เสวนา”คนไทย” – เดอะเนทเวิร์คฟอรั่ม ครั้งที่ 4 “จิตอาสาพนักงานสู่ความสุขในวิถีการทำงาน” A Corporate Volunteering Challenge towards Embedding CSR for Sustainability

เสวนา”คนไทย” – เดอะเนทเวิร์คฟอรั่ม ครั้งที่ 4 “จิตอาสาพนักงานสู่ความสุขในวิถีการทำงาน” A Corporate Volunteering Challenge towards Embedding CSR for Sustainability

Download ใบลงทะเบียนได้ที่นี่

Download แผนที่ได้ที่นี่

เสวนา”คนไทย” –  เดอะเนทเวิร์คฟอรั่ม

ครั้งที่ 4 “จิตอาสาพนักงานสู่ความสุขในวิถีการทำงาน”

A Corporate Volunteering Challenge towards Embedded CSR for Sustainability

วันพุธ ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เวลา 12.30-16.30 น.

ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 6 ตึกสภาคริสจักรในประเทศไทย(เชิงสะพานหัวช้าง)

  1. 1. หลักการและเหตุผล

สังคมไทยตอบรับต่อการรณรงค์ให้ภาคธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม(CSR) อย่าง มีนัยยะสำคัญ ซึ่งการตอบรับไม่เพียงเกิดขึ้นกับบริษัทที่เห็นประโยชน์และตัวคุณค่านี้ อย่างแท้จริง และลงมือดำเนินการ มอบหมายหน้าที่ที่สำคัญนี้ให้กับ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ การตลาด ส่วนการพัฒนาบุคลากร ตลอดจน มีการปรับไปจนถึงโครงสร้างขององค์กร โดยผู้บริหารในระดับประธานบริษัททำหน้าที่นี้เพื่อจะเป็นผู้กำหนดนโยบายให้ เกิดการนำคุณค่าของ CSR เข้าไปอยู่ในทุกๆ สายการดำเนินงานของธุรกิจ ซึ่งยังไม่ค่อยเห็นมากในสังคมไทย ในขณะที่หลายบริษัทยังเข้าใจเพียงว่า CSR ยังคงเห็นเป็นเพียงการทำกิจกรรมเพื่อสังคมเท่านั้นก็ตาม การพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาสู่ การสร้างผลผลิต (Outputs)ในรูปของจำนวนกิจกรรม และเป็นเฉพาะกิจเท่านั้น   แต่การขับเคลื่อน CSR ยังต้องการการสรุปบทเรียนของภาคธุรกิจที่จะพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมไปสู่การสร้างผลลัพธ์ (Outcomes) และผลกระทบที่เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตของ ผู้คน ชุมชน สังคม และ สิ่งแวดล้อม  อย่างมีส่วนร่วมของภาคีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Engagements)

เครือ ข่ายความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม ได้พัฒนาโครงการพัฒนาอาสาสมัครภาคธุรกิจสู่ความสุขในวิถีการทำงาน ระยะที่ ๒ จากการสนับสนุนจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  และสืบเนื่องจากการพัฒนาหนังสือ”คู่มือจิตอาสาพนักงานองค์กรธุรกิจสู่ความสุขในวิถีการทำงาน” ในปี พ.ศ ๒๕๕๐นั้น  องค์กรธุรกิจได้นำองค์ความรู้ไปพัฒนากิจกรรมอาสาสมัครในรูปแบบต่างๆ  หาก แต่ยังไม่มีการติดตามผลการดำเนินงานและผลักดันกิจกรรมอาสาสมัครพนักงานใน ลักษณะที่ต่างๆ ที่ยังเป็นกิจกรรมแบบเฉพาะกิจ ซึ่งอาจจะไม่มีความต่อเนื่อง และไม่เกิดผลกระทบที่ต่อเนื่องต่อสังคมเท่าที่ควร  หรือบริษัทโดยส่วนใหญ่บริษัทจะนำไปผูกโยงกับไปกับการสร้างความสัมพันธ์ของพนักงาน การสร้าง Team Building  และในปัจจุบันการเพิ่มพูนความรู้และการสนับสนุนภาคธุรกิจให้มีพันธะสัญญาทางสังคมภายใต้ภาระกิจความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ (Corporate Social Responsibility)

 

  • 2. ผู้สนับสนุนและ ผู้ร่วมจัด

 

ผู้สนับสนุน: กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ผู้ร่วมจัด :  หอการค้าไทย มูลนิธิ“คนไทย”หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ  และ เครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (The NETWORK)

 

  • 3. จุดประสงค์

 

3.1  To understand :เพื่อทำความเข้าใจโครงการฯ

3.2  To exchange expectations and experiences:  เพื่อรับฟังความคาดหวังและแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากเนื้อหาหลักสูตรการอบรมตัวแทนบริษัท

3.3  To network: เพื่อทำความรู้จักกับผู้บริหารท่านอื่นๆ ที่เข้าร่วมพัฒนาจิตอาสาสมัครในองค์กรธุรกิจ

 

  • 4. รูปแบบการประชุม

 

เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบไม่เป็นทางการ

5. ผู้เข้าร่วม

ผู้บริหารหรือตัวแทนของบริษัทในระดับบริหารที่ให้ความสนใจร่วมส่งเสริมจิตอาสาพนักงานองค์กรธุรกิจประมาณ 30 บริษัท

6.  สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ

6.1 ความ เข้าใจของผู้บริหารต่อเป้าหมายของในการบูรณาการจิตอาสาในการดำเนินธุรกิจสู่ การสร้างความสมดุลทั้งธุรกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม (Embedding CSR for Sustainability)

การสมัครเข้าร่วมกิจกรรมสงวนสิทธิ์เฉพาะสมาชิกเท่านั้น
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *