รายงานวิจัยเรื่องการพัฒนา CSR ในประเทศไทย และบทบาทอาสาสมัคร (ฉบับแปล) โดย ปารีณา ประยุกต์วงศ์ และ แมท โอเซ็น

รายงานวิจัยเรื่องการพัฒนา CSR ในประเทศไทย และบทบาทอาสาสมัคร (ฉบับแปล) โดย ปารีณา ประยุกต์วงศ์ และ แมท โอเซ็น

บทสรุปผู้บริหารรายงานวิจัยเรื่องการพัฒนา CSR ในประเทศไทย และบทบาทอาสาสมัคร (ฉบับแปล)
โดย เครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน –เดอะเนทเวิร์ค์ (ประเทศไทย)
ปารีณา ประยุกต์วงศ์ และ แมท โอเซ็น
มกราคม 2552

ภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน ต่างตระหนักถึงความสำคัญของธุรกิจในการเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมและ สิ่งแวดล้อมมากขึ้น ส่วนธุรกิจเองก็หันมามีความรับผิดชอบต่อผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภค พนักงาน ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อผลกระทบจากการดำเนิน ธุรกิจต่างๆ องค์ประกอบของความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจหรือ Corporate Social Responsibility – CSR โดยทั่วไป ประกอบด้วย สิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน สิ่งแวดล้อม และ ธรรมาภิบาล (รวมถึงการต่อต้านคอรัปชั่น) ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้เป็นที่สนใจร่วมขององค์กรพัฒนาเอกชน รัฐบาล และองค์กรสนับสนุนภาคธุรกิจ สำหรับบริษัทส่วนใหญ่ต่างเล็งเห็นประโยชน์ในการทำ CSR เพราะมองว่าการทำ CSR จะทำให้ธุรกิจได้มีการสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ ประโยชน์เหล่านี้จะทำให้บริษัทสามารถสร้างชื่อเสียงของตัวเองได้ แต่ไม่ได้เป็นคุณค่าที่สำคัญที่จะสามารถทำให้ธุรกิจทำ CSR ในฐานะการเป็นพลเมืองที่สำคัญของประเทศที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคม เมื่อมองดูฐานพุทธศาสนาและสังคมไทยที่มุ่งให้ทำความดี ด้วยการบริจาคทานออก จึงเป็นฐานที่สำคัญที่ทำให้นักธุรกิจไทยหันมาบริจาคและอาสาสมัครเมื่อมี โอกาส ซึ่งแรงจูงใจนั้นมีความแตกต่างจากการทำ CSR ตามแนวคิดตะวันตก

สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นดีพี (UNDP) และโครงการอาสาสมัครแห่งสหประชาชาติ หรือ UNV ประเทศไทย มองเห็นโอกาสในการทำงานกับภาคธุรกิจผ่านการทำกิจกรรม CSR ของภาคธุรกิจ ซึ่งการร่วมมือครั้งนี้เป็นการร่วมมือที่ทั้ง UNDP และธุรกิจได้ประโยชน์ร่วมกัน งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาCSR ในประเทศไทยนี้ จะทำให้ทั้ง UNDP และ UNV ประเทศไทยเข้าใจสถานการณ์ การทำ CSR และ กิจกรรมอาสาสมัครภาคของธุรกิจในประเทศไทยมากขึ้น

ปัจจุบันมีมาตรฐานและหลักเกณฑ์การทำ CSR ที่พัฒนาโดยหลากหลายสำนัก อาทิเช่น The United Nations Global Compact (UNGC), Organization for Economic Cooperation and Development (OECD), International Organization for Standardization (ISO), Global Reporting Initiative (GRI), Principles for Responsible Investment (PRI) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) ทุกหลักเกณฑ์และมาตรฐานในสาระล้วมีเป้าสูงสุดอยู่ที่การพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับประเทศไทยยังมีข้อจำกัดต่อการพัฒนา CSR คือ การทำความเข้าใจในเรื่องการทำ CSR และต่อคำถามเรื่องความจริงใจของภาคธุรกิจในการทำCSR อย่างไร หรือทำ CSR เพื่อลบล้างความไม่มีธรรมาภิบาลของธุรกิจ หรือทำ CSR เพียงหวังภาพทางการตลาดความเข้าใจที่ผิดๆในแนวคิดตะวันตกว่าการทำ CSR บริษัทจะได้รับผลประโยชน์อะไรเป็นตัวตั้ง และเพื่อทำบริษัทให้ดูดีขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงประเด็นความขัดแย้งทางสังคม อย่างไรก็ตามสังคมไทยยังมีพื้นฐานดีๆ ที่สำคัญในการพัฒนา CSR มุ่งสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน

งานวิจัยชิ้นนี้ได้ใช้การวิจัยปฐมภูมิด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับเจ้าหน้าที่ข้าราชการไทย และเจ้าหน้าทีองค์กรสนับสนุนและการวิจัยทุติยภูมิด้วยการค้นหาข้อมูลจาก หนังสือและบทความต่างๆ เกี่ยวกับ CSR งานวิจัยชิ้นนี้ค้นพบได้ข้อสรุป 4 ข้อดังนี้

• ท่ามกลางภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นนี้ ธุรกิจไทยกำลังเผชิญช่วงเวลาที่ยากลำบากในการทำ CSR ที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ในปัจจุบันธุรกิจทำ CSR ในรูปแบบการทำกิจกรรมเพื่อสังคมเพื่อประชาสัมพันธ์สร้างชื่อเสียง หรือมุ่งเป็นเพียงกลยุทธการตลาดเท่านั้น แต่กระแสการพัฒนา CSR ในระดับโลกนั้น มุ่งไปที่การพัฒนาการทำ CSR ให้เป็นเครื่องมือการพัฒนา ที่จะนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งที่ไม่ใช่เพียงแต่ธุรกิจเท่านั้น แต่เป็นการสร้างคุณค่าทางสังคมที่ธุรกิจมีต่อชุมชนและสังคม เพื่อให้เท่าทันกระแสการพัฒนานี้ ธุรกิจจำเป็นต้องทำความเข้าใจหาวิถีการการทำ CSR อย่างบูรณาการในการดำเนินธุรกิจโดยทั่วไป

• ความท้าทายขององค์กรสนับสนุนในประเทศไทย ที่มีต่อการส่งเสริมและสนับสนุนเรื่อง CSR อย่างต่อเนื่องและนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน สิ่งที่เป็นข้อจำกัดสำหรับรัฐบาลไทยต่อการพัฒนา CSR ในประเทศไทยก็คือ ไม่ปรากฏหน่วยงานราชการไทยใดที่จะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสานงานกลางที่จะ ประสานความร่วมมือในการประสานการส่งเสริมที่ต่างมีการส่งเสริมที่เป็นไปตาม วาระการพัฒนาขององค์กรตนเองโดยเฉพาะ
• กระแสการพัฒนา CSR และการพัฒนาอาสาสมัครในประเทศไทย มีแนวโน้นที่ดีต่อแนวทางการพัฒนาของ UNDP และแนวทางการส่งเสริมเรื่องอาสาสมัครของ UNV
• การรับรู้เรื่องหลักการสัญญาโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) ในประเทศไทย ยังไม่มากนัก

จากการวิจัย นำไปสู่ข้อเสนอแนะต่อเรื่องการเพิ่มความตระหนัก การแลกเปลี่ยนความรู้ การรณรงค์ และ พัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา CSR โดยเฉพาะสำหรับ UNDP ควรส่งเสริมการพัฒนาดังนี้
• ควรมีบทบาทการประสานวาระการพัฒนา CSR ขององค์กรสนับสนุนที่มีเป้าหมายและวาระที่แตกต่างกัน เพื่อให้เกิดการสนับสนุนการพัฒนา CSR ที่ต่อเนื่อง โดย UNDP ควรทำงานประสานงานกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ และ Play a focal or coordinating role to align different agendas of different supporting organizations to ensure continuous support to CSR development in Thailand. Within this, UNDP should work with the National Statistics Office (NSO) และสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน และการรวบรวมข้อมูลการเปิดเผยเกี่ยวกับการทำ CSR ทั้งมีผลกระทบทั้งด้านบวกและลบจากการดำเนินธุรกิจ
• จัดพื้นที่การแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อส่งเสริมให้มีความเข้าใจเรื่อง CSR และหลักการสัญญาโลกแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาให้กับภาคธุรกิจไทยในวงกว้างมากขึ้น ในปัจจุบันนี้ควรมีการผลักดันให้สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยสร้างกลไก สำคัญในการส่งเสริมในฐานะที่ทำหน้าที่เป็นกองเลขาในระดับประเทศของ สัญญาโลกแห่งสหประชาชาติ และให้มีบทบาทมากขึ้น
• ควรพัฒนากลไกการส่งเสริมที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการต่อยอดฐาน พุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทยในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม การบริจาค และอาสาสมัคร ในการทำความดีด้วยการบริจาคและการทำทานด้วยการส่งเสริมการแลกเปลี่ยน ตัวอย่างกรณีศึกษาดีๆจากการทำกิจกรรมดังกล่าว เสนอแนะการทำกิจกรรมเพื่อสังคม การบริจาค และอาสาสมัครที่ส่งผลกระทบต่อสังคมที่ดีขึ้น
• มุ่งพัฒนา CSR ให้เป็นเครื่องมือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
• รณรงค์กลไกทางกฎข้อบังคบทางกฎหมาย หรือในระดับระเบียบข้อบังคับต่างๆที่จะผลักดันให้บริษัทหันมาทำ CSR รวมทั้งพัฒนาแรงจูงใจให้ธุรกิจหันมาทำ CSR ด้วยความสมัครใจมากขึ้น

เมื่อพิจารณาขอบเขตการพัฒนา ของ UNDP และ UNV ทั้งสองหน่วยงานควร

• แลกเปลี่ยนความรู้เฉพาะด้านในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ การสร้างเสริมธรรมาภิบาล งานด้านเอชไอวี(เอดส์) การพัฒนาตัวขั้นพื้นฐานและการบริหารการจัดการเรื่องอาสาสมัคร
• ใช้ CSR เป็นเครื่องชี้วัดในเรื่องการพัฒนามนุษย์ และเผยแพร่ข้อมูลตัวนี้ในรายงานการพัฒนามนุษย์ เพื่อเป็นการส่งเสริม CSR ในอีกแนวทางหนึ่ง
• ศึกษาความร่วมมือกับบริษัทต่างๆ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนทรัพยากร และร่วมการออกแบบโครงการที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

หากการพัฒนาเป็นไปตามแนวทางที่เสนอแนะดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะสามารถทำให้เกิดการประสาน การส่งเสริมเรื่อง CSR ไปในแนวทางที่จะเกิดการผสานทรัพยากรสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน หากCSR ในประเทศไทยได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องประเทศไทยก็จะพัฒนานำไปสู่ความ ยั่งยืนได้รวดเร็วขึ้น บทวิเคราะห์และข้อเสนอแนะในรายงานนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นความเห็นของแผนงานสห ประชาชาติเพื่อการพัฒนายูเอ็นดีพี (United Nations Development Programme-UNDP) หรือไม่จำเป็นต้องเป็นความเห็นของคณะกรรมการบริหาร หรือสมาชิกของประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ รายงานฉบับนี้มีความเป็นเอกเทศที่ได้รับการว่าจ้างโดย UNDP เท่านั้น อ่านต่อฉบับเต็ม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *