ทัศนะฐานรากและเทคนิคความร่วมมือ

แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง : หนึ่งทางของการสร้างความร่วมมือ

โดยเดอะเนทเวิร์ค(ประเทศไทย)

ในปัจจุบัน “ความร่วมมือ” นับเป็นสิ่งที่หลายภาคส่วนกล่าวถึงไม่ว่าจะเป็นวิชาการ หรือแม้แต่การทำกิจกรรมเล็กๆ เพื่อองค์กรหรือสังคม การดำเนินกิจกรรมของภาคธุรกิจต่างแสดงให้เห็นถึงความสนใจและความตระหนักผลก ระทบที่จะเกิดขึ้นกับสังคมและสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ความรับผิดชอบต่อสังคมได้ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงหลากหลายแง่มุม เชื่อมโยงไปถึงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาองค์กรในการแสวงหากำไร รวมถึงการแสวงหาทุนทางสังคมอย่างมีส่วนร่วมกับภาคส่วนอื่นๆมากยิ่งขึ้น การสร้างทุนทางสังคมร่วมกันขององค์กรภาคธุรกิจและภาคสังคมต่างต้องอาศัย ปัจจัยหลายประการตั้งแต่ปัจจัยทางด้านความคิด ทัศนคติ วิธีการทำงานที่นับว่าต่างกันโดยสิ้นเชิงแต่ในความต่างย่อมมีความเหมือนหรือ ลักษณะร่วมที่สามารถเชื่อมโยงถึงกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันได้เป็น อย่างดี แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับธรรมชาติขององค์กรและที่สำคัญคือผู้นำองค์กร ที่สามารถกระตุ้น จุดประกายพร้อมกับการสร้างพลังใจให้กับพนักงานในองค์กรในการร่วม เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมพร้อมกับการพัฒนาตนเองไปด้วย ความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคธุรกิจและภาคสังคมโดยเฉพาะกับภาคองค์กรพัฒนา เอกชนได้ปรากฏมากขึ้นซึ่งไม่ใช่เพียงเป็นลักษณะของการเป็นผู้ให้และผู้รับ เพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นการให้และรับอย่างมีส่วนร่วม หลายกิจกรรมหลายโครงการที่องค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชนร่วมมือกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกันคือ เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อส่วนรวม บนจุดยืนที่ชัดเจนของแต่ละองค์กรมีเพื่อเสริมและสร้างให้กิจกรรมโครงการ บรรลุไปยังเป้าหมายขณะเดียวกันความแตกต่างก็มีอย่างชัดเจน ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ปัญหาและอุปสรรค ถึงแม้ว่าเพียงเล็กน้อยหากมันส่งผลกระทบถึงความสัมพันธ์และผลประโยชน์ต่อ ส่วนรวมทีเดียว

“กระบวนการสื่อสารในการ สร้างความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างองค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชน ” วิทยานิพนธ์ของอภิชา คุณวันนา นิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวโดยสรุปว่า ความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชนในสังคมไทยเกิดขึ้นใน 3 ระยะ

  • ระยะเริ่มต้นของ ความร่วมมือที่ยังจำเป็นต้องมีผู้ประสานงานกลางในการสร้างความร่วมมือ ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างความร่วมมือในช่วงเริ่มต้นมักเกี่ยวกับความ แตกต่างของวิธีคิด วิธีการทำงาน ความเข้าใจในเนื้อหาสารที่สื่อสารไม่ตรงกันเช่น ภาษาในการสื่อสารและประสบการณ์ในการร่วมมือกับต่างองค์กร ในความร่วมมือ
  • ระยะกลางเป็น ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับความต่างของวิธีคิด วิธีการทำงานและช่องว่างบนความสัมพันธ์เมื่อมีความใกล้ชิด สนิทสนมกันมากขึ้น ช่องว่างในที่นี้คือ ความเกรงใจ ทำให้คู่ความร่วมมือไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นหรือแสดงออกต่อคู่ความร่วม มือจึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาองค์กรและความสัมพันธ์
  • ในระยะยาวของ ความร่วมมือนั้น ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นคือ ขาดเวลาและกำลังคนในการร่วมดำเนินกิจกรรมเนื่องจากภารกิจส่วนตัวและภารกิจ หลักขององค์กรตนเอง

 

ส่วนแนวทางในการบริหาร โครงการบนความร่วมมือได้อย่างราบรื่นนั้นในระยะเริ่มต้น ต้องสร้างเสริมการมีส่วนร่วม เช่น การมีประสบการณ์ร่วมผ่านกิจกรรมการลงมือปฏิบัติ เป็นต้น  การสื่อสารชัดเจน และบทบาทที่ชัดเจนของผู้ประสานงานกลาง ส่วนความร่วมมือในระยะกลางและระยะยาวต้องมีการสื่อสารที่ชัดเจน สม่ำเสมอทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

 

“ความร่วมมือ” ในสังคมไทยแม้ยังเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตราบใดที่ต่างฝ่าย “ยอมรับ” ช่องว่างที่เกิดจาก “ความต่าง” ว่ามันสามารถหลอมรวมกันได้เพียงปรับวิธีคิด Share การมีส่วนร่วมเพื่อลดช่องว่างที่เกิดขึ้น “สงวนจุดต่าง” ที่แต่ละฝ่ายมีแล้ว “แสวงหาจุดร่วม” เพื่อพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *