ญี่ปุ่นรายต่อไปมิใช่จีน หากแต่เป็นประเทศไทย บทความจาก The Economist
“The next Japan is not China, but Thailand” ญี่ปุ่นรายต่อไปมิใช่จีน หากแต่เป็นประเทศไทย บทความจาก The Economist
พาดหัวอาจชวนทำให้คนที่ไม่ได้เรียนเศรษฐศาสตร์มาหลงนึกไปว่าเรากำลังจะเจริญเหมือนญี่ปุ่นหรือเปล่า แต่บทความนี้เทียบว่าเรากำลังเผชิญ “ปัญหา” เหมือนอย่างที่ญี่ปุ่นได้เผชิญมาอย่างไร และมันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอนาคตในการพัฒนาของเราอย่างไร เช่น….
– การลงทุนของภาคเอกชนขยายตัวต่ำ (ขยายตัวเพียง 1.7% ในปีที่ผ่านมา)
– อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำมากเกินไป จนหลุดกรอบ 1-4% ของธนาคารแห่งประเทศไทยมา 13 เดือนติดแล้ว
– Core inflation (เงินเฟ้อที่หักผลของราคาสินค้าหมวดอาหารสดและพลังงาน) โตต่ำกว่า 1% มาเกือบ 3 ปี
– ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเพียง 0.8% ในเดือนมีนาคม
– อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังคงไว้ที่ 1.5% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่ใช้มาตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.2558
– ลักษณะเช่นนี้คล้ายคลึงกับประเทศญี่ปุ่นมาก ที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำจนใกล้แตะศูนย์ อัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำมาก และเกินดุล current-account สูง
– ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย (aging society) อย่างรวดเร็วมาก ในอีก 4 ปีข้างหน้า ไทยจะมีประชากรอายุมากกว่า 65 ปี ในสัดส่วนที่มากกว่า 14% หรือเกือบ 1 ใน 6 (ซึ่งไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่ “แก่ก่อนรวย” คือ ยังไม่ทันพัฒนาประเทศให้พ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ก็เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยเสียแล้ว ในขณะที่ญี่ปุ่นและประเทศในตะวันตกนั้น “รวยก่อนแก่” ผลกระทบต่อการคลังของไทยจึงสาหัสกว่ามาก)
– การที่มีประชากรผู้สูงวัยมากขึ้น ทำให้รัฐต้องใช้จ่ายงบประมาณเพื่อดูแลคนกลุ่มนี้มากขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว และเป็นภาระของกำลังแรงงานที่ต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อเลี้ยงดูคนกลุ่มนี้
– ดังนั้น ภาครัฐต้องลงทุนในโครงสร้างขั้นพื้นฐานเพื่อมั่นใจว่าจะสามารถ equip กำลังแรงงานมี่มีขนาดเล็กลงให้สามารถ provide ผู้สูงวัยที่มีสัดส่วนสูงขึ้นได้
– แต่การลงทุนภาครัฐกลับลดลง 1.2% ในปีที่แล้ว อันเป็นผลมาจากความล่าช้าและการเจรจาที่ยังไม่ได้ข้อยุติในการสร้างรถไฟความเร็วสูงในไทย
– ไทยอาจได้รับผลกระทบจากมาตรการของสหรัฐฯ ที่จะใช้จัดการกับประเทศที่ปั่นค่าเงิน (currency manipulator) โดยไทยเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียที่เข้าเงื่อนไขของการเป็นประเทศปั่นค่าเงินทั้ง 3 ข้อ คือ เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ จำนวนมาก (กว่า 20,000 ล้านเหรียญฯ, เกินดุล current-account จำนวนมาก และ sizeable reserve accumulation
– ไทยกำลังเดินตามรอยญี่ปุ่นในการคุมเข้มชายแดน โดยเพิ่มบทลงโทษต่อผู้อพยพอย่างผิดกฎหมาย (illegal migrants) ซึ่งไทยมองว่าจะเข้ามาขโมยงานคนในประเทศ มากกว่าเข้ามาเสริมกำลังแรงงานที่กำลังลดลงในไทย (อันเป็นผลมาจากสังคมผู้สูงวัย) และจะกลายเป็นปัญหาในอนาคต
– ไทยพึ่งพิงกับภาคการท่องเที่ยวสูงมาก และรัฐก็พยายามโปรโมทภาคส่วนนี้ (บทความนี้ก็เสียดสีได้ดีในระดับนึงว่าการท่องเที่ยวในไทยนั้นโดดเด่นแค่ชายหาด การเที่ยวกลางคืน และวัฒนธรรมอันตบตาล่อลวง) เพื่อนำมาชดเชยกับอุปสงค์ภายในประเทศที่อ่อนแอ
– บทความนี้จบลงที่ว่าผู้มีอำนาจในกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ต้องการให้นักท่องเที่ยวค้นพบ new shades ในการมาเที่ยวไทย แต่ในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว new shades ที่ว่าคงเป็น shades ที่จืดชืดน่าดู
ลองเข้าไปอ่านกันดูนะครับ https://www.economist.com/finance-and-economics/2018/04/05/the-next-japan-is-not-china-but-thailand