่วนด้วยนวัตกรรมทางสังคมด้วยการลงทุนแบบธุรกิจและสร้างรายได้ในปีถัดไป
2. 2. การเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยสวนผักดาดฟ้าและพื้นที่ว่างในเมือง
3. 3. จัดการขยะเศษอาหารจากจุดกำเนิด, เกิดตลาดผักปลอดภัยจากจุดกำเนิด, เกิดอาชีพเกษตรกรเมืองที่มั่งคั่ง
สิ่งที่เราอยากให้คุณเห็นเป็นพิเศษ
ทำไมคุณถึงสนับสนุน โครงการ/สินค้า นี้
ปัญหา . กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีตึกสูงกว่า 3000 ตึก ครอบครองพื้นที่กว่า 40% ของพื้นที่ทั้งหมด นั้นหมายถึง กรุงเทพเป็นชนวนแห่งการสร้างปัญหาภาวะโลกร้อน ตลอดทั้งปี ซึ่งทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น อุณหภูมิสูงขึ้น ฝุ่นและมลพิษก่อตัวและเป็นปัญหามากขึ้นทุกวัน ในขณะเดียวกัน ในปริมาณขยะ 30 ล้านตันต่อปี กับการสูญเสียงบระมาณกว่า 7,000 ล้านบาทในการกำจัด ซึ่อถ้าไม่มีการจัดการเรื่องนี้ งบประมาณนีั้ จะเป็นงบประมาณด้านสุขภาพได้ถึง 5-6 โรงพยาบาลต่อปี เป็นงบประมาณสร้างสวนธารณะได้ถึง 300 แห่งต่อปี ในขณะที่ปริมาณขยะจำนวนนี้ 55% คือขยะที่เกิดจากเศษอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุของการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซค์สู่ชั้นบรรยาการ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะก๊าสเรื่องกระจก ที่ไม่นำจากสาเหตุควันจากท่อไอเสียรถยนต์ และ เครื่องปรับอากาศของอาคารบ้านพักอาศัย และ จำนวนตึกสูงกว่า 3000 แห่งนั้น คำตอบ: ภาครัฐท้องถิ่่นเพียงลำพังคงเป็นไปไม่ได้ หรือ ภาคเอกชนเพียงลำพังก็ไม่สามารถร่วมให้คำตอบได้ ภาคประชาสังคมที่เรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากทั้งภาครัฐ และ ภาคเอกชน ก็ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ วันนี้ทุกภาคส่วนต้องหันมาร่วมกัน และ ช่วยกันแก้ไขปัญหาด้วยกัน โครงการพัฒนาเมืองนวัตกรรมสีเชียว เป็นโครงการพัฒนาความร่วมมือเพื่อสร้างรูปธรรมของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ด้วยการจัดการขยะเศษอาหารให้แปลงเป็นปุ่ยอินทรีย์ และสร้างพื้นที่เกษตรเมือง ทั้งบนดาดฟ้า และพื้นที่ว่างในเมือง วันนี้กรุงเทพมหานครต้องการพื้นที่สีเขียวดีๆ และการเริ่มต้นที่พื้นที่ว่าง และ ดาดฟ้า คือเส้นทางที่สำคัญในการนำพื้นที่สีเขียวที่เริ่มต้นง่ายที่สุด และยังเป็นการสร้างพื้นที่สีเขียวสาธารณะเล็กๆ หลายแห่งในอาคารของตนเอง ในพื้นที่ใกล้ๆ ชุมชน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่คนกรุงเทพฯ ต้องการอย่างมากในปัจจุบันนี้ ทั้งยังเป็นพื้นที่ให้คนในชุมชนรวมตัวมาเรียนรู้เรื่อง ดิน น้ำ ธาตุอาหาร การปลูกผักสวนครัวริมรั้วของตนเอง กันมากๆ จนกลายเป็นกรุงเทพเมืองนวัตกรรมสีเขียวที่เพิ่มความเป็นอัตลักษณ์โดดเด่นของการยังคงเป็นเป็นเมืองมหานครของนักท่องเที่ยว และที่สำคัญไปกว่านี้ สวนผักสีเขียวดาดฟ้าและพื้นที่ว่างด้วยการแปลงเศษอาหารให้เป็นปุ่ยนี้ คือการสร้างหลังคาสีเขียวหลังใหญ่เมื่อเกิดการสร้างมากๆ
วิธีการดำเนินโครงการ
1. สร้างการมีส่วนร่วมมพันธมิตรที่มีความสนใจและค้นหาศักยภาพเพื่อพัฒนา Business Model ของสวนผักดาดฟ้าและพื้นที่ว่างร่วมกัน
2. การกำหนดข้อตกลงร่วม และ การกำหนดผูัรับผิดชอบหลักร่วมกัน รวมทั้งหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกัน
3. สร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ กำหนดทิศทาง และ ผลประโยชน์ที่ทุกคนจะได้รับร่วมกัน
4. ออกแบบการจัดการเศษอาหาร และ การออกแบบพื้นที่ อย่างมีส่วนร่วม
5. การสร้างสวนผัก และ ออกแบบกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในตึกที่จะมาร่วมพัฒนาส่วนร่วมกัน
6. จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ และ ให้ความรู้เรื่องพื้นที่สีเขียวอย่างต่อเนื่อง
ค่าใช้จ่ายในการร่วมโครงการ
3,000,000 บาท / ปี ในการสร้างกระบวนการและให้เกิดพื้นที่สีเขียวอย่างน้อย 7-10 ตึก ต่อปี
สถานที่จัดกิจกรรมโครงการ
เขตราชเทวี และ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร
โครงการนี้เคยได้รับรางวัลใดบ้าง
1. พื้นที่ดาดฟ้าห้างเซ็นเตอร์วัน 2. อาคารสำนักงานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เป้าหมายของโครงการ และ โครงการคุณจะช่วยพลิกประเทศด้านใด
ด้านสิ่งแวดล้อม
ใครคือผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการ
เจ้าของตึก ผู้ประกอบการในอาคาร เขตราชเทวี และ เขตพระโขนง
ประมาณการจำนวนผู้ได้รับประโยชน์
จำนวนประชากรที่อยู่ในตึกทั้งหมด เป็นทั้งผู้หญิงผู้ชาย มากกว่า 20,000 คน ต่อตึก