ไขกลไก Stakeholder Engagement

ไขกลไก Stakeholder Engagement

โดย ผศ. ดร. กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ : ที่ปรึกษาเดอะเนทเวิร์ค(ประเทศไทย)

Stakeholder Engagement เป็นเรื่องสำคัญที่พูดกันมานานแต่ทำกันได้จริงเท่าไรยังไม่แน่ใจเหมือนกัน อย่างไรก็ดี ตัวอย่างการประสบความสำเร็จมีให้เห็นกันอยู่บ้าง เช่นความร่วมมือของเกษตรกรในการจัดตั้งสหกรณ์ที่สวิตเซอร์แลนด์จนกลายเป็น ผู้ประกอบการค้าปลีกอันดับ 2 ในประเทศ มีสมาชิกมากกว่า 2 ล้านคน และสามารถขยายตลาดไปบุกต่างประเทศ มียอดขายมากกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

หาก จะแกะดูกลไกเพื่อสร้างความมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง อาจพอสังเคราะห์ออกมาได้เป็น 3 ส่วนคือ 1) Exposure ได้แก่ การเปิดรับพิจารณาทางเลือกหลากหลายด้าน 2) Dialogue ได้แก่ การสร้างบทสนทนาแบบปะทะสังสรรค์ทั้งกับตัวเองและผู้อื่น และ 3) Adoption ได้แก่ การเลือกรับ ทดลอง และขยายผล

Exposure คือ การเปิดมุมมองของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ได้พบและพิจารณาประเด็นแบบครบทุก แง่มุมก่อนตัดสินใจมีส่วนร่วม กระบวนการนี้ในอดีตถูกละเลยเพราะหลายคนมักเหมารวมไปเลยว่าโครงการดีๆ น่าจะไม่มีใครคัดค้าน เลยไม่ให้ความสำคัญกับการสร้างความหลากหลาย เหมือนเรียกเพื่อนร่วมทำบุญกัน บางคนว่าไม่เห็นน่าจะทำให้มากเรื่อง แต่ต่างคนก็ต่างใจ บางคนอยากทำบุญกับเด็ก บางคนชอบช่วยคนชรา ผู้สูงวัย การให้ข้อมูลและทางเลือกที่หลากหลายจึงนับเป็นการชักชวนให้คนต้องเข้ามาร่วม ใช้ความคิด พิจารณาว่าทางไหนดี เหมาะหรือน่าสนใจกว่ากัน

เหตุผล อีกประการของ Exposure คือ การกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลางผู้ตั้งต้นความคิด เพราะมนุษย์ปัจจุบันไม่เชื่อในสิ่งครอบงำและต้องการแสดงสิทธิ์เสียงของตัว เอง ดังนั้นโครงการภาครัฐที่พยายามให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม เช่น การประกวดประชันสารพันชนิด ที่พบว่ามีเด็กมาร่วมด้วยน้อยก็เพราะความรู้สึกถูกยัดเยียดโดยผู้ใหญ่ที่คิด ไปเองว่าดี การสร้างความหลากหลายโดยให้คนตัวเล็ก (หมายถึงคนทั่วไปที่สนใจ) เป็นผู้ริเริ่มจึงมีแววมากกว่า ยกตัวอย่างจากโครงการ ปล่อยแสง ของ TCDC (ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ: Thailand Creative and Design Center) ที่ต้องการให้คนมาแสดงไอเดีย และยังเปิดพื้นที่เป็นตลาดนัดที่เต็มไปด้วยสินค้าสิ่งประดิษฐ์จากความคิด สร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ โครงการแบบนี้ต่างจากแบบดั้งเดิมตรงที่ไม่มีใครมาตัดสินว่าอะไรดีกว่าอะไร มีแต่เพียงทางเลือกและมุมมองที่หลากหลายให้ได้มาค้นหากัน

ส่วน ที่สองคือ Dialogue ได้แก่ บทสนทนาโต้ตอบทั้งที่เกิดขึ้นในใจแต่ละคนกับที่เกิดระหว่างกลุ่มคนที่แลก เปลี่ยนทัศนคติซึ่งกันและกันได้ Dialogue นี้มีส่วนสำคัญยิ่งช่วยให้คนอยากมีส่วนร่วมเพราะเป็นการสื่อสารสองทาง ไม่ใช่เพียงการส่งหรือรับแต่ฝ่ายเดียว และยังเป็นหนทางนำไปสู่การพัฒนาความรู้และปัญญา ที่เห็นเป็นกรณีประสบความสำเร็จก็เช่น วงสุนทรียสนทนา นำโดยคุณวิศิษฐ์ วังวิญญู ที่ทำให้ผู้เข้าร่วมได้ค้นพบทั้งตัวตนของตัวเองและเรียนรู้โลกจากมุมของคน อื่นด้วย Dialogue ยังช่วยลดข้อขัดแย้งในสังคม เช่น วัยรุ่นสร้างบทสนทนากับพ่อแม่ได้ ทำให้เกิดความเข้าใจกันและกันว่าต่างมีความต้องการแตกต่างไปตามบทบาทของตัว เองและจะหาทางอยู่ร่วมอย่างมีอิสระและให้เกียรติเคารพกันได้อย่างไร

ปัจจัย สนับสนุนให้เกิด Dialogue ได้แก่ พื้นที่สาธารณะ (Public Space) ที่อำนวยให้คนเข้ามาใช้พื้นที่แสดงออกถึงความเป็นตัวเอง ขณะที่ได้รับความคิดเห็นแลกเปลี่ยนต่อยอดกันกับคนอื่นได้ โดย Public Space อาจหมายถึง พื้นที่ในเชิงกายภาพเช่น สวนสาธารณะ หอศิลปะ หรือแม้แต่พิพิธภัณฑ์ที่ปัจจุบันนี้ในหลายประเทศสร้างเป็นพื้นที่ให้คนได้มา ร่วมคิด อย่าง The Singapore Discovery Center ที่มีบริเวณให้เด็กๆ แสดงวิสัยทัศน์ถึงโลกอนาคตที่เขาใฝ่ฝันและหลายไอเดียได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ จริง สร้างความภาคภูมิใจมาแล้ว

Public Space ยังอาจอยู่บนโลกเสมือนจริง สนับสนุนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังปรากฏเป็นการเติบโตของ Social Networking อาทิ Hi5, Facebook, Twitter, และ Webblog อีกมากมาย ทั้งนี้ ข้อมูลจากการศึกษาพบว่า ถ้าคนมีปฏิสัมพันธ์กันในระดับที่ไม่เกาะเกี่ยวกันแน่นหนาเกินไปจะทำให้มี โอกาสในการแสดงความคิดได้มากกว่า เพราะไม่ต้องคอยเกรงใจ กลัวใครเสียหน้า พื้นที่สาธารณะบนโลกออนไลน์ที่มีอิสระมากกว่าจึงเป็นช่องทางที่พบ Dialogue แบบปะทะสังสรรค์เป็นจำนวนมาก

ส่วน สุดท้ายคือ Adoption ภายหลังการเปิดรับ เรียนรู้ (Exposure) และการสร้างบทสนทนาแล้ว อาจนำไปสู่การรับแนวคิด คุณค่าบางประการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นตัวเอง ทำให้เกิดความต้องการมีส่วนร่วมผลักดันให้เห็นผลสำเร็จ และยังขยายผลต่อเนื่องถึงคนอื่นๆ เป็นการเชื่อมโยงความคิด สร้างเครือข่าย  ตัวอย่างที่พบเห็นใกล้ตัวได้แก่ กิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัยที่กลายเป็น Tradition ส่งต่อกันไปจากรุ่นสู่รุ่น ไม่ว่าจะเป็น การออกค่ายอาสาพัฒนาชนบท หรือ โครงการบัณฑิตอาสา ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ความต่อเนื่องเกิดขึ้นจาก Adoption ของผู้ที่ได้เปิดรับ เรียนรู้ ทดลอง กลั่นกรอง จากบทสนทนากับตัวเองและผู้อื่นแล้ว ความเข้าใจและความต้องการมีส่วนร่วมผลักดันจึงเกิดขึ้นพร้อมกับการขยายผล เชื่อมต่อโครงการเหล่านี้กับเครือข่ายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคประชาสังคม และชาวบ้านผู้อยู่ในท้องที่

บท ความ ชิ้นนี้เป็นความพยายามถอดกลไกเพียงบางส่วนที่น่าจะช่วยส่งเสริมให้เกิดความ มีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholder Engagement) ได้ดียิ่งขึ้น เชื่อว่ายังมีรายละเอียดอีกมากที่ต้องเรียนรู้ระหว่างทาง และที่แน่ๆ ทุกฝ่ายควรทำความเข้าใจตรงกันว่างาน Stakeholder Engagement ให้คุณค่ากับการเดินทาง (Journey) เทียบเทียมเป้าหมาย (Goal) ดังนั้นทุกสิ่งที่เกิดจากการร่วมมือแม้เพียงคนละนิดละหน่อยล้วนมีความหมาย ช่วยพัฒนางานให้ดำเนินต่อไปเรื่อยๆ อย่างไม่ต้องคอยให้มีจุดสิ้นสุด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *