รู้หลักบริหารเครือข่าย เพื่อก้าวใหม่ของงานพัฒนาสังคม
สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) เห็นความสำคัญของ “เครือข่าย” ในฐานะกลไกที่ทำให้การแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคมสัมฤทธิ์ผลเป็นรูปธรรม จึงจัดการอบรม “หลักสูตรการสร้างและบริหารเครือข่าย” หรือ Network & Partnership Management เมื่อวันที่ 14 – 15 กันยายน 2558 โดยมีภาคีผู้ปฏิบัติงานหรือผู้จัดการโครงการที่เพิ่งเริ่มต้นบทบาทงานสร้างเสริมสุขภาวะ ตลอดจนกลุ่มองค์กรไม่แสวงผลกำไร ที่ต้องการเสริมความรู้และทักษะในการใช้เครือข่ายทำงานเพื่อสังคม เข้าร่วมถึง 40 คน ณ โรงแรมพักพิง อิงทาง บูติค โฮเทล เพราะเนื้อหาที่แน่นด้วยสาระจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างและบริหารเครือข่าย วันเวลาสองวันเต็มจึงถือว่าเปี่ยมด้วยคุณค่าและเปิดโลกทัศน์ให้ผู้เข้าร่วมอบรมอย่างมาก ขณะที่มีบรรยากาศสบายๆ ทั้งการจัดที่นั่งแบบเอกเขนกบนพื้นเสื่อ เอื้อต่อการยืดแข้งยืดขาและทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย ข้าวปลาอาหารขนมน้ำชามีถึง 5 มื้อ เรียกว่าไม่ให้ท้องได้มีโอกาสร้องกันเลยทีเดียว และถึงแม้ในวันแรกที่เริ่มต้นกันตั้งแต่เก้าโมงเช้าจนถึงสามทุ่มก็ไม่ได้สาหัสอะไรเพราะส่วนใหญ่เตรียมกระเป๋ามาพักค้างที่โรงแรมอยู่แล้ว เอกเขนกในห้องประชุมเสร็จก็ไปเอกเขนกบนห้องพักต่อได้เลย เริ่มต้นด้วย เครือข่าย : ความจำเป็นพื้นฐานในการทำงานทางสังคม โดย รศ. ดร. ประไพพรรณ อุ่นอบ หรือ อาจารย์ป๊ะ จากคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งนับเป็นผู้ให้ความรู้ในเชิงทฤษฎีหลักของการอบรมครั้งนี้ เปิดประเด็นด้วยหัวข้อที่เน้นย้ำถึงความสำคัญของเครือข่าย […]
The NETWORK รับสมัครผู้ร่วมงาน ๒ ตำแหน่ง ร่วมตื่นตัว และ ท้าทาย กับ NGO พันธ์ใหม่
The NETWORK รับสมัครผู้ร่วมงาน ๒ ตำแหน่ง ร่วมตื่นตัว และ ท้าทาย กับ NGO พันธ์ุใหม่ แหล่งเรียนรู้ด้วยลงมือทำใน Social Laboratory เหมาะสำหรับคุณที่สนใจกระแสโลกกับการพัฒนาที่ยั่งยืน www.ngobiz.org กำลังรับสมัครผู้ร่วมงาน ๒ ตำแหน่ง ขอเชิญส่งประวัติ (CV หรือ Resume) และหลักฐานการศึกษามา ที่ thenetwork.coordinator@ngobiz.org ผู้ที่ได้รับการพิจารณา จะได้รับการติดต่อกลับเท่านั้น ดูรายละเอียดข้างล่างนี้ หมดเขตการรับสมัคร ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๙ The NETWORK หรือ สมาคมเครือข่ายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ทำหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาคส่วน คือ ภาคประชาสังคม (non-profit organization) ภาคธุรกิจ (Private Sector) และภาครัฐ (Government or Local Governmental Administrator)สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ พัฒนากระบวนการสร้าง “ต้นธารแห่งความร่วมมือ” ที่ทำให้เกิดพลังบวกที่สร้างสรรค์และเครือข่ายกัลยาณมิตรที่เข้มแข็งกว่าการทำงานโดยลำพัง […]
หลักสูตรการสร้างและบริหารเครือข่าย โดย รศ. ดร.ประภาพรรณ อุ่นอบ
ในการอบรมหลักสูตร “การสร้างและบริหารเครือข่าย” เมื่อวันที่ 14 – 15 กันยายน 2558 ซึ่งจัดโดยสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) นั้น เรียกได้ว่า “ภาคทฤษฎี” ของ รศ. ดร. ประภาพรรณ อุ่นอบ หรือที่รู้จักกันดีว่า “อาจารย์ป๊ะ” นั้นเข้มข้นและครอบคลุมรอบด้าน แต่ทว่าเข้าใจได้ง่าย เป็นการปูพื้นฐานให้พร้อมนำไปออกแบบการสร้างและบริหารเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงอยากจะนำรายละเอียดมาแบ่งปันกัน โดยเป็นการเรียบเรียงจากการบรรยายในการอบรมผสมผสานกับข้อมูลในหนังสือ “เครือข่าย กลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานพัฒนาอย่างบูรณาการเชิงพื้นที่” ซึ่งอาจารย์ป๊ะเป็นผู้เขียน เครือข่าย : ความจำเป็นพื้นฐานในการทำงานทางสังคม ก่อนจะเข้าเนื้อหาเรื่อง “เครือข่าย” อาจารย์ป๊ะได้เกริ่นนำถึง “ปรากฏการณ์” ซึ่งเป็นบริบทพื้นฐานก่อน “ปรากฏการณ์บนโลกนี้แบ่งออกเป็น 2 ปรากฏการณ์ คือ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ อย่างฝนตก น้ำท่วม เข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน แต่อีกปรากฏการณ์หนึ่งที่ค่อนข้างซับซ้อนและเข้าใจได้ยาก คือ ปรากฏการณ์ทางสังคม เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้คน มีผู้คนเข้ามารวมกันแล้วเกิดอะไรบางอย่างขึ้น ย่อมเจอความซับซ้อนมากมาย ขึ้นอยู่กับประเด็นที่เราไปเคลื่อน ดังนั้นสิ่งที่เราทำงานอยู่ทุกวันนี้ทั้งเรื่องการศึกษา ยาเสพย์ติด สุขภาวะ […]
แนวคิดการจัดเวทีระดมจิตใจ…Mind Storming
การประชุมในรูปแบบ “สุนทรียสนทนา” หรือ dialogue ซึ่ง เดวิด โบห์ม นักฟิสิกส์ควอนตัม ผู้ได้ชื่อว่าเป็นไอน์สไตน์คนที่สองเป็นผู้คิดค้นเมื่อหลายสิบปีมาแล้วอาจยังใหม่สำหรับประเทศไทย แต่ในวันที่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนถอยห่าง ปล่อยให้ความขัดแย้งเข้ามาแทรกกลาง กระแส “การฟังด้วยใจ” จึงได้เริ่มผลิบาน นายสัตวแพทย์ปกรณ์ สุวรรณประภา หรือ หมอแมน ผู้บุกเบิกการจัดเวทีระดมจิตใจ หรือ Mind Storming กลยุทธการประชุมที่ใช้ ใจ…มอง…ใจ ได้นำสุนทรียสนทนามาปรับใช้ในกระบวนการ โดยผสมผสานเข้ากับเครื่องมืออื่นอย่าง “การสะท้อน” (reflection) และ “การฟังหยั่งลึก” (deep listening) เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เข้าร่วมเวที และนำมาซึ่งผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน หลังจากเคยผ่านประสบการณ์การทำงานที่หลากหลายมาก่อนหน้านี้ทั้งพนักงานบริษัทเอกชน ข้าราชการกรมปศุสัตว์ ช่วยราชการที่สภาพัฒน์ฯ ในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ช่วยราชการสำนักเลขานุการนายกฯ เพื่อทำวิจัยชุมชนเข้มแข็ง เป็นกรรมการมูลนิธิพัฒนาสี่แยกอินโดจีน และเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป) โดยต้องข้องเกี่ยวกับการจัดเวทีประชุมและเวทีฝึกอบรมมาตลอด ทำให้เขาอุทิศ ทุ่มเท จดจ่อ จนกระทั่งค้นพบการประชุมรูปแบบใหม่ ทุกวันนี้ หมอแมน ทำหน้าที่ ผู้เหนี่ยวนำกระบวนการ หรือ Mentor […]