บทสรุป CSR Forum by Corporate Volunteer Network of Thailand ครั้งที่ 1

บทสรุป CSR Forum by Corporate Volunteer Network of Thailand ครั้งที่ 1

CSR Forum by Corporate Volunteer Network of Thailand ครั้งที่ 1
“เหลียวหลัง…แลหน้า – Past, Present and Future of CSR in Thailand”
เวลา 8.30-17.00 น. วันจันทร์ ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ 2557
ณ ห้องประชุมประไพ วิริยะพันธุ์ ชั้น 3 สำนักงานสาขาลุมพินี
บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน)

การเปิดงาน

คุณกานดา วัฒนายิ่งสมสุข ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท วิริยะ ประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวต้อนรับ และแนะนำวิทยากรผศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ จากสถานบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คุณนภดล ศิวะบุตร จากบริษัท Nestle (Thai) Limited และคุณคิม จงสถิตย์วัฒนา จากบริษัท นานมี บุ๊คส์ จำกัด

คุณปารีณา ประยุกต์วงศ์ พิธีกรกลาง กล่าวถึงที่มาของการจัดงาน ซึ่งมีใจความดังนี้ “ผู้ประกอบการหลายรายมุ่งเน้นผลกำไรเป็นหลัก ไม่ได้คำนึงถึง สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม จึงเกิดการรวมตัวเพื่อช่วยกันขับเคลื่อน โดยเชิญองค์กรต้นแบบมาแบ่งปันผลงานกัน ความรับผิดชอบต่อสังคมถือเป็นอีกหนึ่งภารกิจหลัก บางองค์กรมีการทำ CSR มาก่อน และยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารธุรกิจ จึงได้ร่วมกันเชิญองค์กรต้นแบบมาเพื่อเป็นตัวอย่าง”

 

*ในVDO มีจุดผิดคือชื่อบริษัท’สหวิทยา’ขอเปลี่ยนเป็น ‘สหวิริยาสตีลอินดัสตรี’ ทางทีมงานขออภัยมาณ ที่นี้ด้วยครับ

จากนั้น เป็นการฉายคลิป วีดีโอ เรื่อง “หนึ่งทศวรรษที่ผ่านมาของ CSR”

เมื่อจบวีดีโอ พิธีกรกลาง กล่าวต่อไปว่า ในประเทศไทยยังมีอีกหลายองค์กรที่ผลักดัน CSR เช่น กระทรวงพัฒนาสังคม ฯลฯ แต่กระแส CSR ในสังคมเริ่มแผ่วลง จึงอยากให้มีเป้าหมายลดคาร์บอนไดออกไซด์ให้ถึง 80 %

หลังจากนั้นมีการมอบของที่ระลึก แก่ผู้ดำเนินรายการและวิทยากร

การเสวนา เรื่อง“ปัจจุบันและอนาคตที่ท้าทายต่อ CSR”

คุณคิม จงสถิตย์วัฒนา: ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท นานมี บุ๊คส์ จำกัด

[เอกสารประกอบ]

เล่าถึงสถานการณ์การอ่านหนังสือของประเทศไทยในปัจจุบัน ว่าเฉลี่ยแล้วคนไทยอ่านหนังสือ 9 บรรทัดต่อปี ทั้งนี้ เนื่องจากทางบริษัท มองตัวเองว่าเป็นผู้ให้บริการด้านการเรียนรู้ ดังนั้น เมื่อ 2 ปีก่อน ครบรอบ 20 ปีของบริษัท เชิญ Dr.Peter Fauser มาเป็นวิทยากรสอนพนักงาน ท่านกล่าวไว้ว่าโรงเรียนที่ดีต้องเน้นเรื่องการสอนความฉลาด ความรับผิดชอบ และประชาธิปไตย โดยสิ่งที่ครูที่ดีจะต้องมีคือ ต้องรู้ว่าเด็กในวัยนี้ต้องการอะไร และครูควรจะสร้างเด็กให้เป็นเด็กที่มีครบทั้ง 3 คุณลักษณะข้างต้นได้

ต่อมาแนวคิดของนานมี บุ๊คส์ ในการสร้างคนพลเมืองที่มีคุณภาพ (Active Citizens) ยึดถือว่าจะต้องมีทักษะต่างๆ ดังนี้ คือ ฉลาด มีความรับผิดชอบ มีประชาธิปไตย คิดวิเคราะห์ได้ ตอบคำถามได้ มีสำนึกต่อแผ่นดินและครอบครัว มีภาวะผู้นำ มีทักษระชีวิต รู้จักการคิดนอกกรอบ บรัษัทยังมีความเชื่อว่าการกระตุ้นให้เด็กอยากเรียนรู้ ต้องมีสื่อหลากหลายที่เด็กจะสามารถเข้าถึงได้ โดยมาจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่าเด็กจะรักการอ่านได้ ถ้าหากได้เจอเนื้อหาหนังสือที่ชอบ

สิ่งที่นานมีบุ๊คทำ เรียกว่าเป็น Learning Service Provider โดยกระบวนการต่างๆ ดังนี้

  • ทำให้เด็กเข้าถึงหนึงสือได้มากขึ้น เนื่องจากเล็งเห็นปัญหาร้านหนังสือเด็กไม่โชว์หนังสือเด็ก เนื่องจากยอดขายไม่ดี นานมีบุ๊คส์จึงทำร้านหนังสือขึ้นเองชื่อร้าน “แว่นแก้ว” เพื่อตอบสนองแนวคิดเรื่องการเปิดพื้นที่ให้เด็กสามารถเข้าถึงหนังสือที่หลากหลายได้ง่ายขึ้น
  • บริษมัทเข้าหาห้องสมุดต่างๆ เพื่อบริจาคหนังสือและทำกิจกรม Matching หนังสือบริจาคกับความต้องการของผู้รับบริจาค
  • สร้างบุ๊คคลับ โดยนำกำไรของบริษัทมาจัดกิจกรรม มุ่งเน้นการสร้างกลไกการอ่านอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าความสนใจในเนื้อหาหนังสือของเด็กจะเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ จะมีกิจกรรมให้เด็กอ่านหนังสือและบันทึกการอ่าน จากนั้นจึงให้เด็กไปอาสาอ่านหนังสือให้บ้านเด็กกำพร้าหรือเด็กด้อยโอกาสฟัง ฯลฯ และเก็บชั่วโมง เพื่อให้รางวัลสุดยอดนักอ่าน มีการอบรมงานบรรณารักษ์ จัดดูงานต่างประเทศ และรับรางวัลจากพระเทพฯ สำหรับครู ซึ่งทำเป็นกิจกรรมต่อเนื่องโดยอบรมครูที่โรงเรียนในการใช้หนังสือทุกประเภทบูรณาการการเรียนการสอน หรือให้นักเขียนไปพูดสร้างแรงบันดาลใจหรือทำกิจกรรมที่โรงเรียน เป็นต้น
  • นานมี บุ๊คส์ ทำศูนย์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก ซึ่งอยู่ในระหว่างการลองผิดลองถูกเพื่อความยั่งยืนของกิจกรรมต่อไป (ปัจจุบันเริ่มใช้แนวคิดศูนย์การเรียนรู้ และ โรงเรียนที่ดีคืออะไรเข้ามาใช้)
  • ขายบริการด้านการเรียนรู้สู่โรงเรียน

 

คุณนภดล ศิวะบุตร: Corporate Affairs Director, Nestle (Thai) Ltd.

[เอกสารประกอบ]

แนวคิด Creating Shared value: CSV ของบริษัท

บริษัทมีแนวคิดเรื่องการสร้างความยั่งยืน ทั้งนี้ในปี 2002-2004 ที่มีแนวคิดเรื่อง CSR หรือการรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจเกิดขึ้น บริษัทไม่เห็นด้วยว่าบริษัทควรคืนกำไรให้สังคม เนื่องจากแนวคิดดังกล่าวเป็นการมองภาคธุรกิจแยกออกจากสังคม จึงเกิดเป็นการรวบรวมความคิดเรื่อง CSV  ขึ้น

แนวคิด CSV คือ การไม่แยกภาคธุรกิจออกจากสังคม เนื่องจากการแยกภาคส่วนทำให้การทำงานเพื่อสังคมไม่ใช่สิ่งที่ยั่งยืน การทำงานให้สังคมได้อย่างยั่งยืนต้องรวม 2 เรื่องเข้าด้วยกัน

ตามภาพที่ 1 แสดงถึงระดับขั้นของการทำงานภายใต้แนวคิด CSV เริ่มจากฐานการยอมทำตามสิ่งที่ควรจะทำ คือทำงานเพื่อสร้างผลทางธุรกิจไปพร้อมๆ กับรักษาธรรมชาติและรับผิดชอบต่อสังคม สู่กระบวนการที่ยั่งยืน กลายเป็นแนวคิด CSV นอกจากนี้ Nestle Value Chain Model ยังอธิบายถึงการรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนร่วมทั้งหมดในกระบวนการผลิต ดังนี้

  • ต้นน้ำ (การทำงานกับเกษตรกร)
  • กลางน้ำ (งานที่บริษัททำเอง)
  • ปลายน้ำ (การขายProduct, การทำงานกับ Customer)

ทั้งหมดเรียก Stakeholder

เมื่อนำเอาแนวคววามคิดเรื่อง CSV มาใช้ดำเนินการในบริษัท Nestle’ จะแบ่งออกเป็น 3 Focus ได้แก่ Nutrition (ให้ผู้บริโภคได้รับโภชนาการที่ดีจากผลิตภัณฑ์ มีการตรวจวัดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ก่อนการออกจำหน่าย) Water (เป็นประเด็นเรื่องการใช้ทรัพยากรที่ยั่งยืน), Rural Development (Input บริษัทสามารถทำงานพัฒนาภาคเกษตรกรได้ เนื่องจากการช่วยให้เกษตรกรสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพและอยู่ได้ คือต้นทุนที่ลดลง)

สิ่งที่บริษัท Nestle’ ทำภายใต้แนวคิด CSV คือมีการทำ CSV Global Forum และการทำงานด้านวิชาการเกี่ยวกับ CSV เพื่อเผยแพร่แนวคิด ใช้ Model Rural Development ซึ่งเป็นการบริหารจัดการความเสี่ยงที่จะเกินขึ้นกับผู้เกี่ยวข้อง (All Stakeholders) ทำ Nescafe Plan ได้แก่ Farming (ซื้อผลิตภัณฑ์จากเกษตรกร และมีนักวิชาการการเกษตรออกไปพูดคุยให้ความรู้แก่เกษตรกร สอนการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์กาแฟ เป็นการทำให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น งบประมาณในการทำงานกับเกษตรกรรวมอยู่ในการดำเนินงานธุรกิจ ไม่แยกเป็นงบประมาณเพื่อ CSR เนื่องจากเป็นเรื่องเดียวกันในการดำเนินงาน) Production & Supply (การดูแลภายใน การลดการใช้น้ำในการผลิต) Consumption (การจ่ายผลิตภัณฑ์ที่ดีให้ผู้บริโภค)

คุณนภดล ศิวะบุตร กล่าวว่า เราสามารถทำ CSV และ CSR ไปพร้อมกัน เช่น หากมีเหตุฉุกเฉิน อย่างเช่นภัยซึนามิเกิดขึ้น ก็มีการทำกิจกรรม CSR เรื่องการให้ที่อยู่และอาหาร หลังจากนั้นจึงทำ CSV เพื่อหาทางช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่อไป

ผศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์: สถานบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิวัฒนาการของ CSR

  • 1950 เริ่มมีข้อเรียกร้องเชิงศีลธรรม ให้ภาคธุรกิจเข้ามามีความรับผิดชอบต่อสังคม
  • 1960 ธุรกิจเริ่มเกิดการปรับตัว เพื่อลดความขัดแย้ง มีการพูดถึงการสร้างคุณค่าเชิงสังคม และสร้างคุณค่าในธุรกิจ ธุรกิจจึงปรับตัว โดยการแบ่งเงินส่วนหนึ่งที่ได้จากกำไร มาทำเพื่อสังคม
  • 1970 CSR เริ่มเป็นการสร้างความได้เปรียบการแข่งขันทางการตลาดด้วย
  • 1980 Business & Stakeholder เริ่มมีการเอาเรื่องสังคมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ
  • 1990-present CSR ธุรกิจทำงานแบบนำมาสู่คุณค่าในสังคม

ผศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ ตชวนภาคธุรกิจตั้งคำถามว่า ตอนนี้เราเห็นตัวเราเอง เป็นมากกว่าผู้ดำเนินธุรกิจแล้วหรือยัง และนำเสนอแนวคิด CSV ผ่านโมเดล 2 วงกลม ตามภาพที่ 2

[เอกสารประกอบ]

ยุทธศาสตร์ CSV มีดังนี้

  • Reconceiving Product and Markets
  • Redefining Productivity in the value chain
  • Enabling local cluster development

การถาม-ตอบข้อสงสัย

  1. มีคนบอกว่า CSR เป็นการทำเพื่อสร้างภาพลักษณ์ แล้ว CSV ทำเพื่ออะไร?

ตอบ คุณนภดล ศิวะบุตร: CSV เป็นการพัฒนาสังคมเพื่อลดต้นทุน (ใช้ความรู้ลงไปสู่เกษตรกร ซึ่งระหว่างทางต้องมีการเรียนรู้ปรับปรุง เพื่อเป้าหมายให้เกษตรกรมีความรู้และนำไปใช้สร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ) กลายเป็นวงจรพัฒนาซึ่งกันและกันอย่างมีส่วนร่วม สุดท้ายคือ ทุกองค์กรธุรกิจมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ CSR ในไทย โตไปอย่างยั่งยืน สู่ CSV โดยแต่ละองค์กรจะต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจเรื่อง CSV และทำให้ภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมมาคุยกัน เนื่องจากมีจุดแข็งคนละอย่าง

  1. ถ้าเราจะยกระดับชีวิตของคนในสังคม ระหว่างบริษัทที่เข้าร่วมเสวนา กับบริษัทของวิทยากร เราจะทำอย่างไร ให้ CSV เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น?

ตอบ คุณคิม จงสถิตย์วัฒนา: จริงๆ แล้วเราทำหลายอย่างร่วมกันได้ เช่น งานที่นานมีบุ๊คส์ทำคือการสร้างคน และคนที่นานมีบุ๊คส์ทำเป็นคนที่องค์กรอื่นๆ ต้องการ เพราะฉะนั้น การร่วมสร้างคนด้วยกัน ทั้งในองค์กร หรือเข้าสู่โรงเรียน ก็เป็นเรื่องที่ร่วมกันทำได้ เช่น “บ้านรักวิทยาศาสตร์น้อย” ที่นานมีบุ๊คส์ ทำร่วมกับบริษัท Bgrim

คุณนภดล ศิวะบุตร: บริษัท Nestle เคยทำงานร่วมกับ สพว. เรื่องการสร้างฐาน CSR พบประเด็นคือการทำ CSR แบบไม่จริง ซึ่งได้ข้อสรุปว่าถือเป็นก้าวแรกที่ดีที่อย่างน้อยก็มีการเริ่มต้น สามารถมาสรุปบทเรียนและสร้างแนวคิดร่วมกันเกี่ยวกับการทำ CSR ที่ถูกต้องได้ภายหลัง การทำงานร่วมกันของแต่ละองค์กร ต้องค่อยๆ พัฒนา และใช้การประชาสัมพันธ์ให้ภาคธุรกิจอื่นๆ ค่อยๆ เข้าร่วม เช่น กิจกรรมที่ The NETWORK ทำตั้งแต่เริ่มต้นจนปัจจุบัน มีสมาชิกเข้าร่วมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ข้อแนะนำในการเริ่มต้น CSR คือ “you lead from where you are” (หาจุดแข็งของตนมาทำ CSR, หาจุดอ่อนว่าเราสร้างผลกระทบอะไรให้สังคม แล้วค่อยๆ บริหารจัดการ) ประเด็นคือ จะต้องทำให้มันเป็นงานที่ยั่งยืนด้วย ภายใต้ 2 คำถาม คือ What & How และค่อยๆ ทำทีละก้าว

  1. ในธุรกิจหนังสือที่มี stakeholder จำนวนมาก มีการHandle การทำ CSR, CSV ใหญ่ๆ อย่างไร?

ตอบ Stakeholder มีหลายที่ เช่น โรงพิมพ์ บริษัทกระดาษ โรงเรียน ฯลฯ ก็จะใช้ Process ที่ค่อยเป็นค่อยไป ให้ผู้มีส่วนร่วมค่อยๆ เห็นว่าสิ่งที่ทำต้องอาศัยการร่วมกันทำ เป็นเครือข่าย

  1. How to save the CSV Sustainable?

ตอบ คุณนภดล ศิวะบุตร:  We take times to arrive the goal, the important thing is to make the base of process strong – How to make the base strong? It’s to manage your employee to be strong first.

  1. อยากทราบวิธีการวัด Social Value ว่าต้องทำอย่างไร?

ตอบ ผศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์: มองที่จุดสมดุล ที่ทำให้ภาคธุรกิจยังเดินต่อไปได้ ระหว่างที่สร้างคุณค่าทั้ง 2 ด้านไปพร้อมกัน ตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่า ตัวเองเป็นใคร มีเป้าหมายในการทำงานอย่างไร ทั้งนี้ Social Value จะวัดได้ขึ้นอยู่กับประเด็นทางสังคมที่เราเข้าไปทำ

คุณคิม จงสถิตย์วัฒนา: การนำสิ่งใหม่ หรือตาม trend ทางด้านธุรกิจและสังคม เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดไปได้ ภายใต้เป้าหมายที่จะผลักดันที่ชัดเจน และต้องดูแลพนักงานในองค์กรไปด้วย

คุณนภดล ศิวะบุตร:  มีเกณฑ์ NCD (เกณฑ์ที่ทำออกมาแล้วจากประเด็นทางสังคมที่ Nestle’ เข้าไปทำงาน) ตัววัดมี 2 แบบ คือ Lacking Indicator (ผลที่ต้องการ) และ Leading Indicator (กระบวนการสู่ผล) จะได้ 2 ประเด็นนี้ ต้องรู้จักตัวเองก่อน ส่วนเรื่อง Reporting ก็สำคัญ ต้องทำให้เห็น Balancing ทั้งส่วนธรกิจและสังคม ถือเป็นการวัดผลรูปแบบหนึ่ง

 

  1. มีวิธีการปฏิบัติ CSV และ CSR อย่างไร เช่น จะปลูกจิตสำนึกให้พนักงานได้อย่างไร?

ตอบ ผศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์: มีรปภ.คนหนึ่งใน จุฬา ที่ทำงานรักษาความปลอดภัยอย่างมี่ความสุข เกิดคำถามว่า อะไรที่ทำให้รปภ. คนนี้แตกต่างจากคนอื่นๆ เมื่อไปถามเขาก็พบว่า พี่รปภ. คนนี้เห็นว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของจุฬาฯ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พี่น้องชาวจุฬามีความปลอดภัย ท้ายที่สุดคือ ถ้าหากเราทำให้คนทุกคนเห็นว่าเขามีคุณค่าต่อองค์กร และสังคม และเขามีส่วนที่จะทำให้เกิดสิ่งดีๆ ขึ้นได้ ก็จะนำสู่การสร้างความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ

 

  1. การทำ CSV ของ Nestle อยากรู้ว่าจากกระบวนการที่ทำเป็นการสร้างคุณค่าต่อสังคมหรือไม่ อย่างไร?

ตอบ คุณนภดล ศิวะบุตร:  เวลากาแฟออกผล ตลาดต้องแย่งกันซื้อ มีการตัดราคากัน คู่แข่งจะดูว่า Nestle ให้ราคาเท่าไร แล้วมาให้ราคาที่มากกว่า พ่อค้าเกษตรกร อาจจะเลือกขายให้คู่แข่ง แต่การทำ CSV ยังคงต้องดำเนินต่อไป โดยไม่ได้หวังผลตอบแทนว่า เมื่อให้ความรู้เกษตรกรต้องสำนึกบุญคุณ กล่าวคือ อย่าคืดว่าเราเป็นคนให้ เกษตรกรมีสิทธิในการตัดสินใจ สุดท้ายเราก็ต้องมาทำการแข่งขันในทางธุรกิจ อย่าไปสร้างความคาดหวัง

 

  1. กระบวนการการสร้างจิตอาสาในองค์กรให้เกิดขึ้นจริง ควรจะต้องทำอย่างไร การทำ CSV ควรเริ่มจากอะไร การวัดผล CSV ที่เห็นได้ชัดทำอย่างไร ความยากง่ายของ CSV เป็นอย่างไร?

ตอบ คุณคิม จงสถิตย์วัฒนา: ตอบในภาพรวมคือ การสร้างสิตอาสาในองค์กร คือ ต้องสร้างความรู้สึกร่วมกงับสิ่งที่ทำ การเริ่มทำต้องดูว่าอุตสาหกรรมของเราสร้างคุณค่าอะไรให้สังคมได้ ก็จะได้ประเด็น ซึ่งวนกลับไปสู่การสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมของพนักงาน โดยการให้พนักงานร่วมมองเห็นประเด็นคุณค่าทางสังคม

คุณนภดล ศิวะบุตร: เราอย่าตั้งเป้ามาก พยายามหากิจกรรมที่ทุกคนในองค์กรสามารถมีส่วนร่วมได้ อาจมี 2 อย่าง คือ กิจกรรมที่เชื่อมพนักงานทั้งองค์กร และกิจกรรมที่เราอยากทำ CSV ยกตัวอย่างเช่น เริ่มจากกิจกรรมที่ชอบทำ เช่น ไปปลูกป่า ฯลฯ เป็นการเริ่มต้นง่ายๆ ซึ่งในการทำให้พนักงานเข้าถึง CSV ไม่ควรสร้างความคาดหวังหรือการวัดผลเรื่อง CSV ต่อพนักงาน บริษัทถือเป็นพี่เลี้ยงพาพนักงานค่อยๆ เดิน ไปช้าๆ พนักงานจะเริ่มมีการชักชวนและเดินไปด้วยกันอย่างมั่นคง ในเรื่อง CSR ไปไม่ได้เนื่องจากประธานตัดงบ จึงทำไม่ได้ เพราะมันเป็น มันคือการนำเรื่อง CSR แยกออกไปจากการทำธุรกิจ แต่ CSV นำเอาเรื่องสังคมเข้ามาอยู่ในกระบวนการ จะไม่มีปัญหาเรื่องการตัดงบ เนื่องจาก Part สังคม เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท

 

  1. ปัจจุบันมีแนวคิดการวัดมาตรฐาน CSR เช่น ISO คำถามคือ เราควรพิจารณาให้น้ำหนักกับระบบพวกนี้อย่างไร

ตอบ ผศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์: ระบบพวกนี้ก็เหมือนระบบวัดทางธุรกิจ ดังนั้น ระบบเรานี้สำคัญมาก สำหรับการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากต้องทำให้ผ่านจึงจะถือว่าฌธุรกิจประสบความสำเร็จและยังดำเนินต่อไปได้ หรือถ้าหากทำด้านสังคมอยู่แล้ว จะไม่คำนึงถึงมาตรฐานเหล่านี้ก็ได้ หากองค์กรมีความมั่นคงในการทำด้านสังคม แต่อย่าใช้ระบบมาตรฐานเพียงเพื่อการทำ Branding เท่านั้น

สรุป ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจอะไรก็แล้วแต่ ก็สามารถทำ CSR ได้

 

Workshop1 สรุปการเรียนรู้และผลกระทบของการทำ CSR ที่ผ่านมา

วิพากษ์ โดยผศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์

การแลกเปลี่ยนกิจกรรมที่แต่ละบริษัททำ

Child life Foundation: ทำงานที่แม่สาย ช่วยเหลือเด็กที่ตกอยู่ในอันตราย เด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กเร่ร่อน และเด็กที่ถูกทารุณกรรม พื้นที่ทำงานเป็นพื้นที่อพยพเป็นส่วนใหญ่ เด็กส่วนใหญ่โยกย้ายถิ่นฐานมาจากพม่า ในเชียงใหม่มีปัญหายาเสพติดมาก เด็กที่พบส่วนใหญ่เป็นเด็กติดยา จึงยากต่อการดูแล ตอนนี้องค์กรเรียนรู้ที่จะทำเกษตรให้เด็กร่วมกิจกรรม โดยเตรียมพื้นที่เกษตรปลอดสารพิษและปลูกกาแฟ และสร้างแบรนด์ของตัวเองเพื่อเลี้ยงองค์กร เรามีปัญหาด้านงบประมาณ เพราะไม่ได้รับเงินจากรัฐ เราจึงพยายามทำงานกับองค์กรใหญ่ๆ แต่เราก็ยังพบปัญหาคือเจ้าหน้าที่ใช้เวลาในการให้องค์กรพึ่งพาตนเอง ทำให้ขาดเวลาดูแลเด็ก องค์กรภาคเอกชนก็ยังไม่ได้เข้ามาช่วยเหลือ งบประมาณเรามาจากผู้บริจาครายย่อย เราจึงมาที่นี่เพื่อหาทางออก หาเครือข่าย

Toyota: “โครงการถนนสีขาว” และ “โครงการขับขี่ปลอดภัย” ปีที่ผ่านมา เน้นทำทั้งภายใน-นอกองค์กร (Dealer ทั่วประเทศ) โดยมีการอบรมหลักสูตร โดยพาครูฝึกขับขี่ปลอดภัยในแต่ละตัวแทนจำหน่ายไปเรียนรู้หลักสูตร 5 วัน ที่ประเทศญี่ปุ่น มีภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ (ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอุบัติเหตุมากที่สุดปี 55 อันดับที่ 6 และปี 56 อันดับที่ 3 ของโลก) ครูฝึกจะสอน พนักงานในองค์กร, นักศึกษา, ทีมครูฝึกอื่นๆ เพื่อเพิ่มการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน หลักสูตรนี้ จะสอนวินัย น้ำใจ และความปลอดภัยในการขับขี่

True: “โครงการทรูภูมิปัญญา” มีวัฒนธรรมองค์กรสร้างให้พนักงานมีจิตสังคม เรื่องต่อไปนี้

– Caring ใน-นอกองค์กร

– Creative ให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานและทำเพื่อสังคม

– Courage ความกล้าในการทำงาน

– Credible สร้างสิ่งที่เป็นไปได้

ปัจจุบันโครงการมีโรงเรียนร่วมโครงการ 2,500 โรงเรียน คือ บริจาคอุปกรณ์เทคโนโลยี และให้ทีมงานลงพื้นที่โรงเรียนที่อยู่ในโครงการ ไปให้ความรู้ครูในการใช้สื่อการสอน และพาผู้บริหารและครูไปดูงานการเรียนการสอนต่างประเทศ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียน มีการตั้งคำถามว่า เราจะทำอย่างไรให้โครงการสร้างความเปลี่ยนแปลง ผลที่คาดหวังคือ ผลการเรียนการสอนของโรงเรียนที่ร่วมโครงการที่พัฒนาขึ้น ปัจจุบัน โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีนักเรียนเพิ่มขึ้น เพราะได้รับการยอมรับจากคนในพื้นที่ กล่าวคือ Stakeholder สามารถเข้าร่วมกิจกรรมกับบริษัท

ผศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์: จาก 3 องค์กรจะสามารถ สร้าง CSV ร่วมกันได้อย่างไร ให้ลองนึกถึงงานคนไทยมอร์นิเตอร์ ซึ่งเป็นการสำรวจความเป็นอยู่ของคนไทย ซึ่งถามคำถามว่าบทบาทธุรกิจต่อสังคมได้คะแนน 7, บทบาทธุรกิจต่อประเทศ ได้คะแนน 4.6, บทบาทธุรกิจต่อชุมชนได้คะแนน 4.2 ซึ่งเป็นคะแนนที่ต่ำ เนื่องจากคนคิดว่า ธุรกิจไม่ได้ทำเพื่อสังคมอย่างแท้จริง อยากทำอะไรก็ทำ ดังนั้น เมื่อได้ทราบงานของทั้ง 3 องค์กรก็ดีใจที่ มีการลงไปทำงานกับชุมชนโดยตรงเนื่องจากเป็นผู้รู้ปัญหาดีที่สุด และร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคม สิ่งท่ะท้อนใจ เรื่องมูลนิธิฯ Child life Foundation ที่ต้องพึ่งตนเองจนขาดเวลาทำพันธะกิจหลัก CSV จะเกิดขึ้นได้ เริ่มจากการชักชวนพันธมิตรอื่นๆ ที่มีวิสัยทัศน์ใกล้เคียงกัน (เรื่องเด็ก) เข้ามาทำงาน  หรือแม้กระทั่งพันธมิตรซึ่งเป็นคนในชุมชน ให้เขาเข้ามาร่วมดำเนินการกับมูลนิธิได้อย่างไร

คุณปารีณา ประยุกต์วงศ์ พิธีกรกลาง ยกตัวอย่าง บริษัท Merck ว่าเป็นบริษัทยาที่ทำงานร่วมกับ NGOs เพื่อแก้ปัญหาสังคม

วิริยะประกันภัย: มีการทำงาน CSR ส่งผ่านคนในพื้นที่จริงๆ เป็น “โครงการคิดดีทำดีเพื่อสังคม สำนึกรักบ้านเกิด” มีการประกวดแนวคิดโครงการ ภายใต้แนวคิด คุณคิดว่าคุณอยากทำอะไรเพื่อพัฒนาบ้านเกิด 6 ภาค ในประเทศไทย ประเด็นที่ทำ 6 ด้าน คือ รณรงค์ความปลอดภัย การศึกษา การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจพอเพียง ศาสนาและวัฒนธรรม การแพทย์และสาธารณสุข โดยกิจกรรมที่ทำมีจิตอาสาองค์กร เป็นแกนหลัก

Center One: มีลูกค้าเข้าห้าง หลักหมื่นคนต่อวัน สิ่งที่ทำคือ พยายามไม่สร้างปัญหา-ลดขยะ จึงสร้างกลุ่มคนรักษ์อนุสาวรีย์ชัย และชักชวนภาคธุรกิจ ประชาชน รัฐ และ NGOs ในบริเวณใกล้เคียงเข้ามาทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างอนุสาวรีย์ที่น่าอยู่ ตั้งแต่เรื่องของการสร้างชุมชนแห่งการมีส่วนร่วม: จัดกิจกรรมวันที่ 5 กรกฎาคม 2557 เรียนรู้ประวัติศาสตร์, กิจกรรมดูแลสุขภาพ, คุ้มคีรองผู้บริโภค สร้างชุมชนสีเขียวสะอาดสวยงาม: ลดขยะ และปลูกต้นไม้ สร้างชุมชนที่มีความคล่องตัว: ประกวดผังเมืองเกาะพญาไท, บาทวิถีในฝัน Street art, งดหาบเร่ แผงลอย, คสช. เคลียร์วินรถตู้ลดความแออัด และสร้างชุมชนเศรษฐกิจสร้างสรรค์: มีการปั่นจักรยานชิมอาหารรอบอนุสาวรีย์

รักลูก: วัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง เน้นทำเพื่อสังคม ทางด้านสื่อ และ Social Learning เสริมสร้างการเรียนรู้ของสังคม โดยบริษัทเป็นตัวกลางระหว่างรัฐ และเอกชน ในการหาความต้องการของทั้ง 2 ฝ่าย แล้วนำมาออกแบบกิจกรรมเพื่อสร้างการเรียนรู้ (รู้และตระหนัก สู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ) มีการอบรมซ้ำ และถอดบทเรียน เปิดพื้นที่การเรียนรู้สำหรับเครือข่าย RML Hub มีสมาชิก ครอบครัว เยาชน ภาครัฐและเอกชน โดยให้แต่ละส่วนนำกิจกรรม CSR ของตนเองมา Share ใน WEBSITE ที่สร้างขึ้น ทั้งนี้ ธุรกิจรักลูกมี 3 ส่วน คือ

Learning Space พิพิธภัณฑ์เด็ก ศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ

Learning Camp ทำงานกับรัฐ-เอกชน-ประชาสังคม พาเด็กมาเรียนรู้พระราชกรณียกิจ และนำไปปรับใช้ในชุมชน

Learning Project management รับออกแบบกิจกรรมเพื่อสังคมสำหรับเอกชนและประชาชน

ผศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์: เกิดคำถามเรื่องการชวนเครือข่ายอย่างไร เขาถึงอยากทำงานเพื่อสังคมร่วมกับเรา (ทั้ง 3 องค์กรประสบความสำเร็จด้านนี้) หากพิจารณาคือ ทั้ง 3 เริ่มจากการสำรวจปัญหาโดยรอบว่ามันเกิดอะไรขึ้น แล้วจึงชวนเครือข่ายจาก Common Problem หาตัวกลาง ที่ดี หาคนที่รู้จริง หาคนที่เข้าใจประเด็นนี้อย่างแท้จริง และเราต้องศึกษาให้รู้จริงด้วย

Bgrim : เป็นบริษัทเยอรมันที่มาทำธุรกิจตั้งแต่ร.5 นำเข้าพวกเศษกระเบื้อง ยา โรงไฟฟ้า มีแผนกงานเพื่อสังคม 6 ด้าน คือ ชีวิตความเป็นอยู่ (สนับสนุนมูลนิธิในราชวงศ์ เช่น บ้านพักคนชรา), การศึกษา (มีโรงเรียนที่อรัญประเทศ,มอบทุนการศึกษา, Nurse Scholarship, บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยร่วมกับนานมีบุ๊ค), ศาสนาและวัฒนธรรม (Bangkok Symphony O), กีฬา (จัดกิจกรรมไทยโปโล, Pink โปโล รณรงค์เรื่องมะเร็งเต้านม, บีชโปโล รายได้ไปให้โรงเรียนจิตลดา-ผู้หญิงในเรือนจำ, มูลนิธิฯ), ด้านสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ

สหวิริยาสตีลอินดัสตรี: ทำเรื่องการศึกษา สิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต ยกตัวอย่าง “โครงการพัฒนาวิทยาลัยการอาชีพ” ลงไปทำในพื้นที่ พบปัญหาคุณภาพการศึกษา การศึกษาต่อ และแรงงานในพื้นที่ขาดแคลน จึงร่วมกับกรมอาชีวะศึกษา จัดทำหลักสูตร วิทยาลัยเหล็ก และการจัดการเหล็กกล้า ปัจจุบันดำเนินการมาแล้ว 4 ปี จากระยะเวลาโครงการ 10 ปี ซึ่งผลิตมาแล้ว 4 รุ่น เด็กที่จบหลักสูตร บริษัทจะรับเข้าทำงาน หรือเด็กสามารถไปทำในบริษัทอื่นๆ ได้ สิ่งที่หลักสูตรให้คือการทำเพื่อสังคม เป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน นอกจากนี้มีการให้ทุนการศึกษา แต่พบว่าปัญหาที่พบไม่ถูกแก้ จึงเปลี่ยนเป็นโครงการกองทุนสหวิทยาร่วมการศึกษา โดยจัดหาทุนให้โรงเรียนที่ได้รับคัดเลือก – ช่วยให้โรงเรียนมีแผนในการพัฒนาตนเอง และ 3 โรงเรียนที่รับทุน มีคุณภาพการศึกษาที่ดีขึ้น เนื่องจากมีหลักการให้โรงเรียนพัฒนาตนเองเพื่อรับทุน (ให้โรงเรียนเป็นเจ้าของโครงการร่วมกับบริษัท)

แพรนด้าจิวเวอร์รี: ด้าน CSR มองว่ามีเงินเป็นปัจจัยหนึ่งในการดำเนินงาน บริษัทมุ่งเน้นแรงงานฝีมือในการดำเนินธุรกิจ สร้างโรงเรียนในโรงงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพแรงงาน มีการปรับสวัสดิการด้านหอพัก ฯลฯ ให้พนักงาน (ลงทุนกับบุคลากร ถือเป็นการลงทุนด้านธุรกิจ)  ต่อยอดแนวคิดที่มี กลายมาเป็นการรับผู้พิการ (โดยเฉพาะผู้พิการด้านหู) เข้าทำงาน ช่วงแรกมองว่าเป็นการสงเคราะห์แต่ใช้ได้ไม่ดี จึงใส่ใจมากขึ้น คือให้การศึกษาทางอาชีพแก่ผู้พิการทางหู และประสบความสำเร็จคือเด็กเหล่านี้มีงานทำ (สิ่งที่สอน เช่น ทักษะการสื่อสารในกระบวนการทำงานในโรงงานปกติ, การทำJewelry ฯลฯ)

SCG: มีการถอดบทเรียนปีที่ 101 ของบริษัทพบว่ามี Culture องค์กรที่เน้นการทำงานรับผิดชอบสังคม มีกิจกรรมเช่น “สร้างฝายในใจคน” คือฝายเป็นเพียงเครื่องมือ แต่เน้นการสร้างใจในการทำงานเพื่อสังคมอย่างมีส่วนร่วม, มีการสอนวิธีการเพิ่มมูลค่าแก่ชาวนา การคิดนอกกรอบ ฯลฯ ทำให้ชาวนาสามารถนำความรู้ไปประยุกต์เพิ่มมูลค่าสินค้าของตนเอง เป็นต้น

ผศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์: ทั้ง 4 กลุ่มมีทั้งที่ ทำหลายเรื่อง และเลือกทำเป็นบางเรื่อง กรณี โมเดล 2 วงกลม CSV ถ้าหากธุรกิจเลือกช่อง CSV จะเจอข้อจำกัดว่า จะสามารถทำได้แค่บางเรื่องในสังคม

 

Workshop 2 สิ่งที่ควรจะต้องทำต่อไป และ สิ่งที่ควรทำเพิ่มเติม

ในช่วงนี้ให้แต่ละองค์กร ถอดหมวกภาคธุรกิจ ใส่หมวกประชาชน แล้วเขียนปัญหาที่พบในชีวิตประจำวัน จากนั้น แบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่มตามหัวข้อเข็มทิศ คือ Well-Being, Social, Nature, Economic และพูดคุยกันถึงประเด็น 2 ข้อ คือ สิ่งที่ทำไปแล้ว และสิ่งที่ควรทำเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต แล้วจึงเริ่ม Present ของแต่ละกลุ่ม

สุขภาวะ (Well-Being)

  • ปัญหา: ภาพรวมของสิ่งที่องค์กรได้ และสิ่งที่สังคมได้ คือ
    • ด้านธุกิจ: ได้คนคุณภาพเข้ามาทำงาน, ต้นทุนเรื่องสวัสดิการลดลง, ปลประกอบการบริษัทดีขึ้น, สุขภาวะในที่ทำงานดีขึ้น เนื่องจากความเครียดลดลง
    • ด้านสังคม: ก็จะเพิ่มคนดีในสังคม, ประหยัดงบประมาณประเทศวชาติ, สวัสดิภาพในสังคมเพิ่มขึ้น, ลดรายจ่ายต้นทุนสุขภาพโดยรวมในสังคม
    • สิ่งที่ต้องทำต่อไป: รณรงค์การมีสุขภาวะที่ดี ด้วยตนเอง (DIY Health) , มีศูนย์ข้อมูลด้านสุขภาพที่ทุกคนเข้าถึง, มีศูนย์สุขภาพในชุมชนอย่างทั่วถึง, ชาวบ้านสามารถเข้าถึงการปรึกษาและบริการด้านสุขภาพ Online จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
    • ผศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์วิพากษ์: ตอนแรกฟังเข้าใจว่าจับไปที่พนักงาน แต่ก็ถือว่าเป็น Scale ที่ทำได้ คือสร้างให้พนักงานกลายเป็น Change agent ก็จะช่วยขยายการเปลี่ยนแปลง เรื่องการจัดทรัพยากรให้คนรู้จักสุขภาพมกาย-จิตที่ดี คนรู้แล้วแต่ว่ายังไม่เริ่มทำ ให้นำไปไว้ในส่วนที่ 2 คือภาคปฏิบัติ โดยอาจให้ลองทำ ให้เห็นภาพ บันทึกสิ่งที่ทำ ช่วยให้ติดพฤติกรรม และมีความเป็นไปได้

สังคม (Social)

  • ปัญหา: การศึกษา ผู้สูงอายุ คอรัปชั่น ความเหลื่อมล้ำ ฯลฯ ยิ่งมีมากยิ่งสะท้อนสังคม
  • สิ่งที่ต้องทำต่อไป
    • ประเด็นการศึกษา สามารถแก้ไขเริ่มที่ตัวเอง ให้เราเป็นครูคนแรกของบ้าน ครูคนแรกของตนเอง ได้โดยใช้ประสบการณ์และความรู้ แม้กระทั่งในส่วนขององค์กร ก็สามารถสร้าง Network เรียนรู้ร่วมกัน เป็นต้นแบบของกันและกัน สามารถให้ทุนการศึกษากับเด็ก ใช้สื่อเพื่อการศึกษา คือ สอดแทรกความรู้เข้าไปในทุกๆ ประเภทของสื่อ
    • ผู้สูงอายุ มีจำนวนเพิ่มขึ้น สามารถเริ่มที่ตัวเรา คือตระหนักถึงคุณค่าของงผู้มีพระคุณ สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัย / วางแผนเตรียมตัวก่อนเกษียร / สร้างชมรมเพื่อทำงานเพื่อสังคม และเตรียมบุคลากรให้เข้าใจปัญหาเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่กำลังจะเกิดขึ้น / ทำโรงเรียนให่ผู้สูงอายุ ถ่ายทอดความรู้สู่ลูกหลาน เนื่องจากผู้สูงอายุมักตกผลึกความรู้ แต่วัยรุ่นหรือวัยทำงานมักไม่อยากฟัง เพราะอยากมีประสบการณ์ด้วยตนเอง การสร้างศูนย์การเรียนรู้ช่วยให้เกิดการถ่ายทอด
    • คอรัปชั่น เริ่มที่ตัวเรา รู้ผิด-ชอบ
    • คุณปารีณา ประยุกต์วงศ์แนะนำเรื่องการเชื่อมโยงการแก้ปัญหา เช่นแก้ปัญหาเรื่องการศึกษา สามารถลดจำนวนปัญหาท้องไม่พร้อมได้ เป็นต้น ตลอดจน เรื่องความคุ้มของการลงทุนแก้ปัญหา กับผลลัพท์ที่จะได้
    • ระบบการศึกษาสำคัญที่สุด ควรเพิ่มเรื่องทักษะการใช้ชีวิตเข้าในหลักสูตร
  • ผศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์วิพากษ์: ในการจะแก้ปัญหาสังคม หากเอามาทุกประเด็นจะไม่รู้ว่าไปทางไหน การที่กลุ่มแยกระดับการแก้ปัญหา เช่น เริ่มจากระดับการรู้คุณค่าในตนเอง เป็น Level ที่องค์กรธุรกิจเอาไปประยุกต์ใช้กับพนักงานในองค์กรได้ ต่อมาในระดับสร้างกลไกความสัมพันธ์ในสังคม อาจเป็นวิธีการทำอย่างไรให้ให้เกิดการทำงาน ระดับที่ 3 คือเรื่องสื่อ จะเอื้อให้องค์กรทำงานได้ง่ายขึ้น และมีอยู่แล้ว การสร้างกลไกใน Level 1-2 เป็นสิ่งที่น่าสนใจ

ธรรมชาติ (Nature)

  • ปัญหา: พื้นที่สีเขียวลดลง โลกร้อน ฯลฯ
  • การแก้ปัญหา: เจาะจงเรื่องการทำโครงการ มาดูปัญหา คือพื้นที่อยู่อาศัยไม่เอื้อต่อการปลูกต้นไม้ (อาจใช้ความรู้ในการประยุกต์เอาต้นไม้มาปลูกในพื้นที่จำกัด) ไม่มีเวลาปลูกต้นไม้ ไม่มีใจจะปลูก หรือไม่มีความรู้ในการปลูก (สร้างมาตรการบังคับใช้ เลือกต้นไม้ แทนการสร้างเสาไฟ ใช้ผังเมืองแบบสร้างสิ่งก็สร้างแบบเป็นมิตรกับธรรมชาติ ปัจจุบันถนนสายสีลม เป็ยถนนต้นแบบในการเอาสายไฟลงดิน) มีวิริยะและ Bgrim ร่วมสร้างโครงการ ปลูกป่านิเวศในใจคน เพื่อตอบโจทย์เรื่องความใส่ใจต่อในเรื่องปลูกป่า  และการใช้ความรู้ประยุกต์การปลูกต้นไม้ให้เข้ากับสถานที่และคนที่มีเวลาน้อย มีการนำเอาพันธุ์ไม้ในแต่ละจังหวัดกลับมาปลูก ในพื้นที่นั้นๆ เอง สร้างแหล่งเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกต้นไม้ ใช้ศูนย์เรียนรู้ในชุมชนช่วยกระจายความรู้
  • ผศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์วิพากษ์: ประทับใจเรื่องการก้าวข้ามข้อจำกัด และปรับกระบวนการธรรมชาติให้เหมาะกับวิถีคนเมือง ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ จับต้องได้

 

เศรษฐกิจ (Economic)

  • ปัญหา: ทุนกระจุกตัว ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ค่าครองชีพ การกระจายรายได้
  • การแก้ปัญหา: สนับสนุนให้มีการกระจายความเจริญ โดยใช้การสนับสนุน SE ให้กระจายไปในชุมชน เนื่องจากมุ่งสังคมเป็นหลัก  เพิ่มโอกาส,สร้างความรู้, แชร์ข้อมูลด้านธุรกิจให้ท้องถิ่น ไกด์ไลน์และผลักดันให้ท้องถิ่นสามารถสร้าง SE ของตนเอง การกระจาย SE สู่ท้องถิ่น ลดการไหลเข้าเมืองของแรงงาน มีโรงเรียนในองค์กร ช่วยให้บุคลลากรที่มีความสามารถ-การแสวงหาผู้ด้อยโอกาสมาเข้าเรียน ภาคธุรกิจจะต้องสะท้อนให้ภาครัฐเห็นปัญหาและร่วมมือกันทำงาน
  • ผศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์วิพากษ์: การใช้แนวคิด CSV น่าจะยั่งยืนกว่า และขอฝากความท้าทาย ไว้เป็นแนวทางปฏิบัติเรื่องการสกัดองค์ความรู้ของธุรกิจขนาดใหญ่ออกมา เพื่อนำไปเผยแพร่เพื่อการเรียนรู้สู่สังคมต่อไป

การถ่ายโอนความรู้ไม่ง่าย เนื่องจากการนำชุดความรู้ไปกระจายในแต่ละพื้นที่ต้องประยุกต์ให้เข้ากับพื้นที่นั้นๆ จะสร้างความยั่งยืน แต่ต้องใช้เวลา และการเข้าไปลงลึกกับแต่ละพื้นที่

คุณปกรณ์ เลิศเสถียรชัย จากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้สรุปความรู้สึก เพื่อ Motivate องค์กรที่เข้าประชุม คือ บางครั้งเราก็ต้องการเรื่องประทับใจบางอย่างเพื่อสร้างผลกระทบต่อการขับเคลื่อน เช่น เรื่อง รปภ. ในจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย เรื่องของบทสนทนาที่แบ่งปันกัน  ทำให้มองเห็นการเป็น Conductor ที่ดี คือ การฟังปัญหาของผู้อื่น เพื่อแก้ไขปัญหาได้ถูกทาง เนื่องจากคนในสังคมมีความกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหาและจัดการตัวเอง แต่อาจจะไม่สามารถทำได้เองเบ็ดเส็จ สรุปคือ ภาคธุรกิจจะทำงานมีส่วนร่วมอย่างไรให้สังคมจัดการ ช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาของตนเองได้ด้วยตนเอง (ก้าวข้ามการเป็นผู้ชี้นำ)

คุณปารีณา ประยุกต์วงศ์ ทิ้งท้ายการประชุมให้ภาคธุรกืจคิดต่อว่า เราจะทำ CSR ต่อไปอย่างไร และให้สมาชิกไปหาเพื่อนสมาชิกเพิ่ม ซึ่งสุดท้ายจะมีการประมวลข้อมูลทั้งหมดและกลับไปสัมภาษณ์แต่ละองค์กร เนื่องจากกำลังมีรายการทีวี “CSR พลิกสังคม”  ทั้งนี้ CSV ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย แต่เป็นทางเลือกหนึ่ง ว่าเราจะทำให้มันเป็นกระแสได้อย่างไร ก่อนจะกลับมาทำ CSR อย่างยั่งยืน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *