What’s next on NGO & Business Partnerships

What’s next on NGO & Business Partnerships

เป็นเวลา 3 ปีแล้ว สำหรับการทำงานของเดอะเนทเวิร์ค ช่างไวเหมือนโกหก เมื่อดูระยะหลักกิโลเมตรของการทำงาน พวกเราให้คะแนนเพียง 2 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 บนเส้นทางแห่งการก่อสร้าง “ต้นธารแห่งความร่วมมือ” ระหว่างภาคธุรกิจและประชาสังคม เพื่อร่วมกันพัฒนาสังคมสู่ความยั่งยืน

การ เริ่มเดินทางด้วยการเกิดและเติบโตขององค์กร อันเปรียบได้กับเด็กน้อยที่เริ่มลืมตา หัดพูด ค่อยๆ คลาน เดิน สู่การฝึกวิ่ง เพื่อเรียนรู้ร่วมกับผู้ร่วมเดินทางอันหลากหลายในสังคมและ ธรรมชาติ บนโลกใบนี้ ในการผลักดันให้ภาคธุรกิจตระหนักถึงศักยภาพที่ไปได้ไกลกว่าการเป็นพลังขับ เคลื่อนทางเศรษฐกิจ และพร้อมแบ่งปันศักยภาพดังกล่าวด้วยการร่วมมือกับภาคประชาสังคมในการเข้า ร่วมแก้ปัญหาสังคม เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

แม้ การเติบโตที่ผ่านมา อาจดูเชื่องช้า แต่ก็มุ่งมั่นพัฒนาพื้นที่ความร่วมมือให้เกิดขึ้น ผ่านกิจกรรมการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ การจัดตลาดนัดความดีแบบตลาดนัดชั่วคราวและสัญจร อีกทั้งยังได้จัดการสรุปความรู้ และหมั่นเผยแพร่เรื่องราวดีๆ สู่สมาชิกเครือข่าย จาก E-Newsletter ในชื่อ “ต้นธารแห่งความร่วมมือ” และ เวปไซค์ www.ngobiz.org  พร้อมๆ กับการได้เรียนรู้ ถึงทิศทางที่ควรก้าวเดิน รู้จักองค์กรต่างๆ อันเป็นกัลยาณมิตรที่พร้อมร่วมก้าวเดินบนเส้นทางนี้ ตลอดจนความเข้าใจบริบทของสังคมและโลกมากขึ้น เป็นการสะสมความมั่นใจ ในหนทางนี้ว่า เป็นหนทางที่ถูกต้องและจำเป็นต้องก้าวเดิน หนทางแห่งความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาค ประชาสังคม เพื่อเป็นหุ้นส่วนในการแก้ปัญหาสังคมร่วมกัน


ประสบการณ์การทำงาน 3 ปีที่ผ่านมา พวกเราได้เรียนรู้มากมาย สามารถสรุปได้ ดังนี้

1. บทพิสูจน์พร้อมความมั่นใจที่เพิ่มมากขึ้น “ต้นธารแห่งความร่วมมือ” (Foundations of Partnerships) จากจุดเริ่มต้นของงานรูปแบบใหม่ ขององค์กรพัฒนาเอกชนน้องใหม่ จึงไม่มีรูปแบบแห่งความสำเร็จที่ผ่านมาให้เราได้ก้าวตาม ความท้าทายต่อการสร้างสรรค์และออกแบบสร้างความชัดเจนในการทำงานจึงเป็น เรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ภายใต้การไม่กำหนด Outputs หรือ ผลปลายทางที่ตายตัวและชัดเจน จึงเปิดโอกาสให้มีผู้เข้าร่วมอื่นๆ ที่เข้ามาทำงานกับเรา ทั้งในระดับกรรมการ คณะทำงาน สมาชิกเครือข่าย รวมทั้งผู้ที่เป็นกองเชียร์ เป็นผู้สนับสนุน และเป็นหุ้นส่วนการทำงาน ตลอดจนเป็นผู้เฝ้ามองการทำงานในระดับต่างๆ   หากสิ่งที่ปรากฎ ในสีหน้าและแววตาจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่านมาอันบ่งบอกถึงความสุข ก็ย่อมสะท้อนถึงมิตรภาพแห่งเพื่อนร่วมทาง และร่วมตระหนักถึงการแก้ไขปัญหาสังคม ซึ่งเป็นการสร้างรากฐานสำคัญ ต่อการชักชวนสมาชิกในเครือข่ายให้มีโอกาสพัฒนาพื้นที่การทำงานร่วมกันใน อนาคตต่อไป สิ่งที่เราพิสูจน์และเห็นแล้วในวันนี้ คือ หากทุก ผู้คนเห็นและจริงใจในเป้าหมายที่ดีบนรากฐานในการเคารพความเป็นมนุษย์ของกัน และกัน ร่วมกันดูแลสังคม ธรรมชาติและโลก มุ่งมองไปที่การกระทำที่ดีของกันและกัน ในขณะที่ประตูความไว้วางใจก็จะใหญ่ ปัจจัยสำคัญเหล่านี้ ล้วนนำพาให้มีการพัฒนาความร่วมมือในการทำงานร่วมกันให้เป็นจริงได้มากยิ่ง ขึ้น ก่อเป็นพลังสร้างสรรค์แบบทวีคูณ

2.  การเรียนรู้ระหว่างทางมิใช่ปลายทาง  (In-Process Optimum Learning)  จากประสบการณ์การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองภาคส่วน   ทำให้ เราได้มีโอกาสใคร่ครวญ ทบทวน วิเคราะห์ และพิจารณาเป้าหมายแห่งการพัฒนาความร่วมมือที่ผ่านมาว่า เราจะมุ่งเน้นจำนวนคู่ความร่วมมือจำนวนมาก หรือเน้นปริมาณเงินบริจาคของภาคธุรกิจที่ช่วยเหลือให้ภาคประชาสังคม หรือจะเน้นทั้งสองส่วน ในระหว่างทางที่เราอาจไปไม่ถึงเป้าแห่งการจับคู่ดังกล่าว คณะทำงานได้เรียนรู้ว่า ทุกฝ่ายที่เข้ามาร่วมกิจกรรมกับเรา ได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวของอีกภาคส่วน อันแตกต่างจากวิถีชีวิต วิธีการทำงาน และเป้าหมายการทำงาน พร้อมแลกเปลี่ยนบทเรียนดีๆ เหล่านั้นระหว่างกัน ทั้งที่เป็นการเรียนรู้จากทีมงานภายในกันเอง เป็นการเรียนรู้อันเกิดจากการลงมือทำ และการเรียนรู้จากประสบการณ์ของคู่ภาคธุรกิจและประชาสังคมที่ได้สร้างความ ร่วมมือระหว่างกัน ทั้งหมดล้วนเป็นประสบการณ์ที่มี่คุณค่าสูงสุด  การ เรียนรู้ดังกล่าวเกิดขึ้นได้จากการที่คณะทำงานมิได้มุ่งดำเนินงานที่จะมุ่ง สู่เป้าหมายวิสัยทัศน์ของเครือข่ายอันเป็นเป้าหมายสุดท้ายเพียงอย่างเดียว แต่เฝ้าดูและสะท้อนภาพตลอดระยะเวลาในหนทางแห่งการก้าวเดินนี้

3. ภาพความชัดเจนต่อความหมายแห่ง “การพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development Context) เกือบ ทศวรรษที่ผ่านมา ที่คนในแวดวงการขับเคลื่อนเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน มักได้รับคำถามจากนักธุรกิจที่ให้ความสนใจหนทางสายนี้ว่า กระแสความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ หรือ Corporate Social Responsibility (CSR) จะมีการทำกิจกรรมแตกต่างจากการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือสามเหลี่ยมแห่งการพัฒนา (Triple Bottom lines)  การพัฒนาที่ยั่งยืนของภาคธุรกิจ (Corporate Sustainability) การพัฒนาคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจ (Ethical Business) หรือ ไม่อย่างไร ทั้งนี้แต่ละแนวทางทั้งหมดล้วนเป็นแนวทางที่สำคัญ การเลือกใช้แนวทางใด กลับขึ้นอยู่กับการตั้งเป้าหมายการดำรงอยู่ขององค์กรว่า จะอยู่รวมอย่างมีส่วนร่วมรับผิดชอบ กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างเท่าเทียมกัน ด้วยการพัฒนาองค์กร และ สังคมและโลกไปพร้อมกัน คำตอบว่าแนวทางใดเหมาะสม ย่อมหาได้ไม่ยาก แต่กระบวนการพัฒนาองค์กรในแนวทางดังกล่าว เป็นภาระท้าทายที่อาจจะต้องใช้เวลาทั้งชีวิตในการค้นหา ด้วยการลองผิดลองถูกจากการลงมือทำ แม้ต้องใช้เวลาทั้งชีวิตก็คุ้มค่า โดยเฉพาะ เดอะเนทเวิรค์ ซึ่งจะไม่ล้มเลิกการเดินทางบนหนทางสายนี้ จนกว่าภาระกิจการผลักดันให้เกิดความร่วมมือของภาคธุรกิจกับภาคประชาสังคมจะ สิ้นสุดลง เพราะการกระทำนี้ มิเป็นเพียงการสร้างสรรค์ในสิ่งที่ตนเชื่อมั่นและศรัทธา แต่ยังเป็นการสร้างสรรค์สังคมไทยแห่งอนาคตเพื่อลูกหลานของเรา สังคมแห่งการอยู่รวม อิงอาศัยภายใต้ความร่วมมือและแบ่งปันของกลุ่มบุคคลที่มีศักยภาพด้านต่างๆ บนฐานความพร้อมของแต่ละฝ่าย เพื่อแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สังคมไทยและโลกให้เป็นสังคมที่น่าอยู่อาศัย เป็นสังคมแห่งความสุขอย่างแท้จริง


สรุป ประสบการณ์ครั้งนี้ จึงมิเป็นบทสรุปถึงความมุ่งมั่นต่อการก้าวเดินบนทางสายนี้ของเดอะเนทเวิร์ค เท่านั้น แต่ยังเป็นการขอร่วมเป็นประกายแสงดวงเล็กๆ ที่อาจยังอยู่ไกลโพ้น ซึ่งกำลังคืบคลานเข้าสู่จุดหมายอย่างมุ่งมั่น พร้อมร่วมสร้างแรงบันดาลในการทำงานเพื่อสร้างพื้นที่ความดีอย่างต่อเนื่อง ให้กับทุกท่าน และสำหรับวาระโอกาสปีใหม่ ปีเสือ ในปีนี้ ขอความดีงามจากสิ่งที่ท่านได้ทำด้วยศรัทธาอันมุ่งมั่น เป็นปัจจัยให้ท่านได้รับพรอันประเสริฐ และมีสุขภาพกายและจิตที่แข็งแรง พร้อมเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ในอนาคตได้อย่างมีความสุขตลอดไป

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *