CSR : รักษาพื้นที่ชุมชน

มูลนิธิ สืบนาคะเถียร

Ref: http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=444:seubnews&catid=5:2009-10-07-10-58-20&Itemid=14

ด้วย กระแสความแรงในแนวทาง การทำธุรกิจที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม หรือที่เรียกกันติดปากว่า CSR ที่มาจาก Corporate Social Responsibility ทำให้องค์กรพัฒนาเอกชนต้องปรับตัว เพื่อรับกับกระแสของโครงการที่จะเกิดขึ้นจากการทำ CSR กับองค์กรธุรกิจต่างๆ

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร เป็นอีกองค์กรหนึ่ง ที่มีภาคธุรกิจประสานงานเข้ามา เพื่อจะร่วมทำโครงการ CSR รักษาพื้นที่ป่า ซึ่งต้องยอมรับว่า เรื่องของ CSR นั้นเป็นเรื่องที่ใหม่มาก สำหรับองค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม เราปฏิเสธไม่ได้ว่า กิจกรรม CSR ของ บริษัทต่างๆ ส่วนหนึ่งสามารถช่วยสนับสนุนการทำงานของเราได้ ในสภาวะที่เงินบริจาคไม่พอกับการทำงาน ประกอบกับผู้ให้การสนับสนุนจากต่างประเทศได้ย้ายการสนับสนุนไปประเทศอื่น

ดัง นั้น ในวาระ 20 ปี สืบ นาคะเสถียร ในปีนี้ คณะทำงาน 20 ปี สืบ นาคะเสถียร ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ CSR ขึ้น เพื่อช่วยกันคิดและวางแผน ปรับกิจกรรมของมูลนิธิให้สอดคล้อง และมีความเป็นไปได้กับกิจกรรม CSR ของบริษัทต่างๆ

น.ส.วรลักษณ์ ศรีใย ในฐานะผู้จัดการโครงการ 20 ปี สืบ นาคะเสถียร กล่าว ถึงกิจกรรมต่างๆ ของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ที่ต้องการการสนับสนุนจากภาคเอกชน และความต้องการของบริษัทเอกชน ที่ต้องการสร้างกิจกรรม CSR ในเรื่องของการรักษา สิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ว่า บางครั้งกิจกรรมของมูลนิธิที่ต้องการการสนับสนุน ก็สวนทางกลับบริษัทเอกชนที่ต้องการทำ CSR เพราะบาง กิจกรรมของเราเป็นนามธรรม และไม่มีภาพของการลงมือทำ เช่นการสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า เพื่อให้พวกเขาสามารถเดินลาดตระเวนได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่บริษัทเอกชนจะมองว่า การสนับสนุนกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ต้องปลูกป่าเท่านั้น

“มีบริษัทเอกชนจำนวนมาก ที่ต้องการจะทำกิจกรรม CSR ด้านสิ่งแวดล้อม และหนึ่งในองค์กรที่นึกถึงคือ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร และกิจกรรมยอดฮิตคือการปลูกป่า”

“และมีหลาย ครั้งที่มูลนิธิต้องปฏิเสธ เพราะบริษัทต้องการให้เราหาพื้นที่ปลูกป่าที่ใกล้กรุงเทพ และต้องรองรับคนจำนวนเป็นร้อยคน ซึ่งบางครั้งเราไม่สามารถทำให้ได้ ”

ผู้ จัดการโครงการ 20 ปี สืบ นาคะเสถียร กล่าวอีกว่า มูลนิธิพยายามทำความเข้าใจกับภาคเอกชน และให้ความรู้ไปด้วยว่า การทำกิจกรรม กิจกรรม CSR รักษา ป่า รักษาชุมชน ของมูลนิธินั้น มีการปลูกต้นไม้น้อยมาก และเราไม่สามารถพาคนเป็นร้อยคนเข้าไปในพื้นที่ป่าได้

“แต่ เราพยายามเสนอโครงการต่างๆ ให้กับบริษัท เช่น การทำระบบน้ำประปาให้กับชุมชน ซึ่งใช้เงินไม่มาก แต่เป็นการช่วยรักษาพื้นที่ป่าได้อย่างมาก หากทำให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้  โดยไม่ต้องออกไปรบกวนป่าใหญ่”

กิจกรรมเหล่านี้ เป็นกิจกรรมทางอ้อมซึ่งเป็นแนวทางการรักษาป่าของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร

ผู้ จัดการโครงการ 20 ปี สืบ นาคะเสถียร กล่าวอีกว่า วันนี้ บริษัทต่างๆ ที่ร่วมทำกิจกรรม CSR รักษา พื้นที่ป่า รักษาชุมชน กับมูลนิธิสืบนาคะเสถียรนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นการสนับสนุนกิจกรรมโดยตรง แต่เป็นการร่วมคิด และช่วยในสิ่งที่มูลนิธิไม่สามารถทำได้ หรือทำได้ไม่ดี

“อย่าง ตอนนี้ เรามีหลายบริษัทที่ช่วยมูลนิธิในเรื่องของแนวความคิด ทั้งโดยส่วนบุคคล และองค์กร โดยมาในรูปแบบของคณะทำงาน CSR อย่างเช่น บริษัทบาธรูมดีไซน์ แอนด์ ไอ สปา บริษัท ออนโกอิ้ง หรือคุณธนกร ฮุนตระกูล”

“อย่าง คุณวัชรมงคล หรือคุณสี่ ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทบาธรูมดีไซน์ แอนด์ ไอสปา และ คุณกบ ธนกร  ก่อนที่จะเข้ามาสนับสนุนการทำงานของมูลนิธิ ทั้งเรื่องความคิดและงบประมาณ”

ด้วยความตระหนักว่า ความยั่งยืนของมูลนิธิ ไม่ได้อยู่ที่เงินบริจาค หรือการทำ CSR ชั่วครั้ง ของบริษัทเอกชนต่างๆ แต่สิ่งที่จะยั่งยืนถาวรคือ การที่มูลนิธิมีแนวทางและช่องหาเงินในรูปแบบต่างๆ เช่นการทำประชาสัมพันธ์

“คุณ วัชรมงคล และคุณธนกร ได้เข้ามาช่วยมูลนิธิในการทำการตลาด ซึ่งมูลนิธิไม่เก่ง ช่วยวางแผนการตลาด เช่นหาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของมูลนิธิ การตั้งกล่องรับบริจาค”

นอก จากนี้ บริษัทโฆษณาอย่าง On going ได้ทำ CSR รักษาป่า รักษาพื้นที่ชุมชน กับมูลนิธิสืบด้วยการคิด Campaign รณรงค์ การรักษาป่าให้ โดยพุ่งเป้าไปที่ชนชั้นกลางในเมือง ที่มีกำลังบริจาคและมีจิตสำนึกที่ช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

CSR รักษาพื้นที่ป่า รักษาชุมชน ของมูลนิธิสืบนาคะเสถียรจะยังไม่เข้าตาบริษัทเอกชนหลายๆแห่ง ด้วยเนื้องาน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *