ปัญหาสิ่งแวดล้อม และ คุณภาพชีวิตของคนเมือง
ปัญหาสิ่งแวดล้อม และ คุณภาพชีวิตของคนเมือง ยังไม่อยู่ในสายตาของคนเมือง เพราะ มีมายาคติทั้งในกลุ่มนักพัฒนาทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น SE คนทำงานด้านการพัฒนาชุมชน และ ภาครัฐ คิดว่า ชีวิตนี้คือต้องเดินบนฐานของการอยู่ได้ทางเศรษฐกิจเท่านั้น
ดังนั้นต่างคนต่างคิดว่าการดำเนินชีวิตสู่การสร้างฐานะตัวเองทางเศรษฐกิจ เอาตัวรอดแค่จะอยู่ตามสิ่งที่โลกเศรษฐกิจที่ต่างคนต่างลืมชีวิตอีกด้านที่พวกเขาต้องการ จนนำไปสู่ความซึมเศร้า การไร้ความอดทน การสาดเสียด้วยการพูด เขียน และ โพส คำรุนแรงของสังคม
สัญญาณชีวิตของเมือง ผ่านความรุนแรงของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ความรุนแรงของอารมณ์ของคนในสังคม การแข่งขันกันจนไม่รู้ว่าชีวิตนี้คืออะไร ยังคงไม่ดังมากพอ ที่คนในเมืองทุกชนชั้นจะลุกขึ้นมาสนใจ และ สังเกตสัญญาณชีวิตของเมืองที่ส่งเสียงค่อยๆ อยู่วันนี้
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ตั้งแต่ 28-29 มิถุนายนถึงวันนี้ มีงานสัมมนาที่สำคัญในประเทศไทย อยู่ถึง 3 งาน
28 มิถุนายน “GC Circular Living Symposium” ด้วยพยายามจะชวนคนที่เข้าร่วมที่มาจากภาคเอกชน และ ภาคการศึกษาถึง 1600 คน ชวนกัน หาวิธีการที่จะ หมุนเวียน ผลผลิตที่เหลือใช้ หรือ เหลือจากการใช้และไม่ต้องการใช้แล้ว นำมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่เหลือกลับไปเป็นขยะ
ในขณะที่มีความพยายามศึกษาค้นคว้าว่า จะมีหนทางที่จะคิดแต่ต้นทางการผลิตได้เลยหรือไม่ที่จะพัฒนาวัสดุจากสายการผลิตที่สามารถนำกลับมาใช้ได้เลย (up-cycling) โดยไม่เป็นโจทย์ต่อการกำจัด และ กำจัดไม่ได้จนเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม
ในวันเดียวกัน ก็มีการจัดสัมมนาเรื่อง Social Business โดย AIT Yunus Center ซึ่งมีคนเข้าร่วมถึง 200 คน ให้ความสนใจต่อการแปลงธุรกิจตัวเองให้เป็นธุรกิจที่อยู่ร่วมและอยู่รอดไปกับสังคม สามารถที่จะพัฒนาธุรกิจไปพร้อมๆ การดูแลสิ่งแวดล้อม และ สังคมในเวลาเดียวกัน
และในวันนี้ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีความพยายามที่จะสร้างความร่วมมือกันในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จัดงาน ASEAN Workshop on the Promotion of CSR in Social Welfare and Development เพื่อเชื่อมความร่วมมือของภาคธุรกิจกับสังคมให้เห็นทั้งปัญหา มิติ และ ประเด็นที่จะร่วมกัน หรือ ต่างคนต่างทำ ที่จะนำไปสู่สังคมที่มีคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น
ทุกความพยายามมีความหมาย มีคุณของตัวเอง และ จะเป็นการที่ดีที่จะช่วยกันสนับสนุน ไม่ว่าจะในระดับนโยบาย จนไปจนถึง ระดับรากหญ้า ท้ายสุด คือ สิ่งที่เราพูดคุย และ คิดรูปแบบวิธีการต่างๆ หากไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง (Materialization) เราก็คงจะยังคงอยู่ในวังวนของการบ่น วิจารณ์ แต่ไม่เกิดผลกระทบใดๆๆ ทั้งสิ้น
บทความนี้ การพัฒนา Circular Economy จะไม่เกิดผลเลย หาก Circular Living ในปัจเจกยังไม่ตระหนัก แต่หากทำคนเดียวก็ไม่นำไปสู่ Impact ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับสังคม หรือ ชุมชนได้ การมองเรื่อง Circular City คนเป็นจินตนาการของการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนที่จะแปลงความคิดสู่การลงมือทำ และ สร้างการเปลี่ยนแปลง จนเกิดผลกระทบที่สำคัญที่จับต้องได้
Link : https://www.fastcompany.com/90368933/how-circular-cities-could-make-life-healthier-safer-and-less-expensive-for-all-of-us