CSR VS ธุรกิจกับการพัฒนาที่ยั่งยืน

CSR VS ธุรกิจกับการพัฒนาที่ยั่งยืน

ในแต่อดีตที่ผ่านมา หน้าที่การดูแลสังคมเป็นหน้าที่ของภาครัฐ, NGO และนักวิชาการ ในขณะที่ภาคธุรกิจก็มีบทบาทในการสร้างกิจกรรมที่ขับเคลื่อนโลกทั้งใบ สร้างประโยชน์บ้าง สร้างปัญหาบ้าง จนวันหนึ่งในปี 1999 นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติในขณะนั้นกล่าวว่า “องค์กรธุรกิจจะเป็นประชาชนที่ดีคนหนึ่งของโลก” จากช่วงเวลานั้นจนถึงวันนี้ บทบาทความรับผิดชอบต่อสังคม ก็กลายเป็นอีกบทบาทหนึ่งของภาคธุรกิจภายใต้ชื่อ Corporate Social Responsibility (CSR) ซึ่งจากการฉายภาพย้อนกลับก็จะพบพัฒนาการของ CSR ซึ่งองค์กรบางแห่งก็ขับเคลื่อน CSR ตามทฤษฏี บางแห่งก็ดำเนิน CSR ตามกระแสโลก บางแห่งก็ใช้ CSR เป็น Marketing Communication Tools จนวันหนึ่งก็เกิดคำถามขึ้นว่า จริงๆ แล้ว CSR ควรทำอย่างไรจึงจะสร้างคุณค่าให้กับสังคมได้สุงสุด, ทำ CSR แล้วองค์กรธุรกิจเข้มแข็งขึ้นจริงหรือ, แล้วในปี 2553 ควรตั้งเป้าและดำเนินกิจกรรม CSR ไปในทิศทางไหนจึงจะเหมาะสมและเกิดคุณค่าสูงสุด ตรงนี้เรามีเนื้อหาจากการอบรม “กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว(White Ocean Strategy)” โดยคุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย เวทีเสวนา “ทบทวนสถานการณ์ – สู่จุดเปลี่ยนการทำ CSR อย่างมีคุณค่า”โดยเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม(SVN) เวทีเสวนา “ทิศทางและแนวโน้ม CSR ปี 2553” โดยสถาบันไทยพัฒน์และสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) รวมถึงประเด็นนโยบายการสนับสนุน CSR ของภาครัฐที่ควรจะเกิดขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นโจทย์ของภาคธุรกิจที่ต้องคิดและ Re-positioning เพื่อหา “จุดปกติใหม่ (New Normal)” สำหรับการ “ยืน” และ “เดิน” ไปในทิศทางที่เหมาะสม ภายใต้บริบทของสังคมที่การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ

เรามีข้อมูลจากโครงการ“กลยุทธน่านน้ำสีขาว” โดย คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย และ นสพ.ประชาชาติ
ธุรกิจ ซึ่งได้วิเคราะห์สถานการณ์ CSR ในปี 2553 จากเวทีเสวนา ทบทวนสถานการณ์ – สู่จุดเปลี่ยน
การทำ CSR อย่างมีคุณค่า และ เวทีเสวนา ทิศทางและแนวโน้ม CSR ปี 2553 ซึ่งข้อมูลชุดนี้เหมาะ
อย่างยิ่งกับการวางแผนกิจกรรม CSR ในปี 2553 โดยกลางปี 2552 คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย ได้เปิด
ตัว “กลยุทธน่านน้ำสีขาว” โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างสังคมสีขาวผ่านการบ่มเพาะในระดับองค์กร
(CSR) และระดับบุคล (ISR) โดยมีหลักการแสวงหาจุดสมดุลระหว่าง People, Planet, Profit, and
Passion เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนระหว่างองค์กร ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ทางด้านเวทีเสวนา
“CSR 2010 Series : ทบทวนสถานการณ์…สู่จุดเปลี่ยนการทำ ซีเอสอาร์อย่างมีคุณค่า” ได้กล่าว
ถึงแก่นของการทำ CSR และ การปรับกลยุทธเพื่อสร้างแรงผลักดันที่เกิดจากความร่วมมือในส่วน
ต่างๆ เพื่อสร้าง CSR ให้มีคุณค่าสูงสุด อีกฝั่งหนึ่ง เวทีเสวนา ทิศทางและแนวโน้ม CSR ปี 2553
“Repositioning your CSR” มีการบรรยายถึง  7 แนวทาง Repositioning และ 6 ทิศทาง CSR ปี
2553 โดยข้อมูลทั้งหมดนั้นท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  เอกสารแนบขื่อ “CSR Seminars Report”

จากข้อมูลนั้น ลองมาพิจารณาถึงองค์กรธุรกิจของตนเอง ว่าองค์กรของเราเหมาะสำหรับ CSR แบบไหน และมีทางเลือกใดสำหรับองค์กรของเรา แล้ว The NETWORK ช่วยอะไรคุณได้บ้าง อ้างอิงจากที่ ดร.สิทธิศักดิ์ เยี่ยมเจริญยิ่ง อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวในงาน CSR 2010 Series ถึงระดับ CSR ในเมืองไทย ว่ามีอยู่ 3 ระดับ คือ

ระดับที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมสังคม เช่น แจกของ การกุศล
ระดับที่ 2 แก้ปัญหาผลกระทบเชิงลบจากการดำเนินธุรกิจของเรา
ระดับที่ 3 รู้ว่าผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของตนมีอะไรบ้าง และสามารถใช้ CSR ในการเพิ่มขีด
ความสามารถในการสร้างความแตกต่างในตลาดเมื่อองค์กรธุรกิจมีเป้าหมายชัดเจน

และรู้ว่าตนเองมี CSR อยู่ในระดับไหน ก็ลองมาศึกษา CSR ทางเลือกจาก The NETWORK
ไม่ แน่ว่าท่านอาจใช้แรงน้อยลง แต่สร้างคุณค่าได้มากขึ้น “เครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมเพื่อการพัฒนาที่ ยั่งยืน” หรือ The NETWORK มีกลยุทธการพัฒนาความร่วมมือ ภายใต้ชื่อ “ตลาดนัดความดี” ซึ่งองค์กรของท่านสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ ตามรายละเอียดกิจกรรมดังนี้

1.การจัดเสวนาร่วมกับภาคี เพื่อพัฒนา “ต้นธารแห่งความร่วมมือ” ระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม หรือสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้และปฏิบัติ นำสู่การสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบต่างๆ เช่น การรวมกลุ่มการทำกิจกรรม การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกให้เกิดความเข้าใจในเรื่องการทำงานร่วม กัน ลักษณะงานที่แต่ละสมาชิกทำ และค้นหาช่องทางในการผสานทรัพยากรระหว่างกัน การจัดเสวนาเดอะเนทเวิร์ค จัดขึ้นปีละ 3 – 4 ครั้งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้จากการลงมือปฏิบัติ เพื่อนำเสนอกรณีศึกษา อุปสรรค บทเรียน การประเมินความรู้จากการปฏิบัติและ เรียนรู้ร่วมกัน  จากการผสานทรัพยากรระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมเพื่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืนต่อบุคลากร องค์กร และสังคม

กิจกรรมเสวนาเดอะเนทเวิร์ค ประจำปี 2553

ครั้งที่ 1/2553 ธุรกิจกับการพัฒนาชุมชนที่เข้มแข็ง
ครั้งที่ 2/2553 ธุรกิจกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่ยั่งยืน
ครั้งที่ 3/2553 ธุรกิจกับการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย
ครั้งที่ 4/2553 ธุรกิจกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
* อาจมีการเปลี่ยนแปลง

2. The NETWORK Study Visit เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ของภาคธุรกิจ เช่น การเยี่ยมชมดูงาน และ เข้าร่วมทำกิจกรรมในประเด็นต่าง ได้แก่ การศึกษา เด็กและเยาวชน พัฒนาชุมชน และ สิ่งแวดล้อม โดยภาคธุรกิจจะได้เห็นและสัมผัสการทำงานของภาคประชาสังคมในประเด็นต่างๆ ที่ภาคธุรกิจสนใจ โดยเดอะเนทเวิร์คทำหน้าที่ประสานงานร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานใน ประเด็นนั้นๆ ออกแบบกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้องค์กรภาคธุรกิจ ได้เข้าใจและได้รับความรู้ในการทำ CSR ในประเด็นต่างๆ จากองค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งผลของการทำกิจกรรมนี้มุ่งหวังให้มีการพัฒนากิจกรรม CSR ที่มีความสร้างสรรค์ อันเกิดจากความร่วมมือของทั้งสองภาคส่วน
กิจกรรม Study Visit ที่กำลังวางแผน
– การพัฒนาชุมชน เมษายน 2553
– การศึกษาธรรมชาติแบบองค์รวม พฤศจิกายน 2553
* เวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลง

3. Stakeholder Dialogues ประสานงานให้เกิดพื้นที่การพูดคุย ทำความรู้จัก และปรึกษาหารือ ระหว่างองค์กรธุรกิจและองค์กรภาคประชาสังคมในประเด็นต่างๆ ที่ทั้งสองภาคส่วนสนใจ โดยมีกรอบเป้าหมายการสร้างความร่วมมือ ดังนี้
– ให้คำปรึกษาการพัฒนา CSR สำหรับองค์กรธุรกิจและองค์กรภาคประชาสังคม
– การระดมความเห็น Stakeholder Dialogue ในประเด็นการพัฒนาต่างๆ
– การพัฒนาโครงการ CSR อย่างมีส่วนร่วมของพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า
และชุมชนภาคประชาสังคม
– การทบทวนและประเมินผลร่วมกัน

นอกจากนี้ท่านยังสาสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ngobiz.org รับรองว่า CSR ทางเลือกของ The NETWORK นั้น
จะสร้างได้ทั้งคุณค่าและความยั่งยืน

จากสถานการณ์ในสมัยก่อนที่ธุรกิจสนใจทำแต่กำไร มาจนวันนี้สถานการณ์ไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว เพราะธุรกิจค้นพบว่า “ธุรกิจไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ ในสังคมที่ล้มเหลว” แล้วธุรกิจก็ค้นพบอีกว่า การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น ทำให้ธุรกิจมีความเข้มแข็ง มีกำไรมากขึ้น สังคมได้ประโยชน์ ธุรกิจได้ประโยชน์ เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งทั้งหมดนั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าการพัฒนา CSR ดำเนินไปผิดทาง แต่จะเดินไปทางไหน จะร่วมมือกับใคร The NETWORK มีคำตอบ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *